วันนี้ขอพูดถึงลำดับการสร้างตะกรุดครูบาดอนตันสักเล็กน้อยเพราะหลายๆคนถามมาและสงสัยว่าจริงๆแล้วเนี่ย ตะกรุดครูบาดอนตันที่ท่านสร้างออกมาสามารถพอที่จะดูได้คร่าวๆว่าชนิดของวัสดุประเภทไหนที่สร้างออกมาก่อนมาหลัง จากประสบการณ์ที่พอจะมองออกในการใช้วัสดุการสร้างตะกรุดพอจะอนุมานได้ดังนี้
1.ตะกรุดยุคแรกๆที่ท่านสร้างหากเป็นโลหะนั้นตะกรุดที่ทำจากตะกั่วจะเป็นตะกรุดยุคแรกๆของท่านเพราะหากย้อนไปสมัยก่อนที่ท่าวังผาความเจริญไม่ต้องพูดถึงการที่จะหาวัสดุพวกแผ่นทองแดงนั้นถือเป็นเรื่องยาก วิธีที่ครูบาแต่ก่อนนั้นทำคือนำตะกั่วที่ถ่วงตาข่ายดักตามาทำเป็นตะกรุด เพราะสมัยก่อนแม่น้ำน่านมักอุดมด้วยปลาต่าง ในฤดูน้ำหลากชาวบ้านก็จะใช้ตาข่ายดักปลาในการล่องไปตามลำนำน่านเพื่อดักปลาสวาย ปลาแค๋ ปลาเพลี้ย ฯลฯ แต่ตาข่ายที่ดักปลานนั้นต้องถ่วงด้วยตะกั่วเพื่อให้มีน้ำหนักมากๆ เวลานำไปใช้ดักปลาตีนตาข่ายจะได้ไม่ล่อยน้ำเพราะน้ำน่านฤดูน้ำหลากจะไหลเชี่ยว ตะกั่วพวกนี้จึงมีขายตามร้านค้าในสมัยก่อน ซึ่งจะหาง่ายกว่าแผ่นทองแดงมาก ดังนั้นจึงได้นำแผ่นตะกั่วมาทำเป็นตะกรุด แต่ข้อเสียของตะกรุดที่ทำจากตะกั่วคือมีน้ำหนักมาก ยิ่งหากมีจำนวนตะกรุดมากดอกเท่าใดน้ำหนักจะยิ่งมากขึ้น และตะกั่วนั้นอ่อนนิ่มเวลานำไปใช้มักเกิดปัญหาคือหักงอง่าย และหากยันต์ที่ลงนั้นมีอักขระค่อนข้างมาก แต่แผ่นตะกั่วนั้นเป็นแผ่นที่มีความกว้างแค่นิ้วสองนิ้วทำให้ไม่สามารถนำมาจารได้ หากจะนำมาจารต้องนำไปทุบให้แผ่นตะกั่วขยายเป็นแผ่นใหญ่(เคยเจอตะกุรดโทนดอกยาวแบบทุบของครูบาดอนตัน) จึงทำให้ระยะหลังๆไม่ค่อยนิยมนำตะกั่วมาทำเป็นตะกรุด(และยังมีแผ่นสังกะสีที่นำมาทำเป็นตะกรุดแต่เนื่องจากเวลาม้วนจะลำบากมากจึงหมดความนิยม) และที่สำคัญตะกรุดที่ทำออกมานั้นไม่ใช่เฉพาะครูบาดอนตันเท่านั้น ครูบาท่านอื่นๆก็ได้ทำแบบใช้ตะกั่วออกมาเหมือนกัน ทำให้การแยกออกแต่ละครูบานั้นเป็นเรื่องยาก จะแยกจากการดูยันต์ก็ไม่ได้เพราะแผ่นตะกั่วจะหนาไม่สามารถมองดูยันต์แบบทองแดงบางได้ ทางร้านจึงไม่แนะนำให้ไปเช่าหา นอกจากว่าได้จากพี่น้องบ้านดอนตันจริงๆเท่านั้น ถ้านอกเหนือจากนั้นอย่าเด็ดขาด และที่สำคัญตะกรุดที่ทำจากตะกั่วเป็นยุคต้นก็เพราะว่าท่านสังเกตว่าเชือกที่ใช้ร้อยตะกรุดจะเป็นเชือกฝ้ายขาวทั้งนั้น ไม่เคยเจอที่เป็นเชือกสีแดงแบบโรงงานหรือแบบย้อมชาวบ้าน เพราะแผ่นตะกั่วที่นำมาทำและเชือกสีแดงนั้นนำมาใช้ทำตะกรุดเป็นคนละยุคกัน ถ้าถามว่าประมาณช่วงพ.ศ.ไหนนั้น ให้ทางร้านวิเคราะห์ดูนั้น ก็คงน่าจะยุคช่วงปีก่อน2500
