พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

เหรียญทวีลาถ ครูบาคำแสน เนื้อเงิน


เหรียญทวีลาถ ครูบาคำแสน เนื้อเงิน


เหรียญทวีลาถ ครูบาคำแสน เนื้อเงิน

   
 

เหรียญครูบาคำแสน คุณาลังกาโล ( ทวีลาภ ) เนื้อเงินผิวกระจก เนื้อเงินสร้างน้อยหายาก  1 ใน 200 เหรียญ สภาพนางฟ้า สวยแชมป์ ผิวเดิม ผิวกระจก สวยใสไร้ที่ติ  นำของสวยๆหายากมาแบ่งปัน ใครที่อยากรู้ว่าเหรียญเเท้ เหรียญสวยเเชมป์ เป็นอย่างไรเหรียญนี้ ตอบโจทย์ได้สมบูรณ์แบบ 

เหรียญครูบาคำแสน คุณาลังกาโล ( ทวีลาภ ) จัดสร้างปี 2519 โดยคณะศิยษ์ตำรวจสันติบาลเนื้อเงินและเนื้อนวะโลหะอย่าละ 200 เหรียญ เนื้อทองแดงอย่าละ 3,600 เหรียญ ร่วมกันทั้งหมด 8,000 เหรียญ แกะบล๊อคสวยมากครับโค๊ตตอกแยกเนื้อชัดเจน เนื้อเงินบนสังฆาฏิ เนื้อนวะโลหะบนไหล่ขวา(ด้านซ้ายมือเรา) เนื้อทองแดงบนไหล่ซ้าย(ด้านขวามือเรา)เป็นเหรียญที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาเหรียญของหลวงปู่คำแสนครับ..เหรียญสวยเดิมๆหายากแล้วนะครับ(สร้างน้อยหายากครับ

หลวงปู่ครูบาคำแสน ท่านเป็นสหธรรมิกกับ หลวงพ่อฤาษีลิงดำแห่งวัดท่าซุง ประสบการณ์สูงครับ

ประวัติ หลวงปู่ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร

หลวงปู่คำแสน เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ปีมะเมีย เป็นบุตรของนายเป็ง นางจันทร์ตา เพ็งทัน อยู่บ้านสันโค้งใหม่ ต.ทรายมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ มีพี่น้องรวมกัน ๘ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๗ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี โดยมีพระอธิการ (ครูบา) โพธิ วัดสันโค้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ และต่อมาก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดดอนมูลนี้ เมื่อบวชได้ ๓ พรรษา ท่านก็ได้ไปศึกษาต่อกับพระอธิการ (ครูบา) แก้ว ชัยยะเสโน ที่วัดน้ำจำ โดยได้ศึกษาธรรม และเรียนกัมมัฏฐาน

ก่อนหน้านั้นท่านได้ทราบข่าวจากชาวบ้าน ว่าทางราชการได้จับครูบาศรีวิชัย ยอดนักบุญแห่งลานนาไทย มากักขังไว้ที่วัดศรีดอนไชย เชียงใหม่ หลวงปู่ฯมีความเคารพ และเลื่อมใสในครูบาเจ้าฯเป็นอย่างยิ่ง ก็ให้รู้สึกเสียใจ และอยากจะไปกราบนมัสการให้กำลังใจท่าน ได้ชักชวนพระสงฆ์ และชาวบ้านให้พากันไปเยี่ยม แต่คนทั้งหลายกลัวจะถูกตำหนิ หรือถูกกลั่นแกล้งจากทางราชการ ในที่สุดก็เดินทางไปกับเณร และลูกศิษย์เพียง ๒-๓ คนเท่านั้น ได้เดินทางประมาณ ๑๕-๑๖ กิโลเมตรกว่าจะถึงวัดศรีดอนไชย เมื่อเข้าไปภายในพระวิหารนั้น เขาใช้เชือกมนิลาเส้นโต ผูกเสาวิหารไว้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนคอกหมู ภายในคอกสี่เหลี่ยมนั้น มีพระสงฆ์รูปหนึ่งสูงอายุนั่งอยู่ด้วยอาการสงบ ในลักษณะขัดสมาธิ ห่มผ้าสีกลัก มีลูกประคำ เส้นโตๆ คล้องคอ กำลังนับลูกประคำนั้นอยู่ จึงคลานเข้าไปกราบตรงหน้า

ในขณะที่กราบลงไปนั้นก็เกิดอารมณ์อ่อนไหว จิตใจอ่อนแอจนร้องไห้ออกมาโฮใหญ่ ด้วยอารมณ์สงสารในครูบาศรีวิชัย ที่ต้องมาถูกจองจำ และจะถูกจับสึกที่กรุงเทพฯ เสียงร้องไห้สะอึกสะอื้นของพระคำแสนในขณะนั้น คงจะทำให้ท่านครูบาฯออกจากการปฏิบัติ เพราะได้เอื้อมมือมาตบที่ไหล่ พร้อมกับดุว่า ท่านเป็นพระจะร้องไห้ไม่ได้ พระเป็นผู้ตัดแล้วซึ่งกิเลส เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องระงับอารมณ์ ไม่ให้มีการร้องไห้เด็ดขาด ขณะเดียวกันก็เริ่มสอนให้นั่งขัดสมาธิ เอามือประสานกันวางไว้บนตัก หลับตาพร้อมกับท่องคำ นโม ในใจ หลายสิบหลายร้อยจบให้ท่องไปเรื่อยๆ พระคำแสนก็ปฏิบัติตามคำสั่ง ท่องไปท่องมาไม่นานอาการ สะอื้น และน้ำตาก็หายไป ครูบาฯจึงสั่งให้ลืมตาขึ้น แล้วก็สอบถามว่าเป็นใครมาจากไหน

