ตะกรุดด้ายสายสิญผอกผงยาลงรัก หลวงปู่ยิ้ม
|
|
ชื่อพระ :
ตะกรุดด้ายสายสิญผอกผงยาลงรัก หลวงปู่ยิ้ม
รายละเอียด :
ตะกรุดพันด้ายสายสิญจ์ ผอกผงยาทารัก หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ดอกนี้ยาว4.5" เอกลักษณ์ชัดเจนดูง่ายครับ ประวัติของหลวงปู่เฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว เมื่อปีพ.ศ.2430 หลวงปู่เฒ่ายิ้มท่านได้ล่องแพไม้ไผ่จาก เมืองกาญจนบุรี ท่านจะมาแวะที่จังหวัดสมุทรสงคราม วัดประดู่ซึ่งมีหลวงปู่แจ้ง (พระอาจารย์ใหญ่ของท่าน)เพื่อทบทวนวิชาไสยเวทย์ท่านเดินทางแวะไปเข้าทางบางขุนเทียน เยี่ยมหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังซึ่งเป็นสหายรุ่นพี่ เพื่อเข้ามนัสการหลวงปู่รอด วัดโคนอน(หลวงปู่รอดเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่เอี่ยม)ซึ่งท่านชรามากแล้ว และท่านจะเดินทางไปวัดกก ซึ่งมีหลวงป่พวง(พระสหายของหลวงปู่ยิ้ม)ท่านจะอยู่วัดกกครั้งละหลายๆวันสมัยนั้นเขตบางขุนเทียน บางบอนถ้าได้ข่าว หลวงปู่ยิ้มมาพักวัดกก หลวงปู่วัดสิงห์ หลวงปู่วัดเลียบ หลวงปู่พวง (อุปัชฌาย์หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงได้ชี้ให้หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพงศึกษาวิชาไสยเวทย์ คงกระพัน (ประกอบด้วย3วิชาคือ1.ปืนยิงไม่ออก 2.ปืนยิงคาลำกล้อง3.ปืนยิงแล้วลำกล้องแตก)นอกจากนี้ยังมีวิชาอาบน้ำว่าน ซึ่งหลวงปู่เฒ่ายิ้ม เรียนจากสำนักเขาอ้อ จากหลวงปู่ทองเฒ่า จังหวัดพัทลุง สำหรับประวัติหลวงปู่เฒ่ายิ้ม กับหลวงปู่พวง กับหลวงปู่ไปล่ได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระอาจารย์แดงเป็นชาวขังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดกก เกิดปีพ.ศ.2466มรณภาพ2550ในการนี้คณะผู้จัดทำประวัติขอขอบพระคุณที่กรุณาเล่าประวัติเพื่อการบันทึกไว้สำหรับเพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป หลวงปู่เฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี ตะกรุดลูกอมท่านทำด้วย ทองคำ เงิน นาค ทองแดง ฝาบาตร ตพกรุดลูกอมท่านจะลงหัวใจโลกะธาตุมีน้ำหนัก1สลึงยาว7ใบมะขาม เรียงสัตตะโภชณงค์7 ตะกรุดมหาระงับปราบหงสา ทำด้วยเงิน ทองแดง ฝาบาตร ตะกั่วนมทุบ ซึ่งเป็นตะกั่งพระท่ากระดานที่หลวงปู่ยิ้มได้เอามาจากวัดท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ หรืออาจจะพบทำด้วยหน้าผากเสือใหญ่ เสือตัวที่นำมาทำจะต้องเป็นพญาเสือคุมเขตป่า