ตะกรุดโทนยุคแรกๆสร้างจากอลูมีเนียม บ้างสร้างจากทองเหลือง หรือจากเศษโลหะต่างๆบ้าง สมัยโน้นวัดจนมาก เจ๊กดำเอาเศษหม้อข้าวอลูมีเนียม ,เศษหม้อก๋วยเตี๋ยวที่ซื้อมาจากชาวบ้านมาถวายก็เลยได้ทำเป็นตะกรุดรุ่นแรกของหลวงปู่ทิม ซึ่งทำจากอลูมีเนียมซึ่งเป็นเศษจากหม้อหุ้งข้าวเก่าๆ ,เศษทองเหลืองจากหม้อต้มก๋วยเตี๋ยวหรือวัตถุอื่นใดที่มาม้วนเป็นตะกรุดได้ เรียกกันต่อมาว่า ตะกรุดหม้อทองบ้าง ,ตะกรุดใต้น้ำบ้าง ป้าตุ้ย ป้าแดงสองผู้เฒ่าที่มารับใช้หลวงปู่ทิมอยู่ที่วัดนานแสนนานเล่าให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระยองฟังว่า เคยเห็นหลวงปู่ทิมท่านลงไปม้วนตะกรุดใต้น้ำ ตรงบริเวณหล่มน้ำเย็นหรือวังสามพญา ซึ่งทางจังหวัดระยองใช้เป็นสถานที่ตักน้ำศักดิ์สิทธิ์และครั้งล่าสุดในวันศุกร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จะมีการมาตักน้ำเข้าไปร่วมทำน้ำพุทธมนต์ถวายในหลวง เฉลิมพระชนมายุครบ๘๐พรรษา(๕ ธันวาคม ๒๕๕๐)
ตะกรุดโทนครั้งต่อๆมา ทางวัดละหารไร่ได้ซื้อแผ่นทองเหลืองหรือทองแดง มาตัดเป็น๔ชิ้น ม้วนเป็นตะกรุดออกวางให้บูชาดอกละ ๑๐-๒๐บาท หลังจากปี๒๕๑๗ ที่เททองหล่อพระชุดชินบัญชรไปแล้ว จึงได้ทำตะกรุดเป็นขนาดมาตรฐาน ตอกโค๊ตกันปลอมไว้ด้วย ส่วนใหญ่จะทำเป็นตะกรุดโทนออกให้บูชาดอกละ ๕๐บาท มีราคาแพงกว่าเหรียญเจริญพร และพระขุนแผนพรายกุมาร ที่องค์ละ ๑๐-๒๐บาทเสียอีก (ขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บอิทธิญาโณ)
ตระกรุดโทนดอกนี้ โค๊ตอิ มาตรฐานสากล ขนาด 4 นิ้ว โค๊ตอิ ตอกชัดเจน ผิวสวยมากนับวันยิ่งเห็นน้อยลง ใครมีต่างเก็บไว้บูชา หายาก เลี่่ยมทองพร้อมบูชาอย่างดี พร้อมอาราธนาติดตัว รับประกันแท้ เดิม ตลอดชีพ
|