พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระทั่วไปภาคเหนือ

เหรียญรุ่นแรกครูบาติ๊บ อุปาลี วัดหัวฝาย ปี 2511 บล็อกนิยม


เหรียญรุ่นแรกครูบาติ๊บ อุปาลี วัดหัวฝาย ปี 2511 บล็อกนิยม

ชื่อพระ :
 เหรียญรุ่นแรกครูบาติ๊บ อุปาลี วัดหัวฝาย ปี 2511 บล็อกนิยม
รายละเอียด :
 

เหรียญรุ่นแรกครูบาติ๊บ อุปาลี วัดหัวฝาย ปี 2511 บล็อกนิยม

ครูบาติ๊บ อุบาลี อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวฝาย สุโขทัย
อาจารย์ติ๊บ อุบาลี เป็นคำที่ชาวบ้านตลอดทั้งศิษยานุศิษย์เรียกกัน ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่ง ที่ได้พบเห็นมา ท่านเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ ที่แท้จริง ท่านไม่มีความทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญใดๆ ทั้งสิ้น เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างมาก เปรี่ยมด้วยเมตตาบารมี ศิษย์ในสายครูบาเจ้าครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี
พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี นามเดิมติ๊บ นามสกุล มณีอุด นามฉายา อุบาลี เกิด พ.ศ.๒๔๔๐ ณ บ้านผาปัง ตำบลผาปัง อำเภอเถิน (ขณะนี้เป็นอำเภอแม่พริก) จังหวัดลำปาง บิดาชื่อปั๋น มารดาชื่อหน่อแก้ว มณีอุด มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน เป็นหญิง ๒ ชาย ๓ คือ
๑.นางจันทร์
๒.นางดิบ อุประวรรณา
๓.นายยา มณีอุด
๔. พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี
๕.นายใจมา มณีอุด
บิดา มารดาของพระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี ได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านอายุยังไม่ถึง ๑๐ ขวบ ท่านได้อาศัยอยู่กับนางดิบ ผู้เป็นพี่สาว นับว่าท่านเป็น กำพร้าตั้งแต่เยาว์วัย ท่านเป็นคนว่านอนสอนง่ายไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกับใครเป็นเกรงใจคนอื่นและเป็น คนเสงี่ยมเจียมตนเสมอ พอ อายุ ย่าง ๑๔ ปี พี่ก็นำไปฝากให้เป็นศิษย์วัด เพื่อเรียนหนังสือแบบล้านนา ณ วัดบ้านผาปังหลวง ซึ่งเป็นวัดในหมู่บ้าน พระอาจารย์ติ๊บ อุบาลี ท่านเป็นคนมีเมตตามาตั้งแต่เด็ก ๆ สมัยเมื่อท่านเป็นศิษย์วัด ได้มีศิษย์วัดด้วยกันชวนท่านไปจับนกตะขาบโดยใช้กับดัก ท่านก็ไปด้วยความ ไม่อยากจะขัดใจเพื่อน ท่านก็ไปเมื่อจับนกตะขาบได้เพื่อนๆ ก็ให้ท่านเป็นผู้ถือเพราะท่านไม่ค่อยจะร่วมทำกิจกรรมอื่นๆ เมื่อท่านถือนก ก็เกิดความสงสารจึงแอบปล่อยนกไปหมด แล้วบอกเพื่อนๆ ว่านกหลุดมือไป เพื่อนๆ ชวนท่านไปจับปลาท่านก็แอบปล่อย จนเพื่อนๆไม่ชวนท่าน ไปอีกเลย ต่อมาเมื่อท่านเรียนสวดมนต์ได้คล่องแล้วก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัด บ้านผาปังหลวงนั่นเอง โดยมีพระคำมูลเป็นเจ้าอาวาส พอวันแรกที่ท่านเป็น สามเณรท่านก็เริ่มฉันอาหารมื้อเดียว ไม่นานท่านก็ได้ไปเรียนหนังสือไทยภาคกลางและเรียนนักธรรมที่วัดท่านางอำเภอ เถิน ตามประเพณีท้องถิ่นของอำเภอเถินพอมีสามเณรมาเรียนนักธรรมจะมีพ่อแม่อุปถัมภ์ (เรียกว่าพ่อออกแม่ออก)จะนำอาหารมาส่งให้ทั้งตอน เช้าและตอนกลางวันสามเณรรูปอื่นเขามีโยมอุปถากกันหมด พระอาจารย์ติ๊บมีพ่อแม่อุปถัมภ์ช้ากว่าเขาเนื่องจาก บุคลิกที่ไม่ค่อยพูดประกอบกับหน้าตาไม่ หล่อเหลาเหมือนคนอื่นเขาในที่สุดท่านก็ได้พ่อหนานป้อง แม่มา (ไม่ทราบนามสกุล)เป็นผู้อุปถัมภ์ มีเรื่องเล่าว่าพ่อหนานป้อง แม่มา เกิดความ-สงสัยว่า อาหารมื้อกลางวันที่ส่งให้พระอาจารย์ติ๊บ ไม่พร่องเลยคล้ายกับไม่ฉันหลายวันติดต่อกัน พ่อหนานป้องจึงถามดู ด้ความว่าพระอาจารย์ติ๊บ ฉันอาหารมื้อเดียว และเลือกแต่อาหารผักเท่านั้น เกิดความปลื้มปิติยินดีแก่พ่อแม่อุปถัมภ์เป็นอย่างมากถึงกับเที่ยวอวดใครต่อ ใครว่าสามเณร เหลือเดนที่พ่อหนานป้องรับอุปถาก นั้นเป็นเพชรในตม ที่คนอื่นมองไม่เห็น พ่อหนานป้องแม่มาจึงภูมิใจและเพิ่มความเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น เป็น พิเศษ พออยู่มา ๒ ปี ท่านก็เริ่มฉันอาหารเจ และออกปฏิบัติธรรมในที่ต่างๆ นับว่าท่านสร้างสมบารมีมามากท่านจึงทำได้ถึงเพียงนี้เพราะสมัยนั้นท่านไม่มี แบบอย่างที่ไหนมาก่อนเลย
