รูปหล่อรุ่นแรก ครูบาขันแก้ว อุตตฺโม วัดสันพระเจ้าแดง หน้าตัก5นิ้ว วัดสันพระเจ้าแดง ปี พ.ศ.2521
จัดสร้างน้อยมาก จำนวนเพียง250องค์เท่านั้น ออกแบบการปั้นหุ่นโดย อ.กนก บุญโพธิแก้ว งดงามและเหมือนท่านมาก
ก้นดินไทน อุดผงแก้วสามดวงหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค ตอกโค๊ต .ผิวหิ้งแห้งๆสวยเดิมๆครับ
ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ถือเป็นพระเกจิล้านนาอีกท่านหนึ่งที่เป็นทั้งนักพัฒนา นักเทศน์ และยังมีฝีมือทางด้านศิลปะ ขณะครูบาขันแก้ว พรรษาที่ ๘ อายุ ๓๐ ปีตรงกับพ.ศ. ๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาจาริกธุดงค์มาบูรณะพระเจดีย์ และพระวิหารที่ “ดอยห้างบาตร” ครูบาศรีวิชัยได้เห็นฝีมือความสามารถทางช่างและอินทรีย์ที่ผ่องใสจากการปฏิบัติธรรม จึงได้มอบหมายให้ดูแลการบูรณะพระเจดีย์และพระวิหารแทน ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะได้จาริกธุดงค์ต่อไป ได้ให้พรครูบาขันแก้ว อุตตโม ว่า
“ให้ตุ๊น้องจงปฏิบัติธรรมจนไม่หวั่น ไหวในโลกธรรม ๘”
พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้วอุตตโม) อดีตเจ้าอาวาส วัดสันป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๑๔ พ.ย.๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุนที่ ต.ห้วยยาบ อ.เมือง จ.ลำพูน มีนามเดิมว่า ขันแก้ว นามสกุล อิกำเหนิด บิดาชื่อ นายอินตา อิกำเหนิด มารดาชื่อ นางสม อิกำเหนิด ท่านครูบามีพี่น้องเกิดท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นน้องหญิง ๓ คน น้องชาย ๑ คน คือ
๑. พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว อุตตโม)
๒. ด.ญ.อุ่น อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)
๓. นางบัวเขียว อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)
๔. นายก๋อง อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมแต่มีบุตรหลานสืบสกุลอยู่ในปัจจุบันนี้)
๕. นางทา อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)
โยมปู่ครูบาขันแก้ว ได้อพยพครอบครัวมาจาก ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูนมาอยู่ ต.ห้วยไซก่อน แล้วจึงได้อพยพย้ายครอบครัวลงมาอยู่ที่ ต.ห้วยยาบ ตั้งรกรากใกล้กับวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ซึ่งเป็นวัดร้าง และได้เป็นหัวหน้าบูรณะ ซ่อมแซมก่อสร้างจนเป็นวัดขึ้นมาตราบจนทุกวันนี้
พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้ว อุตตโม) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ณ วัดป่ายาง อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดต้นปิน ต.บ้านธิ อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระอธิการแก้ว (ครูบาอินทจักโก) วัดป่าลานเป็นพระอุปัชณาย์ ได้ฉายาว่า “อุตตโม” พรรษาที่ ๔ อายุได้ ๒๕ ปี ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ จ.ลำพูนให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่ายาง เมื่อพ.ศ.๒๔๖๘
พรรษาที่ ๖ อายุได้ ๒๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยยาบและเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะตำบลบ้านธิอีกตำแหน่ง ปกครองดูแลวัดทั้ง ๒ ตำบลถึง ๖๘ วัด พรรษาที่ ๓๒ อายุได้ ๕๓ ปี ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นประทวนและในพรรษานี้ได้ไปบำเพ็ญมหากุศล มหาวิบากญาณรัมปยุต ๑๓ และมหากิริยาจิตเข้า “อภิสัญญาณโรธ”กับครูบาชุ่มโพธิโก ณ “ดอยห้างบาตร” เมื่อบำเพ็ญทุกข์กิริยาเพื่อให้เกิด “วิปัสสนาญาณ” ได้ “ธรรมจักษุ” (ดวงตาเห็นธรรม) ๗ วัน ๗ คืน ใน ๔ อิริยาบถ พรรษาที่ ๔๙ อายุได้ ๗๐ ปี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอุดมขันติธรรม”
ในปีพ.ศ.๒๕๒๑ และปีพ.ศ.๒๕๒๓ ครูบาขันแก้วได้เมตตาต่อคณะศิษย์วัดมีพรหมโพธิโก แสดงมหากิริยาจิต กำหนด “สุขวิปัสสก” ด้วยโสมนัสสหคตังญาณ สมปยุตตัง อสังขาริกัง ให้เกิด ”ปัญญาวิมุตติ” ได้”ธรรมจักษ์” ประหารกิเลสด้วย “สมุทจเฉทประหาร” และกำหนดมหากิริยาจิตแสดง “นิพพานัสส รจังฉิกิริยา” (การทำให้แจ้งในพระนิพพาน) ด้วยอารมณ์การได้ “มงกฎพระเจ้า” ดวงตาของครูบาขันแก้ว อุตตโม ได้เปลี่ยนสีจากสีเนื้อลูกลำไย เป็น “สีฟ้าเข้มทั้งดวงตา” แสดงถึงกิริยาของผู้หมดกิเลสเป็นการเปิดภูมิปัญญาในโลกุตรภูมิ เบื้องต้นและโลกุตระภูมิสูงสุด พระเมตตาคุณที่ได้แสดงมหากิริยาจิตในการโปรดสัตว์ทั้งสองครั้งนี้ ยากที่จะลืมเลือนได้
หลวงปู่ขันแก้ว เป็นเพื่อนรักของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย และก็ได้มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบำเพ็ญกุศลช่วยงานศพอยู่ทุกคืนน่าจะนิมนต์มาท่านมาร่วมด้วย จะเคยปลุกเสกหรือไม่เคยปลุกเสกไม่สำคัญ คณะกรรมการวัดก็เลยนิมนต์ หลวงปู่ครูบาขันแก้ว มาร่วมพิธีด้วยแสดงความมหัศจรรย์นั่งเคี้ยวเมี่ยงในงานพุทธาภิเษก
พิธีปลุกเสกได้เริ่มในตอนกลางคืนวันที่ 18 ก.พ. 2520 เวลา19.50น หลวงปู่ขันแก้ว ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาพระประธาน หลวงปู่อีก3 องค์คือ หลวงปู่อินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง ท่านเจ้าคุณญาณ วัดมหาวัน หลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญไชย นั่งหลับตาแผ่อำนาจจิตปลุกเสก แต่หลวงปู่ขันแก้วกับนั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงอยู่เบิกตากว้างมองดูเฉยๆๆ ชาวบ้านวัดวังมุ่ยเริ่มมีปฎิกริยาพึมพำพูดกันว่าใครหนอนิมนต์ตุ๊เจ้าที่ปลุกเสกไม่เป็นมาร่วมพีธี ทำเอาเจ้าคณะตำบลประตูป่าเข้ามาพูดกับคุณพ่อสมสุขว่า โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา พวกที่ชมและชาวบ้านในพีธีบ่นว่าไปเอาพระที่ไหนมา ดูซินั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย คุณพ่อบอกว่าผมนิมนต์มาเองขอให้รอดูประเดี๋ยว
คุณพ่อยังนึกอยู่ว่านั่งเบิกตาอย่างนี้เคยