พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
เครื่องรางล้านนา

ตะกรุดโทนครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย หรือยันต์ผัดหลวง (เชือกเดิม) เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์เดือด สุดยอดประส


ตะกรุดโทนครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย หรือยันต์ผัดหลวง (เชือกเดิม) เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์เดือด สุดยอดประส


ตะกรุดโทนครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย หรือยันต์ผัดหลวง (เชือกเดิม) เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์เดือด สุดยอดประส

ชื่อพระ :
 ตะกรุดโทนครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย หรือยันต์ผัดหลวง (เชือกเดิม) เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์เดือด สุดยอดประส
รายละเอียด :
 

ตะกรุดโทนครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย หรือยันต์ผัดหลวง (เชือกเดิม) เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์เดือด สุดยอดประสบการณ์ พุทธคุณดั่งฝอยท่วมหลังช้าง

ตะกรุดโทน (ยันต์ผัด) ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย จ.ลำพูน
อธิษฐานแล้วนำตะกรุด ผูกหรือคาดเอว เวลาจะเข้าหาผู้ใหญ่ หรือติดต่อราชการ ธุรกิจการงาน ให้อธิษฐานแล้วหมุนตะกรุด ไว้ด้านหน้า
เวลาจะเข้าหาผู้ชาย ให้อธิษฐานแล้วหมุนไว้ด้านขวา เมื่อจะเข้าหาผู้หญิง ให้อธิษฐานแล้วปมุนไว้ด้านซ้าย ถ้าจะกลับให้อธิษฐานแล้วหมุนไว้ด้านหลัง
ย่อมสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ
ตะกรุดนี้ย่อมคุ้มครองรักษา ให้แคล้วคลาดปลอดภัย จากภยันตรายทั้งปวงแล


สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

Clip_109.jpg Clip_110.jpg Clip_111.jpg Clip_112.jpg Clip_113.jpg Clip_128.jpg Clip_129.jpg

หลวงปู่ครูบาสุรินทร์ สุรินฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย
แขวงป่าซาง เมืองลำพูน