พออายุครบ๒๑ปี ท่านก็อุปสมบท ณ วัดผาปังหลวง พอจำพรรษาอยู่ที่วัดผาปังหลวงได้ไม่นาน ท่านก็เดินทางไปเรียนมูลกัจจาย์สามัญญภิธาน-สนธิ กับครูบาหมีที่วัดเมืองหม้อ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ อยู่หลายพรรษาจนจบแล้วสามารถแปลบาลีได้ ครูบาติ๊บท่านมีความศรัทธาครูบาศรีวิไชยเพราะได้ยินกิตติศัพท์ของครูบาศรีวิ ไชย ท่านจึงจาริกติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัยและอยู่ปรนนิบัติรับใช้ครูบาศรีวิไชย ตลอดมา และครูบาศรีวิไชยคงจะทราบด้วยญาณว่าครูบาติ๊บเป็นพระระดับไหน จึงทำให้ครูบาถึงกับเอ่ยว่า ครูบาติ๊บจะเสมอท่านแต่ติดตรงที่ ครูบาศรีวิไชยชี้ไปที่ลำตัวครูบาติ๊บที่สักยันต์เต็มตัวไปหมด หลายปี ท่านก็แยกตัวออกมาจาริกไปจำพรรษาอยู่วัดพระนอนม่อนช้าง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ ๕ พรรษา แล้วจึงกลับมาวัดผาปังบ้านเดิม
ปีพ.ศ.๒๔๗๔ ชาวบ้านผาปังประมาณ ๒๐ ครอบครัว ได้พากันอพยพมาอยู่บ้านหัวฝาย ตำบลนาทุ่ง อำเภอสวรรคโลก(สมัยนั้นยังไม่แยกเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม) จังหวัดสุโขทัย ตามบรรดาชาวบ้านที่อพยบมาก่อนหน้านี้ ๕-๖ ปี ในจำนวนผู้อพยบมีนางดิบพี่สาวของท่านด้วย ท่านก็ได้อพยบมาพร้อม กับพี่สาว มาอยู่บ้านหัวฝายในปัจจุบัน สมัยนั้นบ้านหัวฝายยังเป็นป่าดงดิบเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ชาวบ้านก็ช่วยกันถางป่าบนเนินเขาเล็กๆใกล้ๆหมู่บ้านเป็นที่ จำวัตรและเป็นที่ปฏิบัติของท่าน จนมาเป็นวัดหัวฝายในปัจจุบัน ท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวฝายเป็นรูปแรก สมัยนั้นในระแวกนี้ไม่มีอุปัชฌาย์กุลบุตร ที่มีความประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทต้องไปที่อำเภอสวรรคโลก ระยะทางไกลประกอบอันตรายต่างๆนาๆ เจ้าคุณสังวรสังฆปรินายก ซึ่งเป็นเจ้าคณะ จังหวัดสุโขทัยสมัยแต่งตั้งท่านเป็นอุปัชฌาย์ พอท่านทราบข่าว(ตอนนั้นท่านมีพรรษา ๑๒ พรรษา) ท่านกลัวจะเป็นการผูกมัดด้วยยศตำแหน่งท่านจึงลาสิกขา ๗ วัน โดยนุ่งขาวห่มขาวถือศีลแปดอยู่ในวัด และก็อุปสมบทใหม่ เพื่อให้ พรรษาต่ำลงจนไม่สามารถเป็นอุปัชฌาย์ได้ ท่านเป็นพระที่ไม่ชอบอยู่กับที่ท่านมักจะหาทีสงบอยู่เสมอเช่นในถ้ำเช่นถ้ำ แม่กะสา ถ้ำเชิงผา
และหลายๆที่ ท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นจำนวนมากสมัยนั้นมีญาติโยมหลายที่ นิมนต์ท่านไปเป็นประธานสร้างวัดทั้งใกล้ทั้งไกลพอที่
จะเรียบเรียงได้มีดังนี้
๑. กุฏิ วิหารวัดสันหล่อ อำเภอแม่ละมาด
๒. เจดีย์ วัดผาปัง อำเภอแม่พริก
๓.เจดีย์ ถ้ำแม่กะสา อำเภอแม่สอด
๔.หอประชุม อุบาลีอุปถัมภ์ โรงเรียนบ้าหัวฝาย
แล้วก็มีวัดที่ญาติโยมนิมนต์ท่านเป็นประธานก่อตั้งวัดมีดังนี้
