ตะกรุดเส้นนี้คือตะกรุด12มหาชัยครูบาดอนตัน ตะกรุด12มหาชัยนั้นการสร้างค่อนข้างยุ้งยากมาก เราจึงเห็นตะกรุด12มหาชัยของครูบาดอนตันน้อยมาก ที่ทางร้านเคยขายไปนั้นเพียง2เส้นเท่านั้นในรอบเกือบ5ปี ตะกรุด12มหาชัยเส้นนี้เห็นยันต์ชัดเจนและจะไม่เหมือนยันต์แบบอื่นๆจึงพิจารณาง่าย ตะกรุด12มหาชัยเส้นนี้จะมีคราบดินโคลนติดตามดอกตะกรุดบ้างเพราะอย่างที่บอกไว้บ่อยๆว่าหมู่บ้านดอนตันมักถูกน้ำท่วมบ่อยๆ ทางร้านจึงไม่ล้างคราบโคลนที่ติดออกเพื่อง่ายในการดูที่มาที่ไป ตะกรุด12มหาชัยนั้นเป็นตะกรุดที่ใช้พุทธคุณได้ทุกๆด้าน ในสมัยก่อนโดยเฉพาะแม่ทัพนายกองของเมืองน่านจะมีตะกรุดชนิดนี้คู่กายนี้เสมอและตำรานี้เป็นตำราของเมืองน่านเท่านั้น
ครูบาของน่านที่สร้างตะกรุด12มหาไชยสงครามหลวงไว้นั้นที่ปรากฏชัดเจนจะมีแค่2ท่านคือ ตะกรุด12มหาไชยสงครามหลวงครูบาดอนตัน วัดดอนตัน และครูบาสม วัดเมืองราม อ.สา ซึ่งทั้งสองท่านมีเอกลักษณ์การสร้างตะกรุด12มหาไชยสงครามไม่เหมือนกัน ตัวอักขระเลขยันต์จะเหมือนกันแต่รูปลักษณ์ไม่เหมือนกันสามารถแยกออกได้ ตะกรุด12มหาไชยฯครูบาดอนตันจะสร้างออกมาน้อยมากเพราะไม่ใช่ตะกรุดหลักที่ท่านสร้าง แต่ว่าเป็นตะกรุดที่มีประสบการณ์มาก ส่วนตะกรุด12มหาไชยฯของครูบาสมจะสร้างออกมามากเพราะเป็นตะกรุดหลักของท่าน
วันนี้จะพูดถึงเคล็ดต่างๆที่พูดสืบต่อๆกันถึงยันต์มหาไชยะสงครามหลวงหลายๆอย่าง ยันต์ชนิดนี้หากจะทำลงตะกรุด เคล็ดวิชานี้เขาจะต้องดูถึงตัวผู้สร้างกับดวงเมือง นั้นก็คือ ในการนำยันต์นี้มาทำตะกรุดตัวผู้สร้างที่เป็นครูบาอาจารย์นั้นๆ ในปีที่สร้างตัวผู้สร้างเอง พูดง่ายๆต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อ ดวงตกดวงอับมั้ย มีเคราะห์หามยามร้ายต่างๆนาๆมั้ย มีเรื่องเดือดร้อนมั้ย ฯลฯ เท่านั้นยังไม่พอต้องมาดูดวงเมืองในปีนั้นอีกว่า ดวงเมืองในปีนั้นที่จะสร้างตะกรุดเกิดเหตุร้ายกับบ้านเมืองมั้ย มีเหตุศึกสงครามมั้ย เกิดภัยธรรมชาติมั้ย มีผู้คนล้มตายจากโรคภัยมั้ย ดวงเมืองตกอุบาทก์มีเคราะห์มั้ย ฯลฯ หากครูบาอาจารย์หรือดวงเมืองมีเหตุเภทภัยดังที่กล่าวมา การจะสร้างตะกรุดมหาไชยสงครามหลวงเขาจะไม่ค่อยทำกัน ถ้าจะทำแล้วมักจะไม่มีคุณวิเศษของตะกรุดนั้น จะเห็นว่าตะกรุดชนิดนี้มันไม่ได้สร้างกันง่ายๆ เมื่อสร้างก็ต้องมีเครื่องสักการะบูชาอีก เมื่อครูบาอาจารย์และดวงเมืองดีสามารถทำได้ ทีนี้มาดูวิธีการสร้าง