พระคำแสนก้มลงกราบแทบเท้า และนมัสการว่า มาจากอำเภอ สันกำแพง ครูบาฯได้เทศน์อบรมเกี่ยวกับขันติให้พระคำแสนฟัง พร้อมกับแนะนำสั่งสอนให้ศึกษาวิปัสสนาธุระ โดยเริ่มต้นปฏิบัติดังที่ได้ทำมาแล้วเมื่อสักครู่ แล้วก็ให้นมัสการลา จึงนับว่าเป็นบทเรียนบทแรกในชีวิต เกี่ยวกับการศึกษาวิปัสสนา และท่านก็ดิ้นรนหาลู่ทางจะศึกษาในเรื่องนี้ จากทุกแห่งที่มีข่าวว่ามีอาจารย์สอน ต่อมาเมื่อท่านได้เรียนกัมมัฏฐานจากท่านครูบาแก้ว ชัยยะเสโน แล้วท่านก็ขอลาพระอาจารย์ ออกเดินธุดงค์จาริกไปในที่ต่างๆ เมื่อถึงคราวเข้าพรรษา ท่านจึงจะกลับมาอยู่ที่วัดดอนมูล

พออายุได้ ๓๔ ปี ๑๓ พรรษา ท่านเจ้าอาวาสก็มรณภาพลง ทางคณะศรัทธาจึงได้นิมนต์หลวงปู่คำแสน เป็นเจ้าอาวาสแทนสืบต่อมา... จนท่านมีอายุได้ ๓๙ ปี ๑๘ พรรษา มีพระธุดงค์ชื่ออาจารย์แหวน สุจิณโณ เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่อู่ทรายคำ ในเมืองเชียงใหม่ เมื่อหลวงปู่ทราบดังนั้น ท่านได้ให้โยมไปนิมนต์ พระอาจารย์แหวน ให้มาเผยแพร่ อบรมศรัทธาที่วัดดอนมูล ต่อมาท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้มาพำนักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง พระอาจารย์แหวน และหลวงปู่คำแสน ก็ได้ไปนมัสการ และได้ มอบกาย มอบจิตถวาย เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น แต่บัดนั้นมา ...

ต่อมาท่านอาจารย์แหวน ท่านได้จาริกไปๆ มาๆ ในเมืองเชียงใหม่ และไปจำพรรษา ที่วัดป่าห้วยน้ำริน อ.แม่แตง ส่วนหลวงปู่คำแสนหลังจากได้เรียนพระกัมมัฏฐาน จากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ย่างกุ้ง หงสาวดี แล้วเดินย้อนกลับ เดินธุดงค์ไปสู่ภาคอีสาน ไปอยู่กับท่านอาจารย์สิงห์ที่โคราช แล้วกลับขึ้นไปทางเหนืออีก ที่ใดเป็นที่วิเวกเป็นป่าเปลี่ยวท่านก็ได้พักภาวนา ตามอัธยาศัยของท่าน ระยะหลังๆ ท่านได้ ไปอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์แหวน ตามวัดป่าต่างๆ ๑ พรรษาบ้าง ๒ พรรษาบ้าง แม้เมื่อท่านอาจารย์แหวนย้ายไปจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ หลวงปู่ฯ ก็ไปมาคารวะท่านอาจารย์อยู่เสมอๆ (ท่านเป็นลูกศิษย์เพียงองค์เดียว ที่ท่านอาจารย์มั่นอนุญาตให้อยู่ในมหานิกายได้ ไม่ต้องญัตติใหม่เป็นธรรมยุติกนิกาย) ... หลวงปู่ได้มรณภาพ ในวันอาทิตย์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ อายุได้ ๘๖ ปี ๖๘ พรรษา ...

หลวงปู่ครูบาคำแสน ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านจะพาลูกศิษย์ลูกหา เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่คำแสน อันเป็นการแสดงให้ญาติโยมทั้งหลาย ได้ทราบว่าประเทศไทยนั้น มิได้ว่างเว้นจากพระอริยสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบเลย

 
     
โดย : luknumkan   [Feedback +19 -0] [+1 -0]   Sun 27, Feb 2022 11:02:23
 








 
 
โดย : luknumkan    [Feedback +19 -0] [+1 -0]   [ 1 ] Sun 27, Feb 2022 11:03:22









 
 
โดย : luknumkan    [Feedback +19 -0] [+1 -0]   [ 2 ] Sun 27, Feb 2022 11:04:43

 
เหรียญทวีลาถ ครูบาคำแสน เนื้อเงิน : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.