วันนี้มีอีกเรื่องหนึ่งที่ร้านพุทธคุณเมืองน่านจะได้มาบอกกล่าวหรือแบ่งปันข้อมูลที่ได้ศึกษามา เป็นเวลาหลายเดือนละที่ทางร้านไม่ได้นำความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง เครื่องรางหรือวิธีการต่างๆในการเล่นหาพระเครื่องมาให้ได้อ่านหรือรับรู้ เพราะเนื่องจากว่าทางร้านได้เขียนให้อ่านจนเกือบหมดละ หากท่านได้ไปอ่านทุกๆบทความที่ทางร้านได้เขียนไว้ ท่านก็จะเข้าใจในสิ่งต่างๆมากมายโดยเฉพาะวัตถุมงคลสายครูบาดอนตัน วันนี้ทางร้านมาพิจารณาดูว่ายังเหลืออะไรที่ยังไม่ได้แบ่งปันข้อมูลหรือเขียนให้ท่านได้รับทราบ ก็มาคิดได้ว่ายังมีเรื่องหนึ่งที่ทางร้านยังไม่ได้เขียนรายระเอียดลงลึกในเรื่องของ “สเกลยันต์” เพราะคำว่าสเกลยันต์นั้นทางร้านมักจะพูดอยู่บ่อยๆและมีประโยชน์อย่างมากในการพิจาณาเรื่องของตะกรุดครูบาดอนตัน
ก่อนอื่นต้องมาเข้าใจคำว่าสเกลก่อน สเกลก็คือระยะห่างที่เราเห็นอยู่ในไม้บรรทัดที่เป็นเซ็นต์หรือนิ้ว การนำสเกลมาตัดสินว่าตะกรุดชิ้นนี้ของครูบาดอนตันหรือไม่นั้นท่านฟังดูอาจจะงงและทางร้านเชื่อแน่ว่าคนที่เล่นตะกรุดทั่วประเทศคงไม่มีใครคิดถึงกันแต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้กับตะกรุดของเกจิอาจารย์อื่นๆได้หมดเพราะวิธีการทำตะกรุดแต่ท่านนั้นต่างกัน ในสมัยก่อนการที่จะทำตะกรุดขึ้นมานั้นช่องยันต์ที่จะเอาไว้ลงอักขระนั้น ในสมัยก่อนเวลาท่านจะทำตะกรุดเวลาตีตารางยันต์หรือช่องยันต์ไว้จารยันต์นั้น ท่านจะใช้ไม้ไผ่แบนๆแล้วฝ่าซีกจะมีความยาวประมาณ1คืบ เวลาตีตางรางยันต์ท่านก็จะใช้ไม้นี้คีบแผ่นยันต์ไว้และทำเครื่องหมายระยะห่างของช่องยันต์ไว้ และระยะห่างของแต่ช่องนั้นจะเสมอกันเหมือนกับเราใช้ไม้บรรทัดนี้แหล่ะและระยะช่องห่างของตารางยันต์นั้นท่านอย่างไปคิดว่าทุกๆช่องจะเอาไม้บรรทัดไปวัดความห่างของตารางยันต์ตารางยันต์จะห่าง 1 นิ้ว 2นิ้ว หรือ 1 ซม.หรือ O.5 ซม.แบบนี้เป็นต้น ไม่ใช่แน่นอนเพราะระยะห่างแต่ละช่องนั้น ในสมัยก่อน ระยะเวลาร้อยๆปีไม่มีบรรทัดแน่นอนหรือยุคหลังๆที่มีไม้บรรทัดแต่ครูบาเก่าๆก็ยังใช้วิธีการเดิมๆอยู่ก็มี ครูบาสมัยก่อนเลยใช้วิธีที่ผมบอกว่าใช้ไม้ไผ่ทำสเกลและฝ่าซีกเพื่อคีบแผ่นยันต์ไม่ให้เคลื่อนและระยะห่างที่ทำเครื่องหมายไว้ที่ไม้ไผ่ที่ครูบาแต่ละท่านทำจุดไว้จะเป็นการกะระยะด้วยสายตา หากเราไปวัดระยะตางรางยันต์แล้วท่านจะพบว่า ระยะห่างทุกๆช่องของตารางยันต์นั้น เช่น 0.7 1.2ซม 1.4 ซม. เป็นต้น แต่ถ้าตะกรุดที่ครูบายุคใหม่ทำจะใช้ไม้บรรทัดมาตีตารางยันต์โดยทุกๆช่องจะลงเป็น 