พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา พิมพ์แซยิด ประมาณปี ๒๔๗๕


พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา พิมพ์แซยิด ประมาณปี ๒๔๗๕


พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา พิมพ์แซยิด ประมาณปี ๒๔๗๕

   
 
พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา พิมพ์แซยิด ปี ๒๔๗๕
หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา พิมพ์แซยิด ประมาณปี ๒๔๗๕ เนื้อชิน (พบน้อยมาก) สำหรับพระพิมพ์นี้ ท่านสร้างไว้เมื่อตอนแซยิด ประมาณปี ๒๔๗๕ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ แห่งเมืองกรุงเก่านี้ท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่ชาวอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าใครได้สักยันต์กับท่านและทำตามข้อกำหนดของท่านได้ รับรองว่าแมลงวันจะไม่มีวันได้กินเลือดเป็นอันขาด หลวงพ่อขันท่านเป็นชาวอยุธยา โดยกำเนิด เกิดเมื่อปี ๒๔๑๕ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง และยังเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนมีโอกาสได้รู้จักและคุ้นเคยกับกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์เป็นอย่างดี ในฐานะศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน ทางด้านวัตถุมงคลเนื้อดินเผาที่รู้จักกันแพร่หลายเป็นที่โด่งดังทั่วไปคือพระเนื้อดินเผาพิมพ์แซยิดและพิมพ์นางพญาฐานผ้าทิพย์ ส่วนเหรียญรุ่นแรกนั้นสวยๆราคาก็เป็นแสนไปแล้วสายตรงเนื้อดินหลายท่านพิจารณาจากพิมพ์ทรงองค์พระแล้วดูใกล้เคียงกับพระเนื้อดินหลวงพ่อปานวัดบางนมโคซึ่งวัดอยู่ไม่ไกลกันนักอีกทั้งเมื่อพิจารณาจากเส้นสายลายเส้นบนพิมพ์พระเช่นพิมพ์หนุมานใหญ่ทรงเครื่องและครุฑใหญ่แล้วช่างแกะพิมพ์พระน่าจะเป็นคนๆเดียวกันซึ่งอยู่ในช่วง ๒๔๖๐-๘๐ ไม่น่าจะเกินนี้ วัตถุมงคลของพระอุปัชฌาย์ขัน อินทปัญโญ วัดนกกระจาบนั้น ประสบการณ์เรื่องคุ้มครองแคล้วคลาดนั้นเรียกว่าแขวนเดี่ยวได้อย่างสนิทใจ ทั้ง เรื่องเมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี ก็ไม่เป็นรองใครในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเลยทีเดียวเชียว หายากน่าเก็บน่าใช้อีกละคราฟ *************************************************************************************************************************************************** หลวงพ่อขัน อินทปัญโญ" วัดนกกระจาบ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ รุ่นเก่าแห่งอำเภอบางบาล มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องวิทยาคม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือมาก ใครได้สักยันต์กับท่านและทำตามข้อกำหนดของท่าน จะมีแต่ปลอดภัยแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน จนได้รับการกล่าวขวัญจากชาวกรุงศรีอยุธยาว่า "ใครที่สักยันต์และบูชาเหรียญของหลวงพ่อขัน จะถูกฟันถูกตีก็ไม่ต้องกลัว" คำเล่าลือนั้น ทำให้ลูกศิษย์ของหลวงพ่อขัน นิยมให้หลวงพ่อสักยันต์บ้าง ลงกระหม่อมบ้าง ปรากฏในทางคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม หลวงพ่อขัน เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชอบเดินธุดงค์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามป่าดง ยึดสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ ทำให้มีสาธุชนให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก ท่านเป็นพระคณาจารย์ยุคเดียวกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน สำหรับหลวงพ่อขัน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลายอย่าง ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง อาทิ เหรียญเสมาหูเชื่อม ปี ๒๔๘๐, เหรียญหล่อก้นแมลงสาบ เนื้อสัมฤทธิ์, ที่เช่าหากันหลักแสน เหรียญหล่อพิมพ์พระพุทธชินราช, เหรียญหล่อยันต์ห้า, และที่หายากมาก คือเชือกคาดเอว เสื้อยันต์ ผ้ายันต์ ล้วนเด่นทางเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี *************************************************************************************************************************************************** ประวัติหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.พระนครศรีอยุธยา อัตโนประวัติ หลวงพ่อขัน อินทปัญโญ เกิดในสกุล คงสุขี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ตรงกับขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ที่ ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายชื่น และนางส่วน คงสุขี เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง ๔ คน ในปีที่ ด.ช.