2.ยุคต่อมาก็น่าจะเป็นแผ่นทองแดงแบบหนาเพราะแผ่นทองแดงแบบหนานี้เริ่มมีขายในพื้นที่ ตะกรุดที่ทำจากทองแดงหนาๆนั้นจะเป็นยุคต่อจากตะกั่วเนื่องจากว่าท่านสังเกตเชือกที่ทำตะกรุดส่วนใหญ่ยังใช้เชือกฝ้ายขาวที่ใช้ทำเชือกตะกรุด และบางทีก็เห็นเป็นเชือกแดงย้อมของชาวบ้านอยู่บ้างแต่ไม่ค่อยมาก ส่วนพ.ศ.นั้นน่าจะช่วงต้นๆปี2500
3.ยุคต่อมาก็น่าจะเป็นทองแดงแบบบางเพราะแผ่นทองแดงหนานั้นการนำไปใช้จารตะกรุดค่อนข้างม้วนและตัดยากมาก ต้องใช้ฆ้อนทุบตะกรุดให้ม้วนได้1รอบจากนั้นนำแผ่นไม้ที่หนักๆมากลิ้งทับถึงจะสามารถม้วนแผ่นตะกรุดชนิดนี้ได้ ความนิยมที่ใช้ทองแดงแบบหนาจึงค่อยๆหมดไปบวกกับมีแผ่นทองแดงแบบบางเริ่มเข้ามา และแผ่นทองแดงแบบบางนั้นนำมาตัดและม้วนค่อนข้างง่ายกว่า จะสังเกตว่าตะกรุดที่เป็นแผ่นทองแดงแบบบางนั้นเชือกที่ร้อยตะกรุดจะเป็นเชือกฝ้ายขาว เชือกฝ้ายแดงย้อมแบบชาวบ้านและเชือกแดงแบบโรงงาน(เชือกสำเร็จรูป) ส่วนตะกรุดชนิดนี้นั้นข้อดีคือสามารถมองเห็นยันต์ได้เพราะเวลาครูบาดอนตันท่านจารจะลงเหล็กจารหนักและแผ่นทองแดงก็บางเลยพอจะเห็นอักขระทะลุออกด้านได้ ส่วนพ.ศ.นั้นเท่าน่าจะอยู่ในช่วงปี2510กว่าๆ
4.ยุดสุดท้ายคือแผ่นทองเหลือง ในสมัยก่อนทางร้านเล่นตะกรุดใหม่ๆมีความเข้าใจว่าตะกรุดที่เป็นแผ่นทองเหลืองนั้นยังไม่เข้ามาในช่วงที่ครูบาดอนตันมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อมีประสบการณ์และเห็นตะกรุดครูบาดอนตันจากชาวบ้านบ่อยๆ เวลาได้มาหลายๆชิ้นมักจะมีตะกรุดที่เป็นแผ่นทองเหลืองปะป่นอยู่บ้างแต่จะมีไม่มาก นานๆถึงจะเจอและสังเกตว่าตะกรุดที่ทำจากแผ่นทองเหลืองนั้นเชือกที่ใช้คาดตะกรุดจะเป็นแบบเชือกแดงแบบโรงงานทั้งหมด ส่วนพ.ศ.นั้นน่าจะสร้างช่วงปี2520กว่าๆ ใกล้ปั้นปลายชีวิตครูบาดอนตันแล้ว
การที่ทางร้านแนะนำช่วงของการสร้างตะกรุดนั้นเกิดจากประสบการณ์ที่ได้เห็นและได้สังเกตของตะกรุดต่างๆ บางยุคอาจเลื่อมล้ำกันบ้าง สาเหตุที่นำมาเขียนเนื่องจากหลายคนสงสัยว่ายุคต้นยุคปลาย เราจะมีวิธีมองภาพออกโดยลองแยกดู ทางร้านก็อาศัยประสบการณ์และความเป็นเหตุและผลอธิบายให้แล้วนะครับ
ภาพที่โชว์นี้คือตะกรุดที่ทำจากแผ่นตะกั่ว ตะกรุดแบบนี้ทางร้านไม่สามารถนำออกมาให้เช่าบูชาได้เนื่องจากการแยกแยะลำบาก ส่วนของทางร้านที่ได้มานั้นคือการเหมาวัคถุมงคลจากชาวบ้านมาแล้วจะมีตะกรุดพวกที่เป็นตะกั่วติดมาด้วย ทางร้านได้แค่อนุรักษ์ไว้ให้ดู ที่ออกให้เช่าจริงๆมีเพียงเส้นเดียวคือเส้นที่มีจำนวนตะกรุด5ดอกเพราะตอนที่ได้มานั้นมีอยู่สองเส้นและทำเหมือนกันทุกประการ นอกนั้นไม่เหมือนกันเลยตัดปัญหาไม่นำออกมาให้เช่า และใครไปเจอที่อื่นๆอย่าเช่าเพราะคิดว่าเป็นของครูบาดอนตัน เพราะตะกรุดที่ทำจากตะกั่วนั้นไม่สามารถแยกแยะของครูบาท่านใดได้เลย ต้องอาศัยที่มาอย่างเดียวเท่านั้น |