๑.วัดสังฆทน(แม่ทุเลา) อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๒.วัดคลองสำราญ อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๓.วัดท่วิเศษ อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๔.วัดเชิงผา อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๕.วัดต้นธงชัย (วัดที่ครูบาขาวปีมรณะภาพ) อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๖.วัดชัยอุดม อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๗.วัดเขาแก้วชัยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๘.วัดม่อนศรีสมบุรณาราม อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๙.วัดฝั่งหมิ่น อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๑๐.วัดวังธาร อำเภอทุ่งเสลี่ยม
๑๑.วัดห้วยขี้นก อำเภอแม่พริก
๑๒.วัดป่าคา อำเภอศรีสัชชนาลัย
สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังท่านครูบาติ๊บ ท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังทุกอย่างไว้แจกจ่ายชาวบ้านเพื่อป้องกัน อันตราย ครั้ง เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2485 ครูบาอายุราวๆ 45 ปี นับได้ว่าเก่งคาถาอาคมมาตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ตะกรุดชนิดต่างๆ ผ้ายันต์แบบต่างๆ เสื้อยันต์แบบต่างๆ รูปถ่ายขาวดำ เหรียญรุ่น 1 และ รุ่น2 ในปี 2511- 2513 พอมาปี 2514 ก็ไปออกที่วัดผาปังกลางอีก 1 รุ่น คราวบูรณะวัดผาปังกลาง วัตถุมงคลของท่านมีประสบการณ์มากมาย ดีเด่นทางแคล้วคลาดมหาอุด จนหนังสือข่าวสดนำไปลงว่าเหรียญครูบาติ๊บอุดลูกปืนครูบาติ๊บที่สุโขทัยย่องให้ท่านเป็น 1 ใน 15 บูรพาจารย์ของจังหวัดสุโขทัย ครับ
เหรียญรุ่นแรกของท่านจัดสร้างขึ้นในปี 2511 ด้านหน้าเป็นรูปขององค์ท่านครูบาด้านหลังเป็นยันต์นะฉัพพัณรังสีหน้าทอง
กะระณียะเมตตา นารี สุขุมารา ชาโน โจรัง ไมยถีจิตตัง อนุกัมปัง อุปปาธายะ (คาถาหลังเหรียญครูบาติ๊ป)
เป็นยันต์ที่ท่านย่อลงมา เพื่อให้พอกับพื้นที่หลังเหรียญ ซึ่งคาถาบทนี้ บทเต็มท่านเรียกว่า คาถา นะฉัพพัณรังสี เมตตาดี
คัดย่อมาจาก
นะสุวัณโณนะมัสสิต์วา โมกาโรมะณีโชตะกัง พุทกาโรสังขะเมวะจะ ทากาโรสุริยังเอวะ ยะกาโรมุกขะเมวะจะ สะทะมะมัง มังมะทะสะกะระณียะเมตตังสัตตา เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จิตตัง ๆ เชยยะนารี จักกะวัตติราชา มะโนโจรัง ไมตรี จิตตัง ฯ
นะฉัพพัณรังสีหน้าทองนี้ ใช้ลงผงหรือจะลงใส่ฝ่ามือก็ได้แล้วให้เอาผงทาหน้าไปเป็นเมตตามหานิยมประเสริฐยิ่งนัก แก้วหาค่ามิได้เลยนะอันเป็นฉบับวัดประดู่โรงธรรมอยุธยา สืบมาแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ต้นฉบับมาจากท่านยวัดมะขามเฒ่าฉบับหนึ่ง จากต้นฉบับของสมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (พระบัณฑูร) อีกฉบับหนึ่ง สอบทานตรงกันแล ฯ
เหรียญรุ่นแรกจัดสร้างน้อนยมากเป็นเหรียญยอดนิยม หายากของสุโขทัย

 สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

เหรียญครูบาติ๊บ1 a.jpg เหรียญครูบาติ๊บ1 b.jpg เหรียญครูบาติ๊บ1 c.jpg Clip_12.jpg Clip_13.jpg Clip_14.jpg Clip_15.jpg

 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 

ผู้ตั้งประมูล :
 วันศีล โกวัง
ที่อยู่ :
 323/332 ม.12 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0861936900, 0861936900
E-mail :
 

ชื่อบัญชี :
 นายวันศีล โกวัง
เลขที่ บัญชี :
 8922097432
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส เชียงใหม่ - กาดคำเที่ยง

วันที่ :
 Wed 2, Mar 2022 21:43:54
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Wed 2, Mar 2022 21:43:54
 








 
 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]     [ 1 ] Wed 2, Mar 2022 21:44:11

 
ประมูล เหรียญรุ่นแรกครูบาติ๊บ อุปาลี วัดหัวฝาย ปี 2511 บล็อกนิยม : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.