ก่อนสร้างดูฤกษ์ยามให้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ที่ตรงตามหลักโหรศาสตร์ จากนั้นจัดขันหลวง ขันครูเพื่อจะสร้างตะกรุด
เครื่องขันหลวงมีดังนี้
ผ้าขาว ผ้าแดง ผืนละ 1 วา เทียนเล่มบาท 1 คู่ เทียนเล่มเฟี้ยง 1 คู่ เทียนเล่มเล็ก 12 คู่ ธูป 12 คู่ ข้าวตอกดอกไม้สีขาว 12 คู่ หมากหัว พลู 1 มัด ข้าวเปลือกหมื่น ข้าวสาร 1 ปัน เหล้า 1 ปัน (1ขวด) มะพร้าวไฟ 2 ลูก กล้วย 1 หวี เงิน 32 บาท (เท่ากับอาการคน32ประการ)
ทีนี้มาทำราชวัตรโดยมีหน่อต้นกล้วยต้นอ้อยประดับมุมทั้ง4มุม
เมื่อเตรียมขันหลวงขันครูแล้ว จะทำการลงตะกุรด ผู้ที่ลงตะกรุดจะต้องสมาทานศีลก่อน ส่วนใหญ่ผู้ที่จัดสร้างมักเป็นพระ เวลาลงจะลงตะกรุดในอุโบสถ วิธีการลงอักขระจะต้องกลั้นใจลงเสกเรียกอักขระ เวลาขีดเส้นชักกระดูกยันต์กันแต่ละครั้งก็ต้องกลั้นหายใจกันแต่ละตัว เมื่อเขียนยันต์เสร็จแล้ว1แผ่น ต้องมีการเรียกยันต์เข้าโขลง ทำแบบนี้จนครบ12ลูก(ถ้าลงเป็นแผ่นจนครบ12ผ่น) หลังจากนั้นต้องเรียกสูตรม้วนยันต์แต่ละแผ่นเรียกว่า ภาวนาบท "นารายณ์พลิกแผ่นดิน" หรือล้านนาเรียก " มหาปิ๊ดสนูหลวง" โดยต้องม้วนตะกรุดออกไปข้างหน้า ตามคติโบราณว่า " ทำให้สิ่งที่ไม่ดี ที่จะเข้ามาหาตัวเรานั้นกลับออกไป เมื่อได้ตะกรุดแล้วหากทำเชือกห้อยตะกรุดต้องเรียกสูตร โดยการภาวนาบท "นาคบ้วงบาศ" แล้วถักลาย หอรมาน(หนุมาน)ตัวผู้ จนถักไปเป็นปล้องจนครบ สุดท้ายตรงปลายเชือกทั้งสองข้างปิดด้วยการขอดปม 5 ข้อ แทน " นะโมพุทธายะ" จากนั้นนำมาปลุกเสกเรียกมนต์พระมหาปลุกหลวงเป็นเสร็จพิธี การปลุกเสกแล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์ที่สร้างจะเสกนานแค่ไหน เวลานำไปใช้ต้องมีวิธีการคล้องและดูวันด้วย
ทีนี้มาดูยันต์ที่จะลง ยันต์มหาไชยะสงครามหลวง ก็จะมีระดับของคนที่จะนำไปใช้
หากลงตะกรุดด้วยยันต์8ลูกจะเป็นตะกรุดของทหารที่เป็นไพร่เป็นทาสใช้คุ้มครองได้เฉพาะตัวเอง
