รายละเอียด :
พระเปิมลำพูนช่วยเสริมสร้าง มั่งมี มั่งคั่ง มั่นคง องค์นี้มีบิ่นเดิมในกรุมาพร้อมบัตรรับรองพระแท้ไม่อุดไม่ซ่อมดูง่ายสบายตา คราบกรุ คราบรารัก เป็นธรรมชาติเดิม ## พระเปิมเป็นพระเครื่องยอดนิยม พระเครื่องล้านนาที่สร้างขึ้นด้วยเรื้อดินเผา มีศิลปสกุลช่างทวาราวดีผสมผสานสกุลช่างหริภุญชัย หรือช่างชาวมอญโบราณ ลัทธิมหายาน "พระเปิมลำพูน" มีพุทธลักษณะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับนั่งใต้ต้นร่มโพธิ์พฤกษ์ หรือร่มจิก เป็นจินตนาการของช่างสมัยโบราณ ได้บรรจงสร้างศิลป์ตามยุคและตามสมัยนั้นได้อย่างงดงาม เอกลักษณ์ของพระศิลปสมัยทวาราวดี ตามพุทธลักษณะของสกุลช่าง จนเราสามารถแยกออกจากกันได้ (อ่านศิลปอวกะ) "พระเปิมลำพูน"พระเครื่องเมืองลำพูนยอดนิยมพิมพ์หนึ่ง สถานที่พบส่วนใหญ่พบที่ วัดพระธาตุ วัดประตูลี้ วัดดอนแก้ว วัดพระคง วัดมหาวัน มีผู้รู้กล่าวว่า พระเปิมมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ ลำตัวองค์พระจะอวบอ้วน พระโอษฐ์(ปาก) แบะริมฝีปากหนา พระเนตร(ตา)โปน พระนาสิกบาน ศีรษะทุย พระเกศมาลาจิ่ม พระกรรณ(ใบหู)หนา พระศอ(คอ)จะเห็นกรองศอหรือกรองคอเป็นเส้นนูนขึ้นอย่างชัดเจน เต้าพระถัน(เต้านม) จะเห็นชัดเจน พระนาภี(สะดือ)บุ๋มลึกลงไม่ใช่สะดือจุ่นหรือนูนขึ้น พระเปิมลำพูน พระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 พระเปิมลำพูน เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม แห้งแกร่ง แข็ง ถ้าสึกกร่อนจะมีแร่ดอกมะขามเป็นจุดๆ ถ้าสมบูรณ์เช่นที่เห็นนี้ จะมองไม่เห็นแร่ บางองค์มีคราบกระคล้ายกับผิวหนังของช้างตกกระ พระเปิมมีสีหลายสี เช่น สีเขียวมอย สีแดง สีพิกุลแห้ง สีอิฐ สีหม้อใหม่ประทับนั่งใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)ในท่าปางสะดุ้งมาร มีฐานลอยยื่นรองรับเป็นรัตนบัลลังก์ เป็นจุดไข่ปลาเหมือนเกษรบัว นั่งขัดสมาธิเพชร มีใบโพธิ์หรือใบจิก 84 ใบ ฐานผ้าทิพย์จะมีลักษณะของสตางค์ จะมีเส้นรัศมีอยู่ 7 เส้น ประวัติพระเปิมลำพูน เป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ ### จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก) ##พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก การขุดหาพระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป ในสมัยนั้นการพบ พระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด หมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือ เลี่ยม หมายถึง แหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น กรุที่สำคัญ 1.กรุเจดีเหลี่ยม ในวัดพระธาตุหริภุญไชย(วัดหลวง) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ ห่างกันประมาณ 80 เมตร ประมาณเดือนตุลาคม 2516 ฐานเจดีย์ทรุดลงมา ก็ได้ค้นพบพระเปิม ซึ่งมีลักษณะหลังปาดไม่ค่อยเรียบร้อย 2.กรุวัดดอนแก้วหรือวัดดอกแก้ว (เป็นวัดร้างมีแต่ซากปรักหักพัง) กรุนี้เป็นกรุที่พบพระเปิมจำนวนมาก พระส่วนใหญ่ที่ค้นพบเนื้อจะละเอียด-ซุย ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบแบน 3.กรุวัดจามเทวี พบบนสุวรรณจังโกฏ-เจดีย์ (เป็นเจดีย์ที่เชื่อกันว่าพระนางจามเทวีเป็นผู้สร้าง) สันนิษฐานว่าเป็นพระฝากกรุ ด้านหลังแบน เนื้อค่อนข้างหยาบ ผิวรานระแหงและปรากฏเม็ดแร่ลอย ทั้งๆที่เป็นพระที่ได้ผ่านการใช้ เหตุที่เป็นเช่นนี้มีปัจจัยที่สนับสนุน คือ พระกรุนี้ถูกบรรจุในเจดีย์ด้านบนได้รับความร้อนตลอด ความชื้นน้อยมาก 4.กรุพิเศษ กรุวัดมหาวัน พิเศษตรงที่เป็นกรุที่มีพระสกุลลำพูนแทบทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่เป็นพระฝากกรุ (ยกเว้นพระรอดที่สร้างขึ้นที่นี่) ลักษณะที่พบ คือ เนื้อจะละเอียด แน่น เนียน มีความหนึกนุ่ม สังเกตเห็นรารักขึ้นประปราย สันนิฐานว่าเป็นผลจากด้านธรณีวิทยา เพราะบริเวณนี้จะเป็นดินที่มีความชื้นสูง นอกจากนี้ยังคงพบได้จากกรุอื่นๆ เช่น กรุวัดพระคง กรุประตูลี้ เป็นต้น กราบสาธุ...
|
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
100 บาท
เงื่อนไขการรับประกัน :
รับประกันแท้
ผู้ตั้งประมูล :
อวยชัย ชัยเพชร
ที่อยู่ :
203 หมู่ที่ 1 ต.สันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ไทย
เบอร์โทรติดต่อ :
0897003867, 0897003867
E-mail :
ptr2518@hotmail.com
ชื่อบัญชี :
นายอวยชัย ชัยเพชร
เลขที่ บัญชี :
4062222684
ธนาคาร :
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
วันที่ :
Tue 26, May 2020 22:53:54