ขัน ถือกำเนิด ครอบครัวมีฐานะดีขึ้น ทำกิจการงานประสบผลสำเร็จ ทำให้โยมบิดา-มารดา รักใคร่เอ็นดูบุตรชายคนโตยิ่ง เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดวังตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๕ โดยมีพระพุทธวิหารโสภณ (อ่ำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนนามพระอุปัชฌาย์ ไม่ทราบชัด ได้รับฉายาว่า "อินทปัญโญ"ภายหลังอุปสมบทได้อยู่จำพรรษา ๓ พรรษา ท่านออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมะ ศึกษาเพิ่มเติมจากพระธุดงค์ที่อยู่ในป่าลึก เมื่อท่านเดินทางกลับ ปรากฏว่า วัดญาณเสนว่างสมภาร ชาวบ้านพร้อมใจกันนิมนต์ท่านไปเป็นสมภารได้ ๓ พรรษา และย้ายมาอยู่จำพรรษาวัดนกกระจาบและที่วัดนกกระจาบนี้เอง ชื่อเสียงของท่านโด่งดังขจรขจายไปทั่ว การปฏิบัติและปฏิปทาของท่าน น่าเลื่อมใสเคร่งในธรรมวินัย ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ยึดสันโดษ หลวงพ่อขัน ได้มีโอกาสไปกราบและขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนพระคาถาอาคมกับหลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง และยังเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนมีโอกาสได้รู้จักและคุ้นเคยกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นอย่างดี ในฐานะศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน โดยกรมหลวงฯเรียกหลวงพ่อขันอย่างสนิทสนมว่า “ หลวงพี่ “ ครั้งหนึ่งกรมหลวงชุมพรท่านเสด็จทางเรือผ่านท่าน้ำหน้าวัดนกกระจาบก็ทรงหยุดพักที่ศาลาท่าน้ำ พระองค์ทรงนึกอะไรไม่ทราบ ทรงใช้ปืนสั้นเล็งยิงที่ช่อฟ้าพระอุโบสถ์วัดนกกระจาบ ลั่นไก ดัง แชะๆ หลายครั้ง ปรากฏว่ายิงไม่ออก ท่านจึงหันมาตรัสกับมหาดเล็กที่ตามเสด็จว่า “เจ้าอาวาสวัดนี้ แน่จริงๆ ขนาดช่อฟ้ายังยิงไม่ออก“จากนั้นท่านจึงเสด็จขึ้นไปบนกุฎิไปสนทนากับหลวงพ่อขัน อย่างสนิทสนม สร้างความงุนงงแก่คณะติดตามมาก เมื่อทราบว่าเป็นศิษย์พระอาจารย์องค์เดียวกัน กล่าวกันว่ากรมหลวงชุมพรให้หลวงพ่อขันท่านช่วยสักยันต์แต่เนื่องจากพระองค์สักยันต์ทั่วทั้งพระวรกายแล้ว หลวงพ่อขันท่านจึงสักยันต์ “เฑาะว์”ให้พระองค์ที่พระศอ(คอบริเวรลูกกระเดือก) หลวงพ่อขัน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือมาก ใครได้สักยันต์กับท่านและทำตามข้อกำหนดของท่าน จะมีแต่ปลอดภัยแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน จนได้รับการกล่าวขวัญจากชาวกรุงศรีอยุธยาว่า "ใครที่สักยันต์และบูชาเหรียญของหลวงพ่อขัน จะถูกฟันถูกตีก็ไม่ต้องกลัว" ครั้นหนึ่ง ลูกศิษย์ของหลวงพ่อขัน ถูกนักเลงถิ่นอื่นดักทำร้ายทุบตี แต่ปรากฏว่า ตีเท่าไรก็ไม่แตก ไม่เจ็บ ไม่บอบช้ำ สร้างความประหลาดใจให้กับนักเลงถิ่นอื่นเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ลูกศิษย์ของหลวงพ่อขัน นิยมให้หลวงพ่อสักยันต์บ้าง ลงกระหม่อมบ้าง ปรากฏในทางคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม หลวงพ่อขัน เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชอบเดินธุดงค์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามป่าดงยึดสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์ ทำให้มีสาธุชนให้ความเลื่อมใสศรัทธามาก สำหรับวัตถุนิยมของหลวงพ่อขันที่ได้รับความนิยมสูง คือ เหรียญรูปตัวท่าน เป็นเหรียญเสมานั่งเต็มองค์ ด้านล่างมีข้อความว่า "พระอาจารย์ขัน" หูเชื่อม เป็นเหรียญที่สวยงามและมีราคาเช่าบูชากันแพงมาก ด้านวัตถุมงคลเนื้อดินเผาที่รู้จักกันแพร่หลายเป็นที่โด่งดังทั่วไป คือ พระเนื้อดินเผาพิมพ์แซยิดและพิมพ์นางพญาฐานผ้าทิพย์ โดยไม่ทราบปีที่สร้างแน่นอนเช่นเดียวกับวัตถุมงคลอื่นๆ ยกเว้นเหรียญรุ่นแรกรุ่นเดียวที่ทราบ เพราะบนเหรียญรุ่นแรกนี้ จะมีระบุปีที่สร้างแน่นอน คือ พ.ศ.๒๔๐๗ แต่มีหลักฐานที่บันทึกไว้ว่าน่าจะสร้างในช่วงเดียวกันกับเหรียญรุ่นแรกครับ พระดินเผานี้ เป็นพระที่มีพุทธศิลป์สวยงามมาก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พุทธคุณนั้นเป็นเอกอุด้านคงกระพันหนังเหนียว และแคล้วคลาดปลอดภัยอย่างยิ่ง หลวงพ่อขัน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรกับพุทธศาสนิกชนทั่วไป กระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๘๖ ท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยสติสัมปชัญญะที่ครบบริบูรณ์ สิริอายุได้ ๗๒ ปี พรรษาที่ ๕๒ ทุกวันนี้ เกียรติคุณความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อขันยังเป็นที่กล่าวขวัญสืบมา

 

 
     
โดย : พรมารดา   [Feedback +72 -1] [+0 -0]   Sun 8, May 2022 10:54:01
 
 
พระหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา พิมพ์แซยิด ประมาณปี ๒๔๗๕ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.