พระผงสะหลี๋พันต้น ครูบาสม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ตามข้อมูลที่เคยรู้กันมา พระผงสะหลี๋พันต้นเนี้ย เกิดมาในชีวิตครั้งแรกที่ได้ทราบเรื่องการสร้างพระแบบนี้องค์แรกคือ ครูบาเจ้าอินโต อินทวังโส อ.พะเยา จ.เชียงราย (เป็นอำเภอขณะนั้น ยกเป็นจังหวัดเมื่อปี ๒๕๒๐ โดยแรงผลักดันจากท่านอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล แห่งวัดอนาลโยในปัจจุบัน) ผงสะหลี๋พันต้นของครูบาอินโตนั้นเนื้อแบบเดียวกันกับของครูบาสมแต่มีเมล็ดของใบโพธิ์ด้วย แต่ของครูบาสม นั้นไม่มี
การแยกแยะคำในภาษาพูดของภาคเหนือ
ผงสะหลี๋พันต้นนั้นกระผมตั้งแต่เด็กๆเซียนรุ่นเก่าของพะเยาที่เป็นอาจารย์ของผมคือ ลุงซู๊(ช่างกรอบพระคนแรกของพะเยา ฝีมือละเอียดมาก หากในอดีตให้ลุงซู๊กรอบพระแบบพิเศษ คือวางกระจกแล้วแกะลายเหมือนกรอบทองนั้นต้องรอ และฝีมือละเอียดมาก) ร้อยเอกณรงค์(ยศขณะนั้น ตอนนี้ดำรงยศพันตรีประจำจังหวัดพิจิตร) ท่านได้เมตตาบอกเล่าถึงการสร้างผงสะหลี๋พันต้นว่า ต้องหาใบโพธิ์จากต้นสะหลี๋ทั่วทิศ ให้ได้ครบ หนึ่งพันต้น แล้วนำมาตาก ผึ่งให้แห้ง แล้วนำมาบดสร้างพระ จะมีอำนาจ เมตตา มีพลังลึกลับ มีพุทธคุณสูงมาก เพราะต้องใช้ความวิสาหะในการสะสม และหาต้นโพธิ์ที่ถูกต้องตามตำราถึง หนึ่งพันต้น
แต่
ข้อมูลจากคุณเล็ง พร้าว ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันคือพิมพ์สะหลี๋พันต้นของครูบาสม พร้าว นั้นใช้ไม้สะหลี๋ที่พันต้นขึ้นไป (พัน นี่คือ ลักษณะการเลี้อยของไม้ที่ม้วนรอบต้นใหญ่ ค่อยๆม้วนขึ้นไป) ไม่ใช่ จำนวนหนึ่งพันต้นตามที่กระผมเคยได้ยินมาตามตำราของครูบาอินโต พะเยา แต่คุณเล็ง พร้าวก้อให้ข้อมูลเพิ่มว่า แบบนี้คือแบบครูบาอินโตก้อมีเหมือนกัน กระผมก้อโล่งใจ
ในส่วนตัวความคิดเห็นของผม ผมว่า พลังงานหรือพุทธคุณ หรืออิทธิฤทธิ์แฝงในพระแบบเดียวกันแต่มีเคล็ดการสร้างแตกต่างกัน นิ๊ดสสส หนึ่งแบบนี้
ผงครูบาโต คงให้พุทธคุณไปทางเมตตา มหาอำนาจ แคล้วคลาด ค้าขาย แต่
ผงครูบาสม นั้น คงเน้นย้ำอีกไปทางเมตตาที่แรงมากกว่า เพราะเอาเคล็ดการพัน เลื้อยขึ้นไปอย่างนี้ และยิ่งกว่านั้นครูบาสม ท่านยังผสมเกศาท่านลงไปด้วย ซึ่งมีนัยที่ว่าแทนตัวท่านเอง ตอกย้ำลงไปอีก
จึงลงไว้เพื่อพิจารณากัน สืบสานวัฒนธรรมล้านนากันต่อไป
ถ้าเฮาบ่ฮักบ้านเฮา แล้วไผตี่ไหนจะมาฮักเต้าเฮา
*ข้อความนี้สงวนลิขสิทธิ์เป็นเด็ดขาด
*ข้อความนี้สงวนลิขสิทธิ์เป็นเด็ดขาด