ตะกรุดยันต์นาคคอคำฯลฯตามที่ทางร้านเคยบอกไว้ เรียกได้หลายๆชื่อ ที่ท่าวังผายันต์นาคคอคำนั้นที่ใช้ยันต์นี้ลงตะกรุดก็คือครูบาบุญรอด วัดปิตุราษฎร์ ส่วนครูบาก๋งนั้นมีตำราไว้เหมือนกันแต่ยังไม่เคยเห็นครูบาก๋งใช้ลงตะกรุดหรือผ้ายันต์แต่เมื่อปีที่ผ่านมาที่วัดบ้านก๋งได้นำยันต์ชนิดนี้มาพิมพ์ลงกระดาษโปรเตอร์ขนาดใหญ่แจกเนื่องในงานวันเกิดพระครูนิกรฯ เจ้าอาวาสวัดบ้านก๋งองค์ปัจจุบัน ส่วนของครูบาดอนตันนั้นในตำราของท่านก็มียันต์ชนิดนี้ปรากฏในปั๊บสาของท่านแต่ทางร้านยังไม่เคยเจอว่าท่านลงตะกรุดหรือผ้ายันต์ จนมาวันนี้ถึงได้ไปเจอตะกรุดของพี่น้องบ้านดอนตัน เป็นตะกรุดโทนยาว4นิ้วเจ้าของใช้หลอดสายยางหุ้มตะกรุดไว้ เป็นการรักษาตะกรุดแบบดั้งเดิมเพราะสมัยก่อนจะไม่มีหลอดพลาสติกสำหรับใส่ตะกรุด เรามักจะเห็นตะกรุดถูกรักษาด้วยการใช้สายยางทำปลอกไว้ เมื่อเอาปลอกสายยางออกจะเห็นยันต์ชัดเจนเป็นยันต์นาคคอคำ เชือกที่ใช้คาดตะกรุดนั้นเป็นเชือกด้ายแดงย้อมแบบโบราณ ซึ่งเชือกนี้กับแผ่นทองแดงเป็นคนละยุคกับตะกรุดนาคคอคำครูบาบุญรอด และที่ไปที่มานั้นก็ได้ในหมู่บ้านดอนตันด้วย ในตำรายันต์กล่าววิธีการใช้ว่า
1.เวลาไปรบหมุนไปทางขวาร้องด่าข้าศึกสามทีก็จะชนะ
2.หมุนไปทางซ้ายสามรอบแล้วไว้ด้านหลังไม่มีใครที่จะตามเราทันได้
3. หมุนไปทางขวาสามรอบแล้วเอามาไว้ด้านหลังร้องด่าผีสามครั้งผีอยู่มิได้แล
4.หมุนขวาสามรอบแล้วเอาไว้เอวด้านขวาเข้าหาเจ้านายเป็นที่รักนักแล
5. ถ้าไปหาหญิงสาวให้เป็นที่รักให้หมุนขวาสามรอบ
6.หากข้ามลำน้ำหมุนขวาสามรอบแล้วเอาไว้บนหัว ผีที่อยู่ในน้ำทำอันตรายเรามิได้แล
7.หากมีตะกรุดนี้ไว้ช้างม้าวัวควาย บริวารทั้งหลายก็ดี แก้วแหวนเงินทองมีมาไม่ขาดสาย มีความสุขความเจริญแก่ผู้เป็นเจ้าของ
8.หากเข้าป่ามีต้นไม้ใหญ่มีผีอยู่ให้หมุนขวาสามรอบแล้วร้องด่าผีสามทีผีอยู่มิได้แลตะกรุด
9.หากเข้าไปหาคนร้ายให้หมุนขวาสามรอบผู้นั้นก็จะรักตัวเรา
ตำรายันต์นาคคอคำนั้นน่าจะมาจากครูบาปัญญาวัดนาไฮหรือนาอุดมเพราะในอดีตนั้นครูบาดอนตันและครูบารอดเคยได้ไปศึกษาตำรายันต์กับครูบาปัญญาวัดนาไฮหรือนาอุดม ตำรายันต์นาคคอคำจึงพบเห็นครูบาดอนตันและครูบารอดนำมาจารลงตะกรุดเหมือนกันครับ
|