พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

เจาะประเด็นยันต์ครูบาชุ่ม โพธิโก


เจาะประเด็นยันต์ครูบาชุ่ม โพธิโก

โชว์ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 เจาะประเด็นยันต์ครูบาชุ่ม โพธิโก
รายละเอียด :
 

   ห่างหายไปนาน หลายครั้งที่เห็นเหรียญครูบาชุ่ม ก็นึกขึ้นได้ว่าเรื่องยันต์หลังเหรียญรุ่นแรกครูบาชุ่ม ยังไม่มีใครเคยเขียนแบบละเอียดสักที เพราะทุกคนรู้จักว่าเป็นเหรียญครูบาชุ่ม เด่นทางด้านคงกระพัน หนังเหนียว เป็นเลิศ.........

       ยันต์ที่อยู่ด้านหลังเหรียญครูบาชุ่มนั้นชื่อว่า ยันต์ อิติปิโส 8 ทิศ หรือ อรหันต์8ทิศ

(คนที่เล่นพระมานานอาจจะพูดว่า รู้แล้ว มาบอกทำไม หากเป็นเช่นนั้นก็ต้องรบกวนใจท่านเพื่อให้อีกหลายคนได้ทราบข้อมูลกัน)

ยันต์นี้เป็นยันต์ที่ครูบาชุ่มท่านผูกเป็นพระยันต์ขึ้นมาเอง โดยอาศัยการนำบทพุทธมนต์ที่ศึกษามาจากธรรมมูลกัจจาย(ในสมัยก่อน ครูบาชุ่มท่านเป็นผู้คงแก่เรียนศึกษาตำราทุกอย่าง และเป็นผู้แตกฉานเรื่องคัมภีย์มูลกัจจาย อย่างเออุท่านหนึ่งเลยทีเดียว)มาตีเป็นตารางยันต์ตามหลักแม่ธาตุหัวใจยันต์ ตรงใจกลางยันต์ถอดมาได้เป็นยันต์ หัวใจพระพุทธคุณ บางตำราท่านกล่าวว่าเป็นยันต์ สิริแปดเหลี่ยม ( หรือ สิริทั้ง 8) เน้น ทางชุ่มเย็นเป็นสุขด้วยสิริทั้ง8ประการ

ล้อมด้วยพระคาถา หัวใจขึด (อุบาทว์ หรือความเชื่อที่เป็นข้อห้ามของชาวล้านนา)  คาถาธรรมโลกะวุฒธิ ซึ่งเป็นต้นบทคาถาที่ใช้สวดการเทศนา  คาถา หัวใจธรรมเกี่ยวกับการเกิดดับแห่งสรรพสิ่ง  และคาถา หัวใจก่าสะท้อน(ท่านเพิ่งนำมาลงในยันต์ด้านหลังเหรียญนี้ครั้งแรก) ถัดขึ้นไป เขียนยันต์ที่ล้านนาที่ชื่อว่า ก๋ะ ย๊ะ ว๊ะ( ยักษ์3ตัว) ใช้สำหรับกันผี ผีกลัว  ถัดไปเป็นคาถา มะ อะ อุ (หัวใจพระรัตนไตร ) ส่วนในยันต์รูปน้ำเต้านั้น ครูบาชุ่มท่านน่าจะคิดเป็นรูปแห่งพระอรหันต์ทั้งแปดทิศ ไว้บูชาสำหรับกันภัย และเพื่อคุณวิเศษต่างของพระอรหันต์เหล่านั้นที่พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงยกย่องว่า เป็น เอตทัคคะในด้านต่างๆเช่น

1.พระอัญญาโกณฑัญญะ ประจำทิศ ตะวันออก เป็นเอตทัคคะในด้าน รัตตัญญู เป็นพระสงฆ์องค์แรกแห่งพระพุทธศาสนา เด่นทางด้านเมตตามหานิยมมีความสำเร็จก่อนผู้ใด

2.พระมหากัสสปะ ประจำทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเอตทัคคะในด้าน ถือธุดงค์วัตรเป็นเอก เด่นทางด้านคุ้มภัย