พระครูวิมลศรีลาภรณ์ (ครูบาสุรินทร์ สุรินโท) เดิมเมื่อยังเป็นฆราวาสมีชื่อว่าเด็กชายสุจา เสมอใจ เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2441 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือนเกี๋ยงเมือง ปีเส็ด จุลศักราช 1260 ณ บ้านศรีเตี้ย แขวงป่าซาง เมืองลำพูน มณฑลพายัพ บิดาชื่อ พ่อทิพย์ มารดาชื่อ แม่จันตา มีพี่น้องร่วมครรภ์เดียวกัน 7 คน เด็กชายสุจาเป็นคนที่ 5 มีพี่ชาย 3 คน พี่สาว 1 คน และมีน้องสาว 2 คน
เมื่อยังเป็นเด็กชายสุจา ท่านมีสุขภาพสมบูรณ์ และมีความจำเป็นเลิศ ตอนอายุ 7 – 8 ขวบ ได้ออกเลี้ยงควายตามประสาลูกชาวนา ฝูงควายในท้องทุ่งจำนวนมาก ท่านสามารถแยกแยะออกและบอกได้ว่าควายตัวใดมีใครเป็นเจ้าของ และควายตัวใดเป็นลูกของแม่ควายตัวไหนด้วย ข่าวนี้ทราบถึงครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ท่านครูบาคิดเห็นว่า เด็กน้อยสุจานี้เติบโตขึ้นจะเป็นบุรุษที่จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาได้ จึงเรียกหาตัวและชักชวนให้เข้าวัด เป็นเด็กวัดศรีเตี้ยเมื่ออายุได้ 9 ขวบตั้งแต่นั้นมา เด็กชายสุจาได้เล่าเรียนอักขระล้านนา (ตั๋วเมือง) จนสามารถจำและอ่านพระธรรมคัมภีร์ต่างๆ ได้ดี เมื่ออายุครบ 13 ปี ในปี พ.ศ.2453 ก็ได้บรรพชาในสำนักครูบาตุ้ย ญาณวิชโย วัดศรีเตี้ย สามเณรสุจาตั้งใจอุตสาหะพากเพียรท่องจำ และทำความเข้าใจ สามเณรสิกขา เสขิยวัตร และปฏิบัติเคร่งในศีลสามเณร 10 ประการ ทั้งท่องจำสวดมนต์สิบสองตำนานได้ด้วย
ครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย มีความคิดเห็นว่าสามเณรสุจาสนใจในการเล่าเรียน และพากเพียรปฏิบัติศีลธรรมกรรมฐาน จึงส่งเสริมเสริมศิษย์โปรดให้ไปเรียนในสำนักครูบาไชยลังกา วัดศรีชุมผามงัว เมืองลำพูน ซึ่งสามเณรสุจาก็ได้เรียนภาษาสยาม จากครูบาอาจารย์ในสำนักเรียนนี้ และได้ร่ำเรียนมูลกัจจายนะ สัททาสนธิ อันเป็นหลักสูตรภาษาบาลีระบบการศึกษาล้านนาในอดีตด้วย แต่การเรียนภาษาสยาม และบาลีมูลกัจจายนะของสามเณรไม่ก้าวหน้า เพราะท่านสนใจวิชชาวิปัสสนามากกว่า ท่านจึงลาออกจากสำนักครูบาไชยลังกา ไปศึกษาเล่าเรียนวิชชาวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในสำนักครูบากันธา คนธวํโส วัดต้นผึ้ง แขวงป่าซาง เมืองลำพูน
ถึงปี พ.ศ.2462 สามเณรสุจาอายุได้ 21 ปี ครบปีบวชเป็นพระภิกษุ ท่านก็กลับมาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีเตี้ย ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (ตำบลบ้านโฮ่งได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ้านโฮ่ง เมื่อ พ.ศ.2499) ครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย เป็นพระอุปัชฌายะ พระอธิการคำ คมภีโร วัดร้องธาร อำเภอป่าซาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการกันธา คนธวํโส วัดต้นผึ้ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาที่พระอุปัชฌาอาจารย์ตั้งให้ว่า พระภิกษุสุรินทร์ สุรินโท เมื่อบวชอยู่ได้ 5 พรรษา ท่านก็ได้นิสสัยมุตตกะ จึงได้พร้อมกับกัลยาณมิตรขอท่าน ได้แก่ พระปันแก้ว รตนปญโญ (ครูบาปันแก้ว วัดปทุมสราราม) พระพรหมมา พรหมจกโก (ครูบาพรหมจักร วักพระบาทตากผ้า) พระจันโต กาวิชโย (ครูบากาวิชัย วัดวังสะแกง) พระคำ คนธิโย (ครูบากันธิยะ วัดดงหลวง) และพระอุ่นเรือน สิริวิชโย (ครูบาอุ่นเรือน วัดสันเจดีย์ริมปิง) เป็นสหธรรมมิกภิกขุปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ธุดงค -วัตร ออกจาริกไปบำเพ็ญเพียร และอนุสาสน์สั่งสอนหลักการปฏิบัติ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแก่พุทธบริษัทในแขวงต่างๆ ของเมืองลำพูน และหัวเมืองใกล้เคียงเป็นเวลา 3 ปี