1 2 3 4 0.5 เป็นต้น แต่การใช้ไม้คีบทำตารางยันต์ได้หายไปเพราะไม่ได้มีการสืบทอดต่อๆกันมา ยุคหลังๆมาใช้ไม้บรรทัดทาบกันหมด การที่ครูบาดอนตันใช้วิธีการตีตารางยันต์แบบโบราณนี้จะทำให้สเกลยันต์แตกต่างกับครูบาอื่นๆ และเวลาที่ครูบาดอนตันท่านจารยันต์หรืออักขระ แม้แต่ขีดตารางยันต์ท่านลงเหล็กจารไว้หนักทำให้ตัวยันต์หรือตารางยันต์มองเห็นทะลุอีกด้านของแผ่นตะกรุด เสียดายที่ไม้สเกลของท่านได้สูญหายไปทำให้เวลาเทียบสเกลยันต์นั้นทางร้านใช้วิธีการคือ ต้องมีตะกรุดที่เป็นตะกรุดชนิดต่างๆไว้เพื่อเป็นแม่แบบของสเกล ไม้แบบสเกลที่ยังคงเหลืออยู่ที่พบเห็นจะเป็นของครูบาก๋ง วัดศรีมงคล ปัจจุบันได้นำไม้สเกลมาโชว์ที่พิพิธภันฑ์วัดบ้านก๋ง (ท่านสามารถไปดูได้ หากเดินขึ้นบันไดจะอยู่ทางซ้ายมือตรงมุมของห้อง ) การใช้ระบบสเกลยันต์นั้นใช่ว่าจะนำไปใช้กับครูบาท่านอื่นๆได้ทั้งหมด ท่านต้องรู้ว่าครูบาแต่ละท่านมีวิธีการทำตะกรุดขึ้นมาแบบไหน และตะกรุดที่ทำขึ้นนั้นหากไม่คลี่ตะกรุดออก เราสามารถเห็นตางรางยันต์หรืออักขระจากภายนอกได้หรือไม่ ในส่วนของครูบาดอนตันนั้นที่นำสเกลมาใช้ก็เพราะว่าตะกรุดท่านได้ใช้สเกลแบบเก่าและจารยันต์หนักเห็นยันต์ชัด จึงใช้การดูสเกลเข้ามาเกี่ยวข้อง และก็ใช่ว่าตะกรุดทุกๆอย่างของครูบาดอนตันจะเอาสเกลไปวัดได้หมด จะใช้ได้ในกรณีที่เห็นตารางยันต์ของตะกรุดชัดเจนเท่านั้น และทางร้านเคยนำระบบสเกลไปใช้ในกรณีใดบ้าง เช่น ตะกรุด12มหาชัยครูบาดอนตัน เพราะตะกรุด12มหาชัยเท่าที่เราทราบกันดีว่าตะกรุด12มหาชัยเชือกขาวที่ร้อยเป็นคู่ๆจะมีทั้งของครูบาดอนตันและครูบาสมที่ทำขึ้นในยุคใกล้เคียงกัน หากคนที่ได้ได้จากครูบาดอนตันหรือครูบาสมอันนั้นเราสามารถบอกได้จากที่มา หากว่าได้มาแล้วไม่รู้ว่าของครูบาท่านใด เราสามารถนำระบบสเกลมาเทียบได้และเคยใช้ได้ผลแล้วด้วยว่าตะกรุด12มหาชัยของครูบาดอนตันหรือของครูบาสมกันแน่ และตะกรุดธงชัยที่ทางร้านได้นำระบบสเกลมาใช้ ท่านจะเห็นว่าทางร้านได้ตะกรุดธงชัยมาจากต่างที่กัน แล้วได้นำตะกรุดโทนธงชัยทั้งสองดอกที่ได้ต่างที่กัน นำมาเทียบสเกลท่านจะเห็นว่าสเกลยันต์นั้นเหมือนกันทุกอย่าง ท่านลองไปหาดูตรงตะกรุดโทนยันต์ธงชัยในส่วนดอกที่ขายไปหรือดอกที่โชว์ไว้ และยังมีตะกรุดอีกหลายชนิดที่ทางร้านเอาสเกลมาเทียบ และอนาคตนั้นการเอาสเกลมาเทียบนั้นมีประโยชน์ในวันข้างหน้าอย่างไร อย่างที่ทางร้านได้กล่าวไว้ ในตอนนี้มีการทำตะกรุดครูบาดอนตันย้อนยุคขึ้นและทำได้ออกมาใกล้เคียงมาก อีกทั้งมีตะกรุดหลายๆชนิดที่ครูบาดอนตันมีของย้อนยุคก็มี