ความยาวตะกรุด5-6-7นิ้วท่านจะลงยันต์พระไตรปิฎกสลับลงจารด้วยยันต์พระพุทธเจ้าเดินจงกลมในพระครรภ์มารดา ล้อมด้วยหัวใจเปิดโลกขอบนอกด้วย อิติปิโสแปดทิศ บางดอกท่านลงยันต์มหาโสฬมงคล แถวล่างลงหัวใจโลกะธาตุ ตามด้วย นะมะพะทะ ล้อมด้วยอิติปิโสแปดทิศ ตะกรุดโทนท่านจะทำใต้น้ำในคืนที่พระจันทร์เต็มดวง ทำได้ปีละครั้งๆละ9ดอก มีอยู่ปีหนึ่งหลวงปู่ยิ้มได้ทำที่วัดบ้านทวนโดยมีหลวงปู่ม่วงวัดบ้านทวนอยู่ด้วยหลวงปู่ม่วงเอาไว้4ดอกหลวงปู่ยิ้มเอากลับวัด5ดอกความยาวของตะกรุด4-5นิ้ว ตะกรุดทุกลูกที่ท่านทำท่านจะใช้พลังจิดเพ่งไปที่ตะกรุดให้ม้วนเองได้ ตะกรุดระงับปราบหงสาท่านจะทำครั้งละหลายๆสิบดอกเมื่อทำเสร็จท่านจะนำไปไว้ในโบสถ์ ในช่วงเข้าพรรษา3เดือน เมื่อออกพรรษาแล้วท่านจะรอให้พระอาทิตย์ทรงกลดตอนที่ยงวันซึ่งจะต้องเป็นวันเสาร์หรือวันอังคารด้วย ท่านจะนั่งปลุกเสกบนทรายที่ร้อนจัดจนกว่าพระอาทิตย์ทรงกลดนั้นหายไป และใบบัวที่วางตะกรุดนั้นเหี่ยวพับปิด ตะกรุดทุกลูกเสร็จแล้วท่านจะนำมาถักเชือกคนที่ถักคนแรกคือก๋งอู๋ บัวขม (แซ่โค้ว)ซึ่งเป็นพ่อของก๋งพ้งบัวขม ลายถักจะเป็นลายตะเข้ขบกับลายธรรมดาทั่วไป หลังจาก การถักตะกรุดเรียบร้อยแล้วท่านก็จะนำเข้าปลุกเสกครั้งสุดท้ายด้วยพระคาถาหัวใจพระปาฎิโมกถึง108ครั้งถือว่าเสร็จสิ้นวิธีปลุกเสกตะกรุดลูกอมของท่านพระคาถาสุดท้ายที่ท่านใช้ปลุกเสกมีดังนี้ อุททิฎฐัง โขอายัสมันโต นิทานัง อุททิฎฐา จัตตาโร ปาราชิกา ธัมมา อุททิฎฐา เตระสะ สังฆาทิเสสา ธัมมา อุททิฎฐา เทว อะนิยะตา ธัมมา อุททิฎฐา ติงสะ นิสสัคคิยา ปาจิตติยา ธัมมา อุททิฎฐา เทวนะวุติ ปาจิตติ ธัมมา อุททิฎฐา จัตตาโร ปาฏิเทสะนียา ธัมมา อุททิฎฐา (ปัญจะสัตตะติ) เสขิยา ธัมมา เอตตะกันตัสสะ ภะคะวะโต สุตตาคะตัง สุตตะปะริยาปันนัง อันวัฑฒะมาสัง อุทเทสัง อาคัจฉะติ ตัตถะ สัพเพเหวะ สะมัคเคหิ สัมโมทะมาเนหิ อะวิวะ ทะมาเนหิ สิกขิตัพพันติ ภิกขุปาฎิโมกขัง นิฎฐิตัง หลวงพ่ออุปณาย์ กลิ่น เป็นคนหนองบัวโดยกำเนิด วัดหนองบัว เมื่อสมัยก่อนยังเป็น สำนักสงฆ์อยู่(ทุ่งเลือดแห้ง)หรือปัจจุบัน(ทุ่งลาดหญ้า)ท่านอุปณาย์กลิ่นองค์นี้เป็นบรมจารย์ที่เรืองเวทย์ พระอริยสงฆ์ขากทั่วสารทิศให้ความเคารพท่าน และมอบตัวเป็นศิษย์ของท่าน ถ้ำพุพระ (หรือถ้ำขุนแผน)ซึ่งอยู่ในเขตวัดหนองบัว เป็นที่นั่งวิปัสสนาหรือนั่งกรรมฐาน จนท่านสำเร็จวิชาต่างๆ อริยสงฆ์ที่มอบตัวเป็นศิษย์ในยุดนั้น ได้แก่ 1.หลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี 2.หลวงปู่เนียม วัดน้อย 3.หลวงปู่ปาน วัดบางเหี๊ย จ.สมุทรปราการ 4.