ถึงปี พ.ศ.2470 เมื่อครูบาตุ้ย ญาณวิชโย เจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ถึงแก่มรณภาพ ในปีที่พระสุรินทร์ สุรินโท มีอายุได้ 29 ปี 8 พรรษา ท่านก็ทำหน้าที่ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย และได้จัดงานทำบุญถวายเพลิงศพครูบาตุ้ย ญาณวิชโย พระอุปัชฌายะ เสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2474 แล้ว เจ้าคณะเมืองลำพูน กับผู้สำเร็จราชการเมืองลำพูน ได้ออกตราตั้งให้พระสุรินทร์ สุรินโท ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอธิการสุรินทร์ สุรินโท ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ให้มีหน้าที่เจ้าอาวาสตามมาตรา 13 และมีอำนาจปกครองวัดตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 และท่านก็สืบทอดแบบอย่างขนบธรรมเนียมปกครองวัดตามอย่างครูบาตุ้ย ญาณวิชโย ผู้เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านด้วย ตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีเตี้ย ก็สั่งสอนพระภิกษุสามเณร เน้นหนักอบรมทางวิปัสสนาธุระ และสั่งสอนอบรมศรัทธาชาวพุทธของวัด ทางสมถกัมมัฏฐานพอเป็นทางสงบใจ ทั้งเป็นผู้อำนวยการทางคันถธุระแผนกปริยัติธรรมนักธรรมและบาลี ส่วนด้านสาธารณูปการท่านเพียงแต่บูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะสงฆ์ สถานพุทธาวาสที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น เพราะอัธยาศัยของท่าน เป็นพระสมณที่ดำรงตนสมถะเรียบง่าย ฉันน้อย ใช้น้อย แต่ทำประโยชน์ใหญ่
ครูบาสุรินทร์ สุรินทเถระ ได้อุทิศตนบูชาพระพุทธศาสนา โดยมั่นอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์และศรัทธาชาวพุทธให้ดำรงตนในศีลธรรมคำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เป็นศาสนิกชนที่ดีของพระศาสนา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ ท่านเทศนาสั่งสอนปลูกฝังความรักซึ่งกันและกัน ในยามตกทุกข์ได้ยาก เจ็บไข้ได้ป่วย ยามแก่เฒ่าชรา และให้รักกันแม้จะมีใส่ร้ายยุแหย่ให้แตกสามัคคีก็ไม่มีแหนงหน่ายกัน ความรักอันนี้เป็นรากฐานศิลา แห่งเมตตาของมนุษย์ อันภาระพระพุทธศาสนาทั้งสองประการที่ท่านได้กระทำบำเพ็ญมาถึงขีดจรรโลงพระ พุทธศาสนา เป็นผลให้พระพุทธศาสนาตั้งอยู่สืบต่อจิระฐิติกาล ทราบถึงพระคณาธิการฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ระดับแขวง เมือง มณฑล ฉะนั้นในปี พ.ศ.2481 ขณะที่ท่านสุรินทร์อายุได้ 40 ปี 19 พรรษา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสมณศักดิ์ชั้นประทวน (จปร.) นามว่า พระครูสุรินทร์ สุรินโท และพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี เจ้าคณะมลฑลพายัพ ได้นำพัดยศประทวน (จปร.) มามอบให้ท่านท่ามกลางสังฆสันนิบาต ณ พระวิหารหลวงวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ซึ่งพร้อมกับนำ พระมหาสำรี (อมร) (พระสุเมธมังคลาจารย์) มาเป็นพระคณาจารย์ประจำสำนักเรียนเมืองลำพูน กาลเวลาล่วงไปอีก 40 ปี ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จฯพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ 9 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2521 พระครูสุรินทร์ สุรินโท ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาที่ พระครูวิมลศรีลาภรณ์ ในขณะที่ครูบามีอายุได้ 80 ปี 59 พรรษา
พระครูวิมลศรีลาภรณ์ เป็นพระเถระที่มีความเจริญพร้อมด้วยชนมายุ ด้วยคุณธรรม ความรู้ ความสามารถเป็นเถรัตตัญญู ทรงไว้ซึ่งศีลาธุคุณ สมาธิคุณ และวิปัสสนาคุณ รอบรู้แตกฉานในกิจพระศาสนา แบบแผนประเพณี เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร จึงมีกิตติศัพท์ปรากฏไกล เป็นครูฐานิยบุคคลที่พึ่งที่เคารพของอเนกศิษย์ศรัทธาสาธุชนทั่วไป ทั้งในจังหวัดลำพูนและต่างจังหวัดทั่วประเทศ