3.พระสารีบุตร  ประจำทิศ ใต้ เป็นอัครสาวกด้านขวาแห่งพระพุทธเจ้า เอตทัคคะเป็นผู้เลิศทางปัญญา เด่นทางด้านมีสติปัญญาแก้ปัญญา

4.พระอุบาลี ประจำทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ เอตทัคคะด้านพระวินัยเป็นเลิศ เด่นทางด้านมีสิ่งมงคลในชีวิตป็นเลิศ

5.พระอานนท์ ประจำทิศ ตะวันตก เป็นพระอุปัฎฐากของพระสัมามสัมพุทธเจ้าและเป็นพระที่พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ5ประการด้วยกันคือ

          1.มีสติรอบคอบ  2.มีความทรงจำแม่น 3.มีความเพียรดี 4.ผู้เป็นพหูสูตร 5.เป็นยอดพระภิกษุผู้อุปัฎฐากพระพุทธเจ้า

6.พระควัมบดี (พระมหากัจจายนะ)หรือพระสิวลีเถระ ประจำทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเอตทัคคะด้านการมีลาภสักการะเป็นเลิศ

7.พระโมคคัลลานะ ประจำทิศ เหนือ พระอัครสาวกด้านซ้ายแห่งพระพุทธเจ้าเป็นเอตทัคคะเรื่องการมีฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์มาก เด่นเรื่องคุ้มภัย มีตบะเดชะ

8.พระราหุล ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบุตรแห่งองค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธะเจ้า เป็นเอตทัคคะ เรื่องการใฝ่รู้และการศึกษา เด่นทางด้านเจริญรุ่งเรือง

นั่นคือเรื่องของพระอรหันต์ที่เป็นเลิศด้านต่างๆ ที่โบราณคณาจารย์ท่านกำหนดไว้ในเรื่องทิศทั้ง8มาแต่อดีตกาล

    ในส่วนยันต์ของครูบาชุ่มนั้นท่านจะไม่บอกอักษรใดที่แสดงชื่อของพระอรหันต์ทั้ง8 แต่จะใช้ลักษณะรูปยันต์น้ำเต้า(เหมือนพระนั่งทั้ง8ทิศ) ล้อมรอบด้วยตารางยันต์ที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะรูปลักษณะแห่งยันต์ของครูบาชุ่มนี้เป็นเอกลักษณ์ของครูบาชุ่มเอง โดยตรง

     แม้แต่ตัวโค๊ตรูปวงกลมที่ตอกนั้นยังเป็นอักษรย่อของยันต์กันขึด คือ ว๊ะ ม๊ะ ต๊ะ (คาถาเต็มคือ ว๊ะ ม๊ะต๊ะ ก๊ะม๊ะย๊ะ) รวมไปถึงพระเนื้อผงรุ่นแรกครูบาชุ่มที่เขียนเป็นตัวล้านนาที่อ่านว่า “วิวะ อะวะสุสัตตะ วิวะสวาหะ ไม่ใช่คาถาบูชาครูบาชุ่มอย่างที่หนังสือต่างๆพิมพ์กัน นี่คือหัวใจคาถากันภัยนะครับ ชื่อว่า คาถาพระโพธิสัตว์พาแม่ข้ามฝั่ง

ส่วนในด้านพุทธคุณโดยรวมแห่งเหรียญรุ่นแรกครูบาชุ่มนั้น มีครบทุกกระบวนความ ทั้งเรื่องมหาอุตย์ คงกระพัน เมตตา มหานิยมโชคลาภ กันภัย กันผี ก่าสะท้อน ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายคล่องกันขึด แก้อุบาทว์แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาและก็ด้วยบารมีแห่งพระรัตนะไตร  ครูบาศรีวิชัยตลอดจนครูบาอาจารย์ของครูบาชุ่มทุกองค์และบารมีของครูบาชุ่ม รวมถึงการปลุกเสกแห่งพระอริยะเจ้าที่ได้ชื่อว่าเป็นดั่งมือขวาของครูบาเจ้าศรีวิชัย        ประเด็นเรื่องพุทธคณของเหรียญนี้ยังมีหลายท่านเข้าใจว่าเหรียญรุ่นแรกของครูบาชุ่ม เป็นมหาอุตย์ คงกระพันอย่างเดียว ด้วยในยุคสมัยนั้นยังมีเรื่องต่อสู้ เข้ารบสงคราม โจรผู้ร้ายยังชุกชุมอยู่ คนที่เล่ากันส่วนมากจะต้องแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นหลักเกิดเป็นความเชื่อที่ว่า เหรียญของครูชุ่มเด่นเรื่อง มหาอุตย์ คงกระพันแคล้วคลาด  ซึ่งความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่

*นอกจากนี้ยังมีหลายคนเข้าใจเอาเองด้วยเหตุอวิชชาว่าครูบาชุ่มท่านทำตะกรุดกาสะท้อนด้วย ทั้งที่ในความเป็นจริงก่อนท่านสร้างเหรียญรุ่นแรกนี้ท่านได้ทำตะกรุดหนังควายฯ  ซึ่งลงก๋าสะท้อนไว้แล้ว (ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ใน  http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=311446  )

ผู้มีปัญญาย่อมไม่สับสนระหว่างการเชื่อมโยงเหตุผลว่า  เมื่อคราวที่ครูบาชุ่มท่านสร้างตะกรุดหนังฯ  ท่านได้ลงพระคาถาต่างๆไว้ ซึ่งรวมทั้งก๋าสะท้อนด้วย  ต่อมาท่านได้ผูกพระยันต์ขึ้นเองดังที่ลงไว้หลังเหรียญรุ่นแรก ซึ่งมีคุณทางสะท้อนสิ่งไม่ดีด้วย 

กับการเชืมโยงเหตุผลในอีกแบบว่า  ในเมื่อเหรียญรุ่นแรกมียันต์ทาง สะท้อนสิ่งไม่ดีออก  ก่อนหน้านี้ ครูบาท่านก็ต้องทำตะกรุดกาสะท้อน ไว้ด้วยสิ   ( ดูสิ ก็ครั่งเก่าขนาดนี้  ทองแดงเก่าขนาดนี้ จะเป็นตะกรุดอะไรไปได้( ที่จะได้ราคาดี) นอกจากตะกรุดก๋าสะท้อนครูบาชุ่ม ยุคต้น อย่างนี้นี่เอง?????

หนังสือ สารสยามที่ออกมาปี พ.ศ.2517 ที่นำเอาประวัติ ครูบาชุ่ม และวัตถุมงคลมา ยังไม่มียันต์ที่เชื่อว่ากาสะท้อนเลยครับ มีแต่ตะกรุดหนัง ตะกรุดเสื้อยันต์  (ส่วนตะกรุดปรอท ท่านทำในบั้นปลาย หลังสร้างเหรียญรุ่นแรกปี 17 )

( อ่านหนังสือสารสยามได้ที่  http://www.pralanna.com/boardpage.php?topicid=60064

ขอขอบคุณ คุณ nok222 มา  ณ  ที่นีด้วยครับ)

 

สุดท้ายนี้ลองให้ท่านใช้วิจารณญานวิเคราะห์กันเอาเองนะครับ  ดั่งคำพูดของหลวงปู่เทสก์ เทศรังษีว่าไว้ คือ

ศรัทธา(ความเชื่อ) ที่เกินหน้าปัญญา กลายเป็น งมงาย

ปัญญา ที่เกินหน้าสติ กลายเป็น หลงตัวเอง

สมาธิ ที่เกินหน้าปัญญา กลายเป็นเกียจคร้าน

 

ผมเขียนมาถึงตรงนี้ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้นะครับไม่ว่ากันอยู่แล้ว ทั้งนี้ก่อนที่จะเขียนมา ผมก็ได้ศึกษาจากท่านผู้รู้หลายท่าน หลายตำรา และก็นำมาเขียนให้ท่านได้อ่านกันแบบสบายๆ   ใครมีเหรียญครูบาชุ่มแล้วท่านบูชาอยู่..ผมก็ดีใจด้วยนะครับ

                                           ขอบคุณครับ

 

ราคา :
 อ่านกัน
ร้าน :
โทรศัพท์ :
 0965956322, 0965956322
วันที่ :
 18/10/12 22:54:24
 
 
เจาะประเด็นยันต์ครูบาชุ่ม โพธิโก พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.