ในปัจจุบันเรายังสามารถแยกแท้และย้อนยุคได้โดยการดูสภาพต่างๆของตะกรุด แต่หากวันข้างหน้า10ปี20ปีความเก่าใกล้เคียงกัน ทีนี้ปัญหาจะตามมาว่าจะดูกันอย่างไร ทางร้านได้เห็นปัญหาจุดนี้ดีจึงต้องนำระบบเสกลมาใช้ในวันข้างหน้าเพราะตะกรุดย้อนยุคเวลาตีตารางจะใช้ไม้บรรทัดวัดแต่ของครูบาดอนตันใช้การกะระยะ เวลาใช้ไม้บรรทัดวัดของย้อนยุคจะลงด้วยจำนวนเต็มหรือ0.5 ถ้าของครูบาดอนตันนั้นจะลงระยะเช่น 1.2 1.3 เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ที่ทางร้านได้มาอธิบายนั้น การใช้ระบบสเกลมาเทียบเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการดูตะกรุดครูบาดอนตันเท่านั้น ทางร้านยังมีวิธีการอีกหลายๆอย่างๆมาประกอบกันในการดูตะกรุดครูบาดอนตัน หวังว่าหลายๆท่านอ่านแล้วจะเข้าใจหรือบางท่านอาจจะงง หากได้มาเรียนหรืออธิบายตัวต่อตัวจะง่ายยิ่งขึ้น แต่ให้รู้ว่าตะกรุดครูบาดอนตันทุกอย่างๆทางร้านต้องมีวิธีการพิสูจน์โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์และความเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช้การนึกคิดว่าหรือความรู้สึกมาตัดสินอันนั้นไม่ถูกต้องอย่างแน่นอนครับ
วันนี้ที่นำมาโชว์นั้นคือตะกรุดธงชัยเนื้อฝาบาตร ตะกรุดธงชัยนั้นส่วนใหญ่จะพบเห็นเป็นแผ่นทองแดงเสียมากกว่า ที่เป็นแผ่นฝาบาตรนั้นไม่ใช่ว่าไม่มีการสร้างแต่พบเห็นน้อยเท่านั้นเอง แต่ความนิยมต้องทองแดงแต่ความหายากต้องยกให้ฝาบาตร ตะกรุดโทนลงยันต์ธงชัยเนื้อฝาบาตรดอกนี้ ถือว่าเป็นดอกที่สองที่ทางร้านได้มา หากสังเกตแผ่นทองเหลืองหรือฝาบาตรยุคเก่ากับยุคใหม่ต่างกัน ท่านลองไปสังเกตให้ดีๆแล้วจะรู้
ภาพแรกคือตะกรุดโทนยันต์ธงชัย ขนาดความยาว4.5นิ้ว ดอกนี้พิเศษว่าตรงที่ว่ามีจีวรของครูบาดอนตันติดมาด้วย เสียดายว่าผ้าจีวรคงจะชื้นทำให้มีสนิมเขียวเกิดตรงรอยจีวรที่พันอยู่
ภาพที่สองคือตะกรุดธงชัยทั้งสามดอกนำมาเทียบสเกลยันต์ว่าจะเหมือนหรือไม่ หากท่านสังเกตจะเห็นว่าสเกลยันต์ทั้งสามดอกเหมือนกันทุกๆอย่าง นั้นก็เพราะว่าเกิดจากการใช้ไม้สเกลอันเดียวกัน และที่สำคัญคือความเก่าของตะกรุดและยันต์ต้องดูง่ายๆเห็นยันต์ชัดเจน ตะกรุดธงชัยหรือตะกรุดอื่นๆครูบาดอนตันที่ท่านจารอักขระหนักๆจะเล่นง่ายที่สุดแล้ว ไม่มีสำนักไหนที่จะง่ายไปกว่านี้อีกแล้ว ไม่เชื่อลองไปดูได้ว่าจะมีสำนักไหนที่ยันต์ชัดๆแบบนี้ได้อีกแล้ว ส่วนตะกรุดธงชัยที่เห็นมีเก๊นั้นยังทำได้ห่างไกล ส่วนของย้อนยุคนั้นแผ่นทองแดงยังใหม่ๆและจารยันไม่ลึกเท่าของครูบาดอนตันครับ
|