พระครูวิมลศรีลาภรณ์ได้มรณภาพลงตามสภาพหลักธรรมสังขารอันปรุงแต่งด้วย โรคชราเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2532 เวลา 01.40 น. ณ วัดศรีเตี้ย และได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุฌาปนสถานชั่วคราว สนามสุรินโท วัดศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีนายสว่าง อินทรนาค ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานในพิธี


บนเส้นทางชีวิตของท่านครูบาสุรินทร์ สุรินโท นั้น เป็นบัณฑิตในธรรมย่อมกล่าวได้อย่างไม่เคอะเขินว่า เป็นสายสัมมาอริยมรรค คือมัชฌิมปฏิปทา ไม่หละหลวมหย่อนยาน ไม่เคร่งตึงเครียด และคำอุศาสน์สั่งสอนของครูบามีอรรถเหมือนหนึ่งท่านเรียนจนจบพระไตรปิฎก เป็นอนุศาสนีปาริหาริยะโดยแท้ ดียิ่งกว่าของขลังศักดิ์สิทธิ์ เพราะคำสั่งสอนนั้นออกฤิทธิ์ได้จริง สมคารที่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป จดจำนำไปศึกษาปฏิบัติตามแนวทาง เป็นพลเมืองดีของชาติ มีความรักสมัครสมานเกื้อกูลกันและกัน เสมือนหนึ่งญาติมิตรครอบครัวใหญ่ของศรัทธาสาธุชนทั่วไป ถึงแม้ท่านครูบาสุรินทร์ สุรินโท จะจากไปตามสัจจธรรมสังขารของร่างกายของท่าน แตกดับสูญ แต่บุญคุณความดีปฏิปทาจริยาวัตรที่ดีงามของท่านยังปรากฏอยู่คู่โลกนี้สืบต่อ ไปตลอดกัลปวสานฯ


[คลิ๊กที่รูป,เพื่อดูรูปต้นฉบับในหน้าต่างใหม่]

น้ำมันมนต์ หรือน้ำมันงาดำเตือนภัย ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในแดนล้านนา

