พระยอดขุนพลเวียงกาหลง พิมพ์นก - ปลา สีขาวหายากสุดครับ องค์นี้สวยสมบูรณ์มีคราบกรุ คราบรักเดิมติดอยู่ยังคงความเป็นธรรมชาติสุดคลาสสิค พระยอดขุนพลเวียงกาหลง จากหลักฐานที่บันทึกไว้มี 14 พิมพ์จัดเป็นพระยอดนิยมในตระกูลพระยอดขุนพลลานนา พบที่เมืองเก่าเวียงกาหลง ในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ในเขตพื้นที่บ้านสันมะเค็ด บ้านป่าส้าน บ้านทุ่งม่าน ต.เวียงกาหลง และบริเวณลำน้ำลาวคลอบคลุมพื้นที่กว่า 15 ตารางกิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ ห้วยป่าหยุ่มบ้านทุ่งม่าน น้ำแม่เหว ห้วยปงอ้อ ห้วยลึก ห้วยทราย แม่แจ้ว สบแจ้ว เรื่อยไปจนถึงทุ่งหีด ทุ่งพร้าว เหล่ายาว ห้วยหินฝน ทุ่งฮั้ว ไผ่เหนือ นอกจากนี้ยังยังพบที่เมืองบริวารต่างๆอีกได้แก่ ดงเวียง(ต.เวียง) เวียงมน(บ้านเฟยไฮ ต.บ้านโป่ง ที่ตั้งอำเภอเวียงป่าเป้าแห่งแรก ในปลายยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง) เวียงฮ่อ(ต.ป่างิ้ว) เวียงสันมะนะ เวียงป่าบงหลวง เวียงน้อย(เขตแม่ขะจานฝั่งตะวันตก) จากการสำรวจพบว่าเวียงป่าเป้าในปัจจุบันพบซากโบราณสถานที่เป็นวัดร้างถึง 50 แห่ง เป็นข้อสันนิฐานหนึ่งว่าพระยอดขุนพลเวียงกาหลง พิมพ์เดียวกันต่างกรุที่พบอาจมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย เช่นหน้าตา เส้นสังฆาฏิ ก้านโพธิ์ นก-ปลา สันนิฐานว่าเป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน แต่อ่อนปีกว่าถูกสร้างเพิ่มเติมโดยการถอดพิมพ์และแต่งแม่พิมพ์ใหม่ ใหญ่ เล็ก สาเหตุพระยอดขุนพลที่ได้มานั้นไม่เพียงพอที่จะบรรจุในเจดีย์พระธาตุ หรือมีเจดีย์พระธาตุสร้างใหม่ จำนวนการสร้างจะมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง กรุเวียงกาหลง เนื้อดินจะเป็นสีขาวนวล หรือขาวอมเหลือง คราบกรุจะมีสีเทาเข็ม หรือคราบกรุจะแตกต่างกันออกไปตามธรรมชาติบริเวณที่พบ ไม่เป็นข้อยุติ พิมพ์นี้ลักษณะพิมพ์ทรงระฆังครอบ ฐานผายกว้างออกทั้งสองข้าง ผนังเป็นปรกโพธิ์หรือซุ้มโพธิ์ ใต้ซุ้มโพธิ์มีนกบินอยู่สองข้าง ที่ฐานมีปลาว่ายอยู่สองข้างเช่นกัน เรียก "พระยอดขุนพล พิมพ์นก-ปลา" พระยอดขุนพลพิมพ์นี้แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองในยุคนั้น องค์เดียวพุทธคุณครบทุกด้านตามแบบฉบับ พระยอดขุนพลเวียงกาหลง ฉากหลังร่มโพธิ์ หมายถึง ความร่มเย็นเป็นสุข นกกา 2 ตัวข้างองค์พระ หมายถึง เมตตามหานิยม ปลา 2 ตัวใต้ฐาน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ เงินทองโภคทรัพย์ พระประธานยอดขุนพล หมายถึงผู้นำ อำนาจ บารมี ยศฐาบรรดาศักดิ์เจริญในหน้าที่การงาน และแคล้วคลาดปลอดภัย ได้รับเกียรติลงรูปในหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2553 ในการจัด 10อันดับพระกรุล้านนายอดนิยม พ.ศ2552 และหนังสือ spirit ฉบับที่ 51 เดือนกุมภาพันธุ์ 2553 ( ผู้ที่เอาข้อความของทางร้านไปเผยแพร่ต่อกรุณาขออนุญาต เพื่อให้เครดิตผู้ศึกษาค้นคว้าด้านพุทธศิลป์และประวัติศาสตร์ด้วย ขอบคุณครับ)
|