ก่อนที่จะมาพูดเรื่องตะกรุดโทนธงชัยครูบาดอนตันนั้น มาคุยเรื่องผ้ายันต์เขียนมือครูบาดอนตันสักเล็กน้อย เพราะไปเจอผ้ายันต์เขียนมือครูบาดอนตันที่ทำเก๊ขึ้นมาล่าสุดและทำได้ค่อนข้างเนียบเนียนมากๆ อย่างที่ผมได้อธิบายหลักการดูผ้ายันต์เก่าๆและผ้ายันต์เขียนมือครูบาดอนตันไปหลายๆรอบ เดี๋ยวขึ้นผุ้ที่ทำผ้ายันต์เก๊ขึ้นมานั้น ผมเชื่อแน่ว่าคนที่ทำเก๊มานั้นคงมาอ่านวิธีการดูผ้ายันต์ที่ทางร้านได้อธิบายไป แล้วนำไปแก้ไขให้ผ้ายันต์เขียนมือครูบาดอนตันให้เหมือนของจริงมากขึ้น โดยเมื่อสามสี่วันที่ผ่านมาได้มีโอกาสเห็นผ้ายันต์เขียนมือครูบาดอนตันสองผืน เมื่อพิจารณาดูแล้วความเก่าของผ้ายันต์นั้นถึงยุคสามสี่สิบปีและยันต์ที่ลงนั้นเป็นยันต์ที่ครูบาดอนตันมักเขียนลงผ้ายันต์ต่างๆ แต่ถ้าไม่สังเกตดูดีๆผ้ายันต์สองผืนนี้ หลายคนที่เห็นคงจะบอกว่าเป็นของแท้แน่นอน เพราะคนที่ทำเก๊นั้นทำได้เนียบเนียนมากๆโดยที่ผมบอกไว้ว่าผ้ายันต์ครูบาดอนตันผ่านกาลเวลามาสามสี่สิบปี ผ้าต้องเก่าและมีร่องรอยความเปลื้อนของผ้า ผ้ายันต์ที่ทำเก๊ขึ้นมาแต่ก่อนนั้นใช้ผ้ายุคปัจจุบันและทำให้เก่าเลยทำได้ออกมาไม่เนียบเนียน แต่ปัจจุบันพวกที่ทำเก๊ได้ไปแก้จงจุดนี้คือ ไปหาผ้าเก่าๆสมัยก่อนที่รอยเปลื้อนรอยชำรุดนำมาเขียนยันต์ครูบาดอนตัน ถ้าเราพิจารณาแล้วจะเห็นผ้าเก่าและยันต์ก็ใช่ที่ครูบาดอนตันท่านมักลงไว้ แต่ถ้าท่านเอากล้องส่องลงไปแล้วจะเห็นผ้ายันต์นั้นขัดกับหลักเป็นจริงและเหตุเป็นผล เพราะสมัยก่อนผ้ายันต์นั้นถูกเขียนขึ้นมาแล้วนำไปใช้หรือเก็บรักษา เมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปีคราบความเก่าหรือรอยเปลื้อนต่างๆจะถูกบนหมึกที่เขียน อักขระบางตัวจะเลือนหรือว่าถูกรอยเปลื้อนทับอักขระไว้ แต่ผ้ายันต์ที่ทำเก๊ขึ้นมาโดยไปหาผ้าเก่าๆนั้น อักขระนั้นจะอยู่บนคราบรอยเปลื่อน เมื่อมองดูอักขระทุกตัวจะเห็นชัดเจน ถ้าพูดง่ายๆเข้าใจง่ายๆคือผ้ายันต์แท้ๆเขียนก่อนเปลื้อน แต่ของเก๊เปลื้อนก่อนเขียนเลยทำให้ขัดหลักทางวิทยาศาสตร์หรือความเป็นเหตุเป็นผล ผมมักบอกเสมอว่าพระเก๊แท้ให้ใช้หลักวิทยาศาสตร์และความเป็นเหตุเป็นผล ส่วนพุทธคุณนั้นเป็นความศัทธาของแต่ละคน ทางร้านอธิบายแค่นี้คงพอเข้าใจกัน
คราวนี้มาพูดตะกรุดโทนธงชัยกันบ้าง ตามที่ทางร้านเคยได้อธิบายลำดับการใช้แผ่นโลหะการสร้างตะกรุดของครูบาดอนตันไปแล้วว่ามีลำดับการสร้างอย่างไรและมีความสัมพันธ์กับเชือกคาดตะกรุดอย่างไร วันที่ได้มาคือตะกรุดโทนธงชัย ยาว4.5นิ้ว ตะกรุดดอกนี้ถูกเก็บรักษาแบบวิธีชาวบ้านโดยใช้ปลอกสายยางสวมทับตะกรุดไว้ ตะกรุดดอกนี้พอดีมีคราบสนิมเขียวที่เกิดจากความชื้นเข้าไปข้างในตะกรุดทำให้พิจารณายากว่าลงยันต์อะไรไว้ ทางร้านจึงผ่าสายยางออกแล้วเช็ดเอาคราบสนิมเขียวออกเลยทำให้ดูเหมือนว่าแผ่นตะกรุดเหมือนใหม่ แต่เพื่อให้ดูยันต์ง่ายขึ้น เมื่อพิจารณาแล้วดอกนี้ท่านลงด้วยยันต์ธงชัยเพราะท่านจารหนักเห็นอักขระภายนอกชัดเจน แต่ดอกนี้แผ่นโลหะทำมาจากแผ่นทองเหลืองและเชือกคาดเอวเป็นด้ายแดงย้อมแบบโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นยุคปลายชีวิตครูบาดอนตัน ดอกนี้ทางร้านได้นำไปเปรียบเทียบตะกรุดธงชัยอีกดอกที่ทางร้านเก็บไว้(ดูรูปที่สอง) เห็นจะว่าความยาวของตะกรุดสองดอกนี้จะยาวเท่ากันและสเกลของยันต์นั้นเท่ากันทุกประการ หากไม่รับปากท่านที่อยากได้ตะกรุดธงชัยไว้ ดอกนี้ไม่ขายแน่นอนเพราะนานๆจะเจอสักดอก ผ้ายันต์ธงชัยท่านคงเห็นกันบ่อยๆแล้วตะกรุดธงชัยท่านว่ามีสักกี่ดอกที่เคยผ่านตาครับ |