ครูบาสุรินทร์นับได้ว่าเป็นผู้แตกฉานในพระเวทย์วิทยาคุณอย่างเอกอุ เครื่องมงคลที่ท่านสร้างขึ้นนั้นล้วนแต่มีอภินิหารแก่ผู้นำไปบูชาอย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็น...เหรียญ ตะกรุด ผ้ายันต์ แต่ที่ถือเป็นสุดยอดของท่านคือ...
น้ำมันงาดำ
น้ำมันงาดำของหลวงปู่ครูบาสุรินทร์นั้น ท่านได้เล่าเรียนมาจากองค์อาจารย์คือ ท่านครูบาถาวรเถระ ผู้เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงศรีเตี้ย อันน้ำมันงาดำนี้หากสร้างได้ถูกต้องตามตำรา จะมีอิทธิฤทธิ์นานัปการอย่างที่เรียกว่าฝอยท่วมหลังช้างทีเดียว ใช้ได้ทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ค้าขายดี ทากันและแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำดำเขียว กระดูกแตกหักก็ทาเพื่อต่อได้ มีบาดแผลแล้วทาก็จะสมานติดกันในเวลาอันรวดเร็ว ผีเข้าเจ้าสิงก็ป้ายเข้าไปผีจะรีบหลีกลี้ในทันใด เป็นโรคกระเพาะให้กลืนกินเข้าไปจะรักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ได้อย่างวิเศษ ฯลฯ และเหนืออื่นใด คือ...
เดือดได้ ?!
เดือดได้จริง ๆ เมื่อผู้ครอบครองนำไปเก็บรักษาไว้ ยังที่สูงในตำแหน่งอันสมควร เช่น บนหัวนอน แล้วมีการสวดมนต์ไหว้พระเป็นนิจสิน หากมีภัยถึงตัวหรือจะเกิดอันตรายจาก มนุษย์ อมนุษย์ ภัยธรรมชาติ ภัยจากสัตว์ร้าย แม้แต่อันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บในตัว น้ำมันงามหาวิเศษนี้ก็จะเกิดอาการเดือด เป็นฟองขึ้นในขวดได้เองอย่างมหัศจรรย์ที่สุด เดือดปุด ๆ ให้เห็นก็มี เป็นฟองขึ้นเองอย่างฟองสบู่ก็มี มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่คน หากไม่ว่าจะเป็นอย่างใดนั้นก็คือให้เตรียมรับมือจงหนัก.
คุณทวี เย็นฉ่ำ หรือ เจดีย์ทอง นักเขียนชื่อดังได้เคยเล่าถึงวาระหนึ่งที่เดินทางไปกราบศพครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ตอนขากลับได้แวะไปนมัสการครูบาสุรินทร์ สุรินโท ถึงวัดหลวงศรีเตี้ย ซึ่งขณะนั้นครูบาสุรินทร์กำลังจะประกอบพิธีหุงน้ำมันงาดำอยู่พอดี
ในวันงานนั้นมีพระเถรานุเถระมาร่วมพุทธาภิเษกมิใช่น้อย ที่แน่ ๆ ก็มี ครูบาหล้า จันโทภาโส วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นต้น
โดยพระเถระนั่งปรกอยู่ในวิหารหลวง มีการตั้งราชวัติ ฉัตร ธง โยงสายสิญจน์ลงมาอย่างยิ่งใหญ่อลังการ ภายนอกวิหารตั้งกระทะใบบัวขนาดใหญ่ถึง 9 ใบ ทุกใบกำลังเคี่ยวน้ำมันงาดำควันโขมง และรอบบริเวณก็ตั้งราชวัติ ฉัตร ธง เช่นเดียวกัน กั้นสายสิญจน์เป็นปริมณฑลห้ามสตรีเพศเข้าโดยเด็ดขาด
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีธรรมาสน์หนึ่งปูเบาะและผ้ารองนั่งไว้เป็นอย่างดี มีพานวางสายสิญจน์โยงออกมาอย่างเรียบร้อย และตั้งอยู่ในตำแหน่งประธาน คะเนว่าน่าจะจัดเตรียมไว้ให้พระเถระผู้ใหญ่ หากเริ่มพิธีไปโขแล้วก็ยังไม่เห็นมีใครมา
ไม่นานใครหลายคนก็เริ่มสังเกตโดยเฉพาะพวกมีกล้อง ว่ายกกล้องประทับเล็งไปธรรมาสน์นั้นคราวใด มักได้เห็นเงาคนนั่งอยู่บนนั้นบ่อยครั้ง ต่อมาเมื่อเพ่งหนักเข้าคราวนี้ก็เห็นกันด้วยตาเปล่าหลายคนทีเดียว
เงาดำดังกล่าวมีลักษณะที่ชัดเจนว่าศีรษะโล้น ห่มและพาดผ้าอย่างสังฆาฏิ รูปร่างเป็นคนท่าทางอ้วนใหญ่ไม่น้อย จากลักษณะที่พบเดาได้ว่าน่าจะเป็นพระมากกว่าโยม ทุกคนที่เห็นเก็บความอัศจรรย์ใจไว้ไม่อยู่เล่าขานกันปากต่อปากอย่างรวดเร็ว
ขณะที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่นั้นก็เกิดเหตุประหลาดที่นอกวิหารกระทะน้ำมันงาดำทั้ง 9 ใบ ค่อย ๆ ทยอยระเบิดทีละใบ... ทีละใบ... สร้างความแตกตื่นและฉงนใจให้พระภิกษุและประชาชนที่มาร่วมพิธีเป็นอย่างยิ่ง กระทะระเบิดไปเรื่อยจนเหลือใบสุดท้าย ทุกคนที่ลุ้นตัวโก่งก็โล่งใจเพราะเหตุประหลาดยุติลงแต่เพียงแค่นั้น กระทะใบสุดท้ายยังอยู่ดีและดำเนินการเคี่ยว พร้อมปลุกเสกไปได้ตลอดรอดฝั่งจนจบพิธีโดยสมบูรณ์
