ส่วนตัวผมเรียก "พระรุ่นหลานของพระคง ลำพูน" เพราะจากแบบพิมพ์เชื่อว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นนหลังพระคงลำพูน ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วอายุคน
เป็นการนำเอาพระคง พระบาง ลำพูนมาเป็นแบบ แล้วใช้ช่างในอีกช่วงกาลเวลาหนึ่งให้แกะพิมพ์ ความพริ้วแม้จะไม่ถึงพระสกุลลำพูนในยุคแรก แต่ก็มีรายละเอียดที่ดีพอสมควร
รูปที่ลง คือพระรอดบังภัย พิมพ์ฐานสูง 3 กรุ ที่มีลักษระพิมพ์ใกล้เคียงกัน ขนาดใกล้เคียงกัน แตกต่างกันที่เนื้อดินไปบ้าง แต่ก่อนการเล่นพระรอดบังภัย จะแบ่งเข้า 2 กรุหลัก คือ กรุฮอด แบบองค์ซ้าย และกรุหมูบุ่นแบบองค์ขวา เนื่องจากพระรอดบังภัย 2 กรุนี้ ตอนที่แตกกรุมีคนรู้จัก และให้ความสนใจพอสมควร
ส่วนองค์กลาง แตกที่กรุหัวข่วง ตอนแตกกรุออกมา ราวปี พศ 2492-2493 ตอนนั้น คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับพิมพ์พระรอดเศียรโล้น และขุนแผนมากกว่า จึงไม่ค่อยยมีใครให้ความสนใจมากนัก ต่อมาก็ไม่มีใครพูดถึงอีก
เวลามีพระรอดบังภัยเข้าสนิม ถ้าเจอหลังแบน เนื้อหยาบ ทุกคนตีเป็นกรุฮอดหมด ถ้าเจอเนื้อละเอียดหลังอูมตีหมูบุ่นหมด ไม่ได้มีใครให้ความสำคัญกับพิมพ์พระเลย
คราวนี้พอมีการแบ่งพิมพ์ขึ้นมา ความยุ่งยากจึงเกิด ที่เคยเล่นก็อาจต้องปรับเปลี่ยนกันไปบ้าง
ผมเป็นคนหนึ่งที่บางครั้งอาจจะเยอะ แต่เยอะวันนี้ แล้ววันหน้าง่าย ดีกว่าง่ายวันนี้ แล้ววันหน้ามีปัญหา ผมก็เลยจัดแจง แบ่งพิมพ์ซะ เพื่อให้ทุกอย่างถูกจัดให้เข้าที่พร้อมจะเรียนรู้ต่อ
ภาพทั้ง 3 เป็นพระรอดบังภัย พิมพ์ฐานสูง ที่มา่จากกรุ 3 แห่ง
1.ซ้าย กรุฮอด 2. กลาง กรุหัวข่วง และ3.ขวา กรุหมูบุ่น
เส้นลูกศรที่ ชี้ให้เห้น คือความแตกต่างของชุดโพธิ์ ที่แตกต่างกันประมาณ 4-5 จุด หลักๆ
ส่วนเส้นลูกศรที่ใต้ฐานบัว สองกรุซ้าย-ขวา คือกรุฮอดและกรุหมูบุ่น จะไม่มีเส้นใต้ฐาน แต่กรุฮอดมีเส้นแซมอยู่ใต้ฐานบัวชัดเจน
วิธีการแบ่งกรุตามพิมพ์ คือวิธีแบ่งกรุตามมาตรฐานที่สามารถเรียนรู้และศึกษากันได้ในวงกว้าง และสามารถยึดเป็นหลักในการแบ่งได้ในอนาคต การจัดรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน เพื่อการเล่นหาอย่างเป็นมาตรฐานต่อไปในอนาคต
ปล. ใครมี 3 กรุนี้ ตามรูป รับซื้อนะครับ พระรอดบังภัย 2 กรุซ้ายและขวาราคาแรงมาสักพักใหญ่แล้ว ส่วนองค์กลางยังไม่แรง ใครมีอยากปล่อยก็บอกนะครับ รับเช่า ส่งรูปมาได้เลย
|