หลวงปู่ทา วัดพระเนียงแตก จ.นครปฐม 5.หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท 6.หลวงปู่บุญ วัดบางแก้วจ.นครปฐม 7.หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว (ศิษย์ก้นกุฎิจนหลวงปู่กลิ่นมรณภาพ) หลวงปู่กลิ่น เกิดพ.ส.2301มรณะภาพพ.ศ 2418 รวมศิริอายุได้117ปี ถือว่าเป้นบรมจารย์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในสมัยนั้น ท่านหลวงพ่อกลิ่น อุปฌาย์กลิ่น หลวงพ่อเฒ่ายิ้มจึงมีความเกิดสัทธายิ่งจึงถวายตัวเป็นศิษย์ปลายปีพ.ศ.2416เป็นศิษย์องค์สุดท้าย ศึษาวิชาไสยเวทย์ต่างๆอยู่จนพ.ส.2417หลวงพ่ออุปฌาย์กลิ่นได้มรณภาพลง วัดหนองบัวจึงว่างเจ้าอาวาส ขาวบ้าน ต.หนองบัวจึงพร้อมใจนิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวองค์ที่4ต่อจากหลวงพ่ออุปฌาย์ กลิ่นเมื่อปีพ.ศ2420 หลวงปู่ยิ้มได้บูรณะวัดต่อจากหลวงปู่กลิ่น จนวัดเจริญ หลวงปู่ท่านคุยกับสัตว์ได้ มีครั้งหนึ่งก๋งพ๋ง จำได้เวลาประมาณสองทุ่ม ได้นำลูกสมอที่ดองไปถวายท่าน หลวงปู่ยิ้มบอกก๋งพ๋งว่าฉันจะทำอะไรให้ดู หลวงปู่ให้ก๋งพ๋งไปหยิบดินเหนียวมาก้อนใหญ่ ให้ปั้นเป็นควาย1ตัววัว1ตัว พอปั้นนเสร็จก๋งพ๋งก็ส่งให้หลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่หยิบควายขึ้นมาไว้ในมือและ นั่งบริกรรมปากชมุมขมิบแล้วท่านก็อามือปล่อยความไป ควายค่อยๆเคลื่อนตัววิ่งได้แล้วคล่อยๆใหญ่ขึ้นอยู่ตรงมุมป่าช้า สองขาเขี่ยดินฝุ่นกลบนัยต์ตาความแดงเหมือนดวงไฟ แล้วหลวงปู่ยิ้มก็หยิบวัวขึ้นมาแล้วทำปากขมุบขมิบก่อนปล่อยวัวท่านได้เดินขีดเส้นเป็นวงกลมบอกกับก๋งพ้งว่าอย่าออกไปนอกเส้น เดี๋ยวจะปล่อยวันธนูและวควายธนูขวิดกันพอพูดเสร็จ หลวงปู่ยิ้มปล่อยวัวธนูๆค่อยๆวิ่งออกไปและขยายตัวใหญ่เท่าควาย หลวงปู่ยิ้มพูดขึ้นว่าไอ้เขาเก ไอ้ทองแดงขวิดกันให้ดูหน่อยสิ พอสิ้นเสียงหลวงปู่สั่งทั้งสองตัวใหญ่ผิดปกติกว่าวัวควายธรรมดา เลียงเขาต่อตีต่อกันเป็นแสงประกายไฟดังป็อบแป๊บๆทำให้ก๋งพ้ง กลัวมากเพราะเป็นเวลากลางคืน และในป่าช้าด้วย พอสักพักหนึ่งสียงขวิดกันก็หายไปแล้วหลวงปู่ยิ้มก็ถามอยากดูอะไรอีกไหม ให้ก๋งพ้งลุกขึ้นไปหยิบฟางห่างจากป่าช้านิดหน่อย ก๋งพ้งได้ฟางสองกำมือและส่งให้หลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่ยิ้มจึงทำฟางให้เป็นหุ่นครทั้งสองคน แล้วนั่งบริกรรมคาถาเสกฟางให้เป็นหุ่นคนให้ตีกันให้ดูเป็นที่น่าแปลกประหลาดนักบางครั้งท่านจะถอนกลดไปจำวัดถ้ำผุพระ(ถ้ำขุนแผน) ภายในถ้ำขุนแผนนั้นมีศาลาทรงไทยเรือนเล็กอยู่หนึ่งหลังมีพระนอนใหญ่มากและพระพุทธรูปองค์ใหญ่ร่วมร้อยองค์ หลวงปู่ยิ้มท่านจะไปปักกลดบำเพ็ญภาวนาเพ่งกสิณไปบางครั้งอยู่เป็นเดือน ลูกศิษยืลูกหามาหาท่านจะต้องตามไปที่ถ้ำผุพระ แต่พอเข้าพรรษาท่านจะเดินมาปักกลดที่วัดหรือใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ที่ท่านบำเพ็ญวิปัสสนาของท่าน จนออกพรรษาเมื่อหมดหน้าฝน ลมตะวันออกเริ่มพัดมาน้ำใรแม่น้ำ (ต้นแม่น้ำแควใหญ่)เริ่มลดลงชาวกระเหรี่ยงเมืองท่ากระดาน ปัจจุบันคืออำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ได้ล่องแพเอาอาหารป่ามาแลกเสื้อผ้า กระปิ เกลือ หอม กระทียมกับชาวบ้านหนองบัวในแพที่ล่องอยู่นั้นส่วนมากจะมีช้าง5/10เชือก พอแลกข้าวของเสร็จจะเอาของที่แลกได้ไส่หลังช้างกลับเมืองท่ากระดานเก่าเป็นอย่างนี้ทุกๆปีของชาวกระเหรี่ยง มีอยู่ครั้งหนึ่งชาวชาวเมืองท่ากระดานได้ล่องแพมาจอดอยู่ที่ท่าน้ำหน้าวัดหนองบัว ได้เอาช้าง2เชือกลงจากแพเพื่อให้กินหญ้าอยู่ชายแม่น้ำในเขตวัด เป็นเวลาประมาณ4โมงเย็น ชาวกระเหรียงก็เริ่มหุงข้าวอยู่บนแพ ขณะนั้นนั้นฝนก็ตกลงมาทำให้ฟืนที่อยู่บนแพเปียก ไม่มีฟืนจะหุงข้าว พ่อบ้านกระเหรี่ยงชื่อผ่องเซง ผู้มีวิชาอาคมทางไสยสาตร์มาก ชาวบ้านเมืองท่ากระดานกลัวเกรงมาก จึงพูดด้วยใจห้าวหาญไม่กลัวใคร เมื่อฟืนไม่มีหุงข้าว ก็เอาเสาศาลาเก่าๆวัดนี้เป็นฟืนหุงข้าวก็แล้วกัน พ่อบ้านกระเหรี่ยงจึงนั่งพนมมือหันหน้ามาทางศาลาเก่าๆแล้วหยิบขวานฟันไปที่หน้าแข้งตัวเองได้สิบกว่าครั้ง แล้ววางขวานลงสั่งให้ลูกน้องวิ่งขึ้นไปเอาฟืนที่ศาลาเก่านั้นลงมาที่แพเพื่อหุงข้าวค้มกิน ช้างที่ปล่อยก็กินต้นไม้ที่วัดปลูกแทบจะไม่เหลือเลย พอฝนหยุดตกหลวงพ่อเหรียญกับ ก๋งพ้ง ก๋งพ้ง ปู่ชื่น ก็ตกใจจึงกลับมาบอกหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่หัวเราะ หึ หึ สั่งให้ก๋งพ้งไปหยิบกะลามา2ลูกแล้วเดินลงจากกฎิของท่าน มายืนดูชาวกระเหรี่ยงแล้วเดินมาที่ช้าง2เรียกเห็นช้างกินหญ้าอย่างเพลิดเพลิน หลวงปู่นั่งยองๆอยู่พักหนึง ช้างทั้งสองเชือกก็เกิดอาการหมุมติ้วและเกิดลมปั่นฝุ่นคลุ้งไปหมด พอฝนจางช้างทั้งสองเชือกตัวเล็กนิดเดียว ยืนอยู่ข้างหน้าหลวงปู่ หลวงปู่จึงเอากะลาที่ถือมาครอบครอบไปที่ช้างสองตัวแล้วเดินกลับยืนอยู่ที่หน้าวัดที่ชาวกระเหรี่ยงผูกแพ หลวงปู่หัวเราะ ฟืนก็ไม่เปียกทำไมมุหุงข้าวล่ะเดี๋ยวมึดเด็กเล็กคงจะหิวนะโยม ย่องเซง หลวงปู่เดินกลับเข้ากุฎิได้สักพักหนึ่ง หลวงปู่เรียก ก๋งพ้ง ปู่ชื่น ให้เอาข้าวที่เหลือกับกับข้าวไปให้ชาวกระเหรี่ยงกินสิ เพราะเขาหิวแล้ว ชาวกระเหรียงกินข้าวที่ทางวัดจัดให้จนอิ่ม พ่อบ้านชาวกระเหรี่ยงก็เอ๊ะใจ ทำไมฟืนที่เอามาหุงข้าวทั้งๆที่แห้งทำไมก่อไฟเท่าไหร่ก็ไม่ติดจึงคิดอยู่ในใจ พ่อบ้านชาวกระเหรี่ยงลุกขึ้นมาชักชวนลูกบ้านอีกสองคนเดินขึ้นจากแพไปดูช้างที่ปล่อยไว้กินหญ้า ทั้งสามคนหาเท่าไหร่ก็ไม่พบ จึงกลับมานอน พอตื่นขึ้นเช้ารีบตามหาช้างอีกก็ไม่เจอจนนายทั้งสามคนจึงเข้ามากราบหลวงปู่ยิ้มให้ช่วยตามช้างให้ที หลวงปู่หัวเราะ หึ หึ แล้วเรียกก๋งพ้ง ให้ไปเอากะลาที่ครอบช้างออก พอก๋งพ้ง ปู่ชื่นกลับมา หลวงปู่ก็บอกชาวกระเกรียงทั้งสามคน ลองไปดูสิว่ามีช้างหรือเปล่า ชาวกระเหรี่ยงตรงไปที่กุฎิหลวงปู่ชาวกระเหรี่ยงขึ้นไปกราบอีกครั้งเพื่อขอรับผิดหลวงปู่ยิ้ม และพูดขึ้นว่าอย่าคิดว่ามีวิชาแล้วรังแกผู้อื่นคราวนี้ยกโทษให้แต่คราวหน้าอย่าทำอีกนะ หนังควายที่ท่านส่งมาเมื่อคืนนี้เอากลับไปด้วย ปีหน้าฉันจะทำศาลาใหม่เอาเสามาให้ฉันก็แล้วกัน หัวหน้ากระเหรี่ยงลงกราบอักครั้งแล้วจึงพูดว่าครับ ท่านพระคุณเจ้า พอรุ่งเช้าชาวกระเหงี่ยงก็ไปซื้อของตลาดหนองบัว ขึ้นหลังช้างกลับเมืองท่ากระดาน พอปีใหม่พวกชาวกระเหรี่ยงประมาณ50คนได้ล่องแพยาวเยียดบรรทุกไม้เสาร้อยกว่าต้นมาถวายหลวงปู่ ทุกๆปีมีงานประจำปีของเมืองท่ากระดาน ชาวกระเหงี่ยงจะมานิมาต์หลวงปู่ขึ้นหลังช้างไปเมืองท่ากระดาน ชาวกระเหรี่ยง ชาวมอญ ชาวละว้า ชาวขมุ ชาวป่า ชาวพม่า นับถือหลวงปู่เป็นปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ชาวกระเหรี่ยงยกย่อง ขออภัยครับไม่พิมพ์ต่อล่ะนะ คนแก่ตามองไม่ค่อยเห็น จากการจดบันทึกลายมือเขียนของ ก๋งพ้ง บัวขม ลูกศิษย์ใกล้ชิด ลป.ยิ้ม ได้บันทึกไว้ และบันทึกดังกล่าวได้ตกทอดถึงทายาทตระกูล "บัวขม" รุ่นหลาน'' ในปัจจุบันได้มีการนำบันทึกดังกล่าวออกเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้ศึกษาและเพื่อเป็นการประกาศเกียรติประวัติ ของ หลวงปู่ยิ้ม แห่งวัดหนองบัว และที่หลักฐานการสร้างพระเครื่อง พระปิดตา วัตถุมงคล ของหลวงปู่ยิ้ม ทางทายาทตระกูล "บัวขม"แซ่โค้ว ได้นำมาเพื่อประชาชนทั่วไปได้ศึกษาที่ คงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ที่ต้องการศึกษาเพื่อการสะสม กระผมยกความดีต่างๆให้ท่าน ก๋งพ้ง บัวขม จดบันทึกเหตุการณ์ไว้ให้ลูกหลานอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา ชีวประวัติ หลวงปู่ยิ้ม และ ประวัติวัดหนองบัว |
โทรศัพท์ :
0909979955, 0909979955
วันที่ :
3/09/17 15:59:00
|
|
|
|
|
|