พระรอดเป็นพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย-ขัดเพชรห่มดองประทับนั่งเหนือพระอาสานะเเละผิงผนังโพธิบัลลังก์เเสดงถึงปางตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณพระรอดยังถือว่าเป็นพระหนึ่งในห้าของ พระชุดเบญจภาคี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ดินเเดนนครหริภุญชัย เเห่ง จ.ลำพูนเป็นพระเครื่องที่พระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองหริภุญชัย ได้เป็นผู้สร้างไว้โดยมีความพิเศษอยู่ถึงห้าประการคือ1.มีความเก่าเเก่ที่สุด2.เเสวงหาได้ยากที่สุด3.ศึกษาพิจารณาได้ยากที่สุด4.งดงามน่ารักเป็นที่สุด5.มีอานิสงส์ทางเเคล้วคลาดภยันตรายสูงสุด พระรอดเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาที่มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อดินเเกร่ง เนื้อดินนุ่ม เนื้อว่าน เเละเนื้อผงหินเนื้อพระ มีความละเอียด เเกร่งเเละนุ่ม มีด้วยกันหลายสื เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง เขียว คุณค่าอีกในเเง่หนึ่งของพระรอดที่เป็นเนื้อผงหินเขียวหินครกที่มีคราบเเดงๆติดปนเข้ามาในผิวเนื้อพระด้วยนั้น ลักษณะเช่นนี้หมายถึงคราบทองคำ หรือ คราบคำที่ชาวเหนือใช้เรียกกันจะเกิดเฉพาะพระสกุลลำพูนที่เป็นเนื้อผงหิน(Stuccoes)โดยคราบคำดังกล่าวจะสร้างความงดงามยิ่งนักให้วรรณะพระมีความเขียวสดใสเปล่งปลั่ง(Green)เเต่ถ้าเกิดไม่มีคราบดังกล่าวเนื้อพระจะออกไปทางสีเขียวมอย(Gray) ครับ พระรอดยังมีพิมพ์อีกมากมายหลายพิมพ์นับตั้งเเต่การขุดพบครั้งเเรกในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตรในปี พ.ศ.2435-2445เเละอีกหลายครั้งโดยเฉพาะการขุดพระรอดในปีพ.ศ.2498เนื่องจากมีการปฏิสังขรณ์กุฏิเจ้าอาวาสวัดมหาวันในการขุดดินเพื่อลงรากฐานการก่อสร้างด้านหน้าเเละใต้กุฏิได้พบพระรอดจำนวนสองร้อยองค์เศษเเละมีหลายพิมพ์ทรงเเทบจะไม่ซ้ำกันเลยโดยเริ่มขุดในเดือนมกราคมเเละสิ้นสุดในเดือนสิงหาคมในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฏาคมเป็นระยะที่ได้พระรอดมากที่สุดนอกจากพระรอดเเล้วยังได้ขุบพบพระเครื่องฯสกุดลำพูนอีกหลายชนิดเช่น---พระคง/พระบาง/พระเลี่ยง/พระสาม/พระสิบ/พระสิบสอง/พระงบน้ำอ้อย/พระกล้วย/พระกว้าง/พระเเผ่นทองคำ/พระพุทธรูปรูปปั้นขนาดย่อมเเบบทวาราวดี /เศียรเทวรูป(เนื้อผงหินมีคราบดำ)รูปพระพระฤาษี/รูปเทพธิดา/รูปคนธรรพ์/ รูปรากษส(คล้ายรูปปั้นอินเดียนเเดง)เป็นต้นในยุคก่อนการจำเเนกพิมพ์พระจะจำเเนกตามรูปทรงสันฐานเช่น พิมพ์ทรงฐานเรียบ,พิมพ์ทรงฐานฐานพับ,พิมพ์ทรงตื้น,พิมพ์ทรงฐานดากเป็นต้นครับ
|