ก่อนอื่นเรามาพูดถึงตะกรุดครูบาดอนตันที่เป็นตะกรุดโทนดอกเล็กๆก่อน ตะกรุดโทนครูบาดอนตันที่มีความยาวไม่กี่นิ้วนั้น หลายๆคนไปเข้าใจว่าจะเป็นตะกรุดหัวใจลิงลมหมด ความจริงแล้วไม่ใช่เลย จากที่ร้านเกิดความสงสัยและมีโอกาสได้ศึกษา ช่วงเมื่อ10ปีที่แล้ว ในยุคนั้นตะกรุดครูบาดอนตันที่อยู่ตามหมู่บ้านดอนตัน สวนใหญ่ชาวบ้านจะไม่ค่อยหวงเพราะตอนนั้นตะกรุดท่านยังไม่มีราคามากนัก จะหวงเหรียญรุ่นแรกมากกว่า แล้วแต่ละบ้านมีตะกรุดจำนวนหลายๆเส้น สามารถแบ่งให้เช่าได้ จึงได้มาไม่ยาก ในยุคนั้นทางร้านได้ตะกรุดครูบาดอนตันในพื้นที่จริงๆจำนวนเยอะมาก แล้วเหมามาในราคาไม่แพงจึงสามารถนำมาแกะดูตะกรุดได้โดยไม่เสียดาย และดูว่าท่านลงยันต์อะไรไว้บ้าง วันนี้มาพูดเฉพาะตะกรุดโทนดอกเล็กก่อน แต่ก่อนตะกรุดโทนดอกเล็กทางร้านก็เข้าใจเหมือนกับคนอื่นๆว่า ตะกรุดโทนดอกเล็กๆเป็นตะกรุดหัวใจลิงลมเท่านั้น เมื่อทางร้านได้แกะตะกรุดดูแล้ว ตะกรุดดอกเล็กๆของท่านนั้นลงยันต์ไว้หลายอย่าง แต่ที่ลงยันต์ไว้เหมือนๆกันหลายดอก หรือจะเรียกว่าทำออกมาบ่อยๆที่เห็นจะมีอยู่ดังนี้ ตะกรุดหัวใจพระนารายณ์อันนี้ลงบ่อยมาก(ลงเป็นตัวเลขล้านนา ตะกรุดชนิดนี้ไม่ธรรมดา วันนี้ไม่ขออธิบาย) ตะกรุดพระนารายณ์(ลงเป็นรูป) ตะกรุดหัวใจลิงลม ตะกรุดที่ไม่มีชื่อแต่เรียกตามคาถา มะยาเต... อันนี้ลงบ่อย ตะกรุดแต่ละชนิดที่บอกไปนี้ ตารางยันต์ก็จะไม่เหมือนกัน เวลาดูจากตารางยันต์พอจะรู้ได้ว่ายันต์ชนิดไหน เพราะสายครูบาดอนตันท่านจารยันต์หนักมักเห็นตารางยันต์หรืออักขระทะลุอีกด้าน เวลาดูโดยไม่ต้องคลี่ และอีกอย่างคือเชือกของตะกรุดชนิดนั้นๆ ชนิดตะกรุดที่กล่าวไปนั้น ตะกรุดบางชนิดบังคับด้วยเชือหสีแดงเท่านั้น บางชนิดบังคับเชือกขาวเท่านั้น บางชนิดก็ไม่กล่าวถึง รวมถึงดูความยาวตะกรุดแต่ละชนิด ดังนั้นทุกอย่างๆที่กล่าวมานี้ เวลาดูท่านต้องเคยเห็นยันต์หรือตะกรุดครูบาดอนตัน ต้องสังเกตตะกรุดแต่ละชนิดว่าเชือกที่บังคับนั้นเป็นเชือกสีอะไร ตารางยันต์ที่ลงเวลาม้วนตะกรุดแล้ว อีกด้านเราจะดูยังงั้ย ดังนั้นมันเป็นเรื่องยากพอสมควรกับตะกรุดดอกเล็กๆของครูบาดอนตัน ครับ
ภาพแรกเป็นตะกรุดหัวใจลิงลม ตะกรุดชุดนี้นั้นเป็นตะกรุดยุคแรกๆของท่านโดยเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตะกรุดท่านคือ เชือกที่ทำนั้นยุคแรกๆจะเป็นการฟั้นเชือกโดยด้ายสีขาวและการขมวดปมเชือกของตะกรุดท่านนั้นต้องขมวด3ปม ใช้เชือกเส้นเดียวแล้วนำมาทบเป็นเส้นคู่กันโดยปลายเชือกที่ทบนั้นท่านจะไม่ตัด หรือบางทีท่านก็ทำเป้นเชือกเส้นเดียวบ้างแต่จะพบเห็นน้อยและได้ในพื้นที่ ถ้าได้ตามตำราอย่างนี้ของครูบาดอนตันอย่างแน่นอน
ภาพที่สองหลายคนเห็นตะกรุดแบบนี้คงเรียกว่าตะกรุดหัวใจลิงลมแน่นอน แต่ไม่ใช่นะครับ เป็นตะกรุดยันต์มหาอักขระ หรือบางตำราเรียกว่ายันต์33อักขระหรือตะกรุด33ลูก ซึ่งยันต์ชนิดนี้เมื่อตีตารางแล้วจะมีอยู่32ช่องและอีก1วงกลมตรงกลางเป็น33ช่อง ซึ้งอักขระที่ลงใน33ช่องนั้น ที่ลงไว้ซึ่งแต่ละดอกนั้นจะมีพุทธคุณดังนี้ ใช้ครอบจกวาล,ผูกมนต์เฝ้าสมบัติ,ข่ามคง,แคล้วคลาด,เมตตา ,ยันต์ร้อน(ทำคุณไสย) , แก้คุณไสย , ไล่ผี ,ยารักษา(แก้ยาสั่ง) ฯ ส่วนอักขระตัวไหนใช้ในทางไหนผมไม่ลงรายละเอียดลึกกว่านี้ ฯลฯ ตัวอักขระจะลงเหมือนกันแต่ต่ำแหน่งจะเปลี่ยนไปตามพุทธคุณของยันต์ที่ลง และตัวสุดท้ายคือตัวที่33 นั้นจะเป็นตัวบ่งบอกถึงยันต์ที่ลงนี้ว่าใช้ในทางใดครับ
ตำราของครูบาดอนตันท่านได้เขียนไว้ในปั๊บสา แต่ตามหาตะกรุดที่ท่านลงไว้เสียนานๆๆ ที่แท้ก็ถึงบางอ้อ ขนาดตะกรุดยาวประมาณ2นิ้วครับเล็กกะทัดใส่หลอดแล้วแหนบที่กระเป่าเสื้อพกพาง่าย เพราะท่านไม่ได้ทำเชือกยาวๆๆๆไว้ห้อยคอหรือคาดเอวนะครับ ถือว่าเป็นตะกรุดมาตราฐานของท่านอีกชุดหนึ่งที่มีเอกลักษณ์และมีการสร้างไว้อยู่จริง
ต้องขอบคุณครูท๊อปที่ช่วยเปิดตำราครั้งนี้ให้ครับ
|