ครูบาเจ้า 36 นวะ สุดสวยๆ
โชว์ ตลับพระ ลาย 15 ค่ำ " กวงทอง หนองคาย "
ว่าด้วย นวะ 36 มีหู
โปรดทราบ เป็นความเห็น ส่วนตัวนะครับ ...
ครูบาเจ้าศรีวิชัย ปี 2536 เนื้อนวะโลหะ (มีหู) รวมๆ ให้ชม
1. ครูบาเจ้าฯ ปี 36 บล๊อค นิยม ไหล่ขีด (มีกระแส)
2. ครูบาเจ้าฯ ปี 36 บล๊อค นิยม (มีกระแส)
3. ครูบาเจ้าฯ ปี 36 บล๊อค ไม่มีกระแส
4. ครูบาเจ้าฯ ปี 36 บล๊อค ไม่มีกระแส 2 ขอบ
ตามนี้นะครับ ข้อสังเกตุ แบ่งได้ จริงๆ 2 กลุ่ม บล๊อค คือ
1.กลุ่มบล๊อค มีกระแส ดูจากรูป [1] + [2] จะได้ความนิยม เพราะมีความสวยงาม ของเส้นกระแส ส่วนจะมาแยกว่า มีไหล่ขีดหรือเปล่า ก็ไม่ต่างกันมาก เพราะเอาความสวยเป็นหลัก นะครับ (บางทีเจอ ไหล่ขีด แต่ไม่สวย ก็มี)
2.กลุ่มบล๊อค ไม่มีกระแส ดูจากรูป [3] + [4] จะได้รับความนิยม รองลงมา จะไม่มีเส้นกระแส ทั้ง ด้านหน้า และหลัง ส่วนตัวผม วิเคราะห์ว่า ใช้บล๊อคเดียวกับ เนื้อ ฝาบาตร เพราะสังเกตุ ที่วงสีแดงไว้ จะมีขีด ตรงปลายมือ เหมือนเหรียญ ฝาบาตร
*** ข้อมูลการจัดสร้าง ***
เหรียญ ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นสิริวิชโย 115 ปี วัดบ้านปาง เป็นเหรียญครูบาเจ้าฯ อีกรุ่นหนึ่งที่มีความงดงาม สมบรูณ์ ทั้งด้านหน้า และด้าน หลังเหรียญ และยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากการสร้างของ คุณ นิตย์ พงษ์ลัดดา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภานุพันธุ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน
มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และทุนการศึกษาครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดบ้านปาง อ. ลี้
มีพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ 24 ธันวาคม 2536
รายละเอียดการสร้าง ชุดใหญ่ กรรมการ หรือ ชุดทองคำ 199 ชุด ชุดเงิน 999 ชุด เหรียญนวโลหะผสม 9,999 เหรียญ ฝาบาตร 29,999 เหรียญ
*** ท้ายสุด เป็นเหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น 115 ปี 2536 ครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อยปลุกเสก สร้างโดย พ.ต.ต. อุดม พงษ์ลัดดา และ คุณนิตย์ พงษ์ลัดดา รูปแบบคล้ายกับเหรียญครูบาเจ้าสิริวิชโย 115 ปี เพียงแต่ ด้านหลังไม่มีคำว่า “ สิริวิชโย “ เท่านั้น เป็นเหรียญเนื้อทองแดงอย่างเดียว มีหูในตัว ตอกรหัสโค๊ดด้านหลังเหรียญ สร้างจำนวน 20,000 เหรียญ และหลังเสร็จพิธีแล้วได้จัดถวายเพื่อเป็นปัจจัยให้วัดต่างๆ ถึง 19 วัด ***
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ ตามรอยจอบแรก ครูบาเจ้าศรีวิชัย
*** สงวนลิขสิทธิ์ ภาพ การนำไปเผยแพร่ นะครับ ***
|