เหตุการณ์ทั้งหมดสร้างความอัศจรรย์และเสียงวิจารณ์อยู่ไม่น้อย ใครหลายคนอดสงสัยไม่ได้จึงกรูเกรียวกันเข้าไป กราบเรียนถามหลวงปู่ครูบาสุรินทร์ว่าเงาดำที่เห็นคืออะไร และทำไมกระทะจึงระเบิดได้
หลวงปู่ท่านตอบขรึม ๆ ว่า เงาดำที่เห็นนั้นคือ...ครูบาถาวรเถระปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงศรีเตี้ย ผู้เป็นเจ้าของวิชาหุงน้ำมันงาดำนี้ และธรรมาสน์อาสนะนั้นท่านก็ได้จัดถวายไว้ให้ครูบาถาวรผู้เป็นบูรพาจารย์ เพราะได้อาราธนาท่านลงมาร่วมพิธีด้วย
ซึ่งท่านก็มาจริง ๆ และที่น้ำมันระเบิดจนเสียหายใช้การไม่ได้นั้น ครูบาถาวรท่านบอกว่า ท่านเป็นผู้ระเบิดทิ้งเอง เพราะหากทำมากก็จะเป็นการช่วยคนมากเกินไป เพราะคนเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีศีลมีธรรม ช่วยเขาแล้วเมื่อเขารอดตัวพ้นภัย เขาก็จะไปทำไม่ดีขึ้นอีก ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม ท่านประสงค์ให้น้ำมันวิเศษนี้สงเคราะห์แก่คนดีมีศีลธรรมเท่านั้น
เป็นสุดยอดเหตุผลโดยแท้
เมื่อได้รู้เหตุผลแล้ววัตถุมงคลในพิธีก็ถูกบูชาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะน้ำมันงาดำที่ทำยากเย็นแสนเข็ญที่สุด และถือเป็นเอกลักษณ์ของวัดหลวงศรีเตี้ยกับครูบาสุรินทร์โดยปริยาย
อานุภาพของน้ำมันงาดำนี้คุณทวี เย็นฉ่ำ ได้เคยประสบกับตนเองเมื่อมีพระภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่โรงพยาบาล และคุณทวีได้มอบน้ำมันงาดำนี้ให้ไว้บูชาที่หัวเตียง ปรากฏว่าบูชาไประยะหนึ่งน้ำมันก็เดือดเป็นฟองขึ้น ท่านเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะท่านก็อาพาธอยู่แล้ว อยู่มาไม่นานท่านก็ถึงแก่มรณภาพ
ทหารหาญของไทยรายหนึ่งชื่อ สิบเอกเจริญ ทิพย์กาญจนกุล เป็นทหารชุดปฏิบัติการที่สมรภูมิร่มเกล้า พิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2532 ก่อนไปรบได้มากราบนมัสการครูบาสุรินทร์ เพื่อขอพรและบูชาวัตถุมงคลไปหลายอย่าง ที่ขาดไม่ได้คือน้ำมันงาดำ
ก่อนออกปฏิบัติการ ส.อ.เจริญจะอาราธนาน้ำมันงาดำขอให้ปกป้องคุ้มครองทุกครั้ง จากนั้นก็จะกินเท่าเมล็ดพุทราและทายังจุดต่าง ๆ ในร่างกายตามที่หลวงปู่สั่ง
วันหนึ่งกองกำลังของ ส.อ.เจริญได้ปะทะกับพวกทหารลาวแดงอย่างจัง พวกมันโจมตีด้วยการปาระเบิดสังหารเข้าใส่ ส.อ.เจริญอยู่ใกล้จุดที่ลูกระเบิดตกที่สุดจึงหลบไม่ทัน โดนผลงานลาวแดงเข้าเต็ม ๆ เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายก็รีบทำการสำรวจตัวเองก่อน ปรากฏว่าไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ทำให้ผู้หมู่มีขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้นเป็นกอง นึกเชื่อมั่นในน้ำมันงาดำและครูบาสุรินทร์อีกเป็นเท่าทวีคูณ ครั้นหันไปดูเพื่อนร่วมชะตากรรมก็พบว่าทหารบางนายเสียชีวิตคาที่ด้วยอานุภาพระเบิด หลายคนบาดเจ็บมากบ้างน้อยบ้างทั่วกัน มีแต่ ส.อ.เจริญเพียงคนเดียวที่ไม่มีอาการบาดเจ็บเลย
ครั้นเหตุการณ์ศึกร่มเกล้าผ่านไป ส.อ.เจริญก็ตรงแน่วมากราบหลวงปู่ครูบาสุรินทร์ถึงวัดหลวงศรีเตี้ยด้วยความเคารพอย่างที่สุด

 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 

ผู้ตั้งประมูล :
 วันศีล โกวัง
ที่อยู่ :
 323/332 ม.12 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0861936900, 0861936900
E-mail :
 

ชื่อบัญชี :
 นายวันศีล โกวัง
เลขที่ บัญชี :
 8922097432
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส เชียงใหม่ - กาดคำเที่ยง

วันที่ :
 Thu 23, Jun 2022 22:52:19
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Thu 23, Jun 2022 22:52:19
 
 
ประมูล ตะกรุดโทนครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย หรือยันต์ผัดหลวง (เชือกเดิม) เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์เดือด สุดยอดประส : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.