หากลงตะกรุดด้วยยันต์12ลูกจะเป็นตะกรุดระดับของแม่ทัพนายกองที่สามารถคุ้มครองทหารได้ทั้งกองทัพและคุณวิเศษสามารถใช้ได้ทุกๆด้านเพราะคนที่เป็นแม่ทัพนายกอง เวลาออกรบต้องใช้คุณวิเศษทางเมตตาต่อลูกน้องให้เคารพรัก ย่ำเกรง เชื่อฟัง เดินทางรอนแรมมีภูผีปีศาจใช้กันได้ ถูกคุณไสยมนต์ดำ กันลมเพลมพัดสามารถกันได้ เมื่อมีการเจ็บป่วยสามารถทำน้ำมนต์ได้ เมื่อออกรบจะแคล้วคลาดคงกะพัน หนุนดวงชะตาฯลฯ ตะกรุด12มหาไชยสงครามหลวง จะไปเกี่ยวข้องกับอีกอย่างหนึ่งคือ ดวงราศีทั้ง12ราศี หรือทั้ง12เดือน จะเห็นว่าทำไมตะกรุด12มหาไชยฯเวลาสร้างถึงต้องดูดวงเมืองและดวงผู้สร้างทั้ง12เดือน(1ปี) เพราะยันต์นี้ต้องไปผูกกับดวงราศีหรือดวงปีไว้
หากลงด้วยยันต์20ลูกจะเป็นตะกรุดคู่กายสำหรับเชื้อพระวงศ์หรือกษัตริย์
ดังนั้นยันต์มหาไชยะสงครามหลวงจะมีระดับการใช้ต่างกัน แต่ที่ครูบาต่างๆนำมาลงจะใช้ยันต์มหาไชยสงครามหลวงแบบ12ลูก ก็น่าจะมาจากว่าในยุคนี้สมัยนี้พวกไพร่ทาสปัจจุบันจะไม่มี ระดับคนจะอยู่ในระดับเจ้าคนนายคนและสามารถใช้พุทธคุณได้ครบทุกด้าน ส่วนที่แบบ20ลูกนั้นเป็นคู่กายของเชื้อพระวงศ์หรือกษัตริย์นั้น คนทั่วไปบุญบารมีไม่ถึงจึงสร้างให้ไม่ได้ ไม่แน่อาจจะสร้างให้แต่เรายังอาจไม่เห็น แต่ที่เห็นยันต์แบบ20ลูกจะปรากฏบนเสื้อยันต์มากกว่าแต่เจอไม่กี่ตัว น่าเชื่อว่าคงสร้างให้คนที่อย่างน้อยมีเชื้อเจ้านายของน่านสมัยก่อน เมื่อครูบาสมนำยันต์มหาไชยะสงครามหลวงมาสร้างเป็นตะกรุด โดยเลือกยันต์แบบ12ลูก จึงมาเรียกว่าตะกรุด12มหาไชยะสงครามหลวง เวลาใช้ตะกรุดชนิดนี้ก็ต้องมีวิธีการใช้การคล้องอีกว่าจะใช้ยังงั้ย ถือวันถือฤกษ์แบบไหนอีก
จากประสบการณ์ผู้ที่นำตะกรุด12มหาไชยะสงครามหลวงไปใช้ อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าตะกรุดชนิดนี้เป็นตะกรุดระดับแม่ทัพนายกองเอาไว้ติดตัวไปรบดังนั้นเวลาเอาใช้จะรู้สึกว่า ใจร้อน มุทะลุ ห้าวหาญ ไม่กลัวใคร (คุณลักษณะของแม่ทัพที่จะออกรบ) ดังนั้นคนที่นำไปใช้ให้มีสติ ให้ตั้งสติอยู่เสมอ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าตัวเองกำลังทำอะไร
|