เหรียญเสมาครูบาอินถา ฐิตธัมโม รุ่นร่ำรวย คุ้มภัย เนื้อทองฝาบาตร สร้างปีพ.ศ.๒๕๕๔ วัดยั้งเมิน ต.ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ประสบการณ์ดี พร้อมจารมือ
หลวงปู่ครูบาอินถา วัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ "พระครูถาวรมงคลวัตร" หรือ "ครูบาอินถา ฐิตธัมโม" เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ ไปทั่วสารทิศ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น พระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งภาคเหนือ เกิดเมื่อวันพุธที่ 14 มี.ค.2464 ที่บ้าน เลขที่ 3 หมู่ 3 บ้านหนองหวาย อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาเริ่มเข้าสู่เส้นทางธรรม ด้วยการเข้าพิธีบรรพชา เมื่ออายุ 12 ปี ที่วัดหนองหวาย ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เป็นสหธรรมรุ่นเดียวและรู้จักดีกับครูบาต๋า วัดบ้านเหล่า และรุ่นพี่ คือ ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ แต่ใช้เวลาเพียงไม่นาน ท่านลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตตามปกติสามัญกระทั่งเกิดความเบื่อหน่ายทางโลก พ.ศ.2518 กลับเข้าพิธีอุปสมบท ซึ่งครั้งนี้บวชแล้วมาอยู่จำพรรษาที่วัดยั้งเมิน มีพระครูสิริธรรมโฆษิต วัดปากกอง อ.สารภี ในฐานะเจ้าคณะอำเภอสะเมิง เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนที่ครูบาอินถาจะเข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดยั้งเมิน สภาพวัดเก่าแก่ทรุดโทรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวิหาร ศาลา และโบสถ์ รวมทั้งพระธาตุวัดยั้งเมินด้วย ด้วยความเป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติอันยาวนาน เป็นวัดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย เดินธุดงค์มาสถานที่แห่งนี้แล้วเกิดสายบาตรขาด พักอยู่ที่แห่งนี้นานถึง 7 เดือน จึงเรียกกันติดปากมาว่า "ยั้งเมิน" ตามภาษาเหนือ คือ พักนาน ในช่วงที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยพักอยู่ที่นี่ เพื่อหาด้ายและเข็มมาซ่อมสายบาตร ช่วงนั้นท่านสร้างองค์เจดีย์ขึ้นมา 1 องค์ เพื่อเป็นสิริมงคลให้ชาวบ้านได้ สักการบูชา จากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไปที่อื่นจนสิ้นสุดที่วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดยั้งเมิน เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2520 จากนั้นท่านเริ่มลงมือบูรณะพระธาตุวัดยั้งเมิน วิหาร, ศาลาการเปรียญ โบสถ์ หอระฆัง และห้องน้ำ ครูบาอินถาเล่าว่า ให้ความสนใจศึกษาเรื่องวัตถุมงคลต่างๆ มาตลอด เพราะอยู่ในช่วงวัยรุ่น เป็นคนชอบศึกษาเรียนรู้ทุกด้านไม่ว่าเรื่องวิทยาศาสตร์ หรือเรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติ รวมทั้งด้านวิทยาคม และชอบสะสมศึกษาวัตถุมงคลจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัว อาจารย์คนแรกที่สอน คือ หนานหลวงปุ๊ด สอนพระคาถาทุกด้าน จากนั้นเป็นลูกศิษย์ของหนานตา ที่เชี่ยวชาญเรื่องวิทยาคมเช่นกัน วิชาที่เรียนจะแตกต่างกันเพราะเป็นคาถาเฉพาะตัวของแต่ละอาจารย์ จากนั้นเมื่ออุปสมบท น้อมนำแนวปฏิบัติแบบอย่างจากครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ครูบาอินถาให้ความเลื่อมใสศรัทธา ต่อมาฝากตัวเป็นศิษย์ครูบาสม วัดศาลา (โป่งกว๋าว) อ.สะเมิง เชียงใหม่ พระเกจิชื่อดังของเชียงใหม่ และครูบากล่ำ วัดน้ำโจ้ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ พระเกจิอาจารย์อีกท่าน ครูบาอินถา จัดสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่นเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น หวังให้บูชาเพื่อเป็นการเตือนสติ เครื่องระลึกเตือนถึงคุณงามความดี มีเครื่องบูชาติดตัวให้นึกถึงคุณของครูบาอาจารย์ คุณของความดี และกุศล และคุณของพระพุทธศาสนา เพื่อให้คุ้มครองและรักษาให้อยู่สุขสวัสดีมงคล นำพาชีวิตให้เกิดสติ แม้ด้วยอายุขัยที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยชราภาพ แต่เมื่อถูกนิมนต์ไปร่วมประกอบพิธีพุทธา ภิเษกงานวัตถุมงคล ครูบาอินถาจะสวดมนต์คาถาและนั่งปรกใช้สมาธิพลังจิตอย่างเต็มที่ ใช้พลังจิตบารมีทุ่มเทให้กับงานที่รับกิจนิมนต์ จนบางครั้งลูกศิษย์ของ ท่านเองต้องขอร้องให้ท่านงดรับนิมนต์บ้าง เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ ครูบาอินถาจึงกลายเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอำเภอสะเมิง และชาวจังหวัดเชียงใหม่ ยึดถือหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าและเผยแผ่ธรรมะ ดำเนินแบบแผนตามรอยธรรมแห่งพุทธองค์ ท่านมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2557 ในอิริยาบถจำวัดนอนตะแคงขวา สิริอายุ 93 ปี พรรษา 39 พุทธา ภิเษกงานวัตถุมงคล ครูบาอินถาจะสวดมนต์คาถาและนั่งปรกใช้สมาธิพลังจิตอย่างเต็มที่ ใช้พลังจิตบารมีทุ่มเทให้กับงานที่รับกิจนิมนต์ จนบางครั้งลูกศิษย์ของท่านเองต้องขอร้องให้ท่านงดรับนิมนต์บ้าง เพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ ครูบาอินถาจึงกลายเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านอำเภอสะเมิง และชาวจังหวัดเชียงใหม่ ยึดถือหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าและเผยแผ่ธรรมะ ดำเนินแบบแผนตามรอยธรรมแห่งพุทธองค์ ท่านมรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2557 ในอิริยาบถจำวัดนอนตะแคงขวา สิริอายุ 93 ปี พรรษา 39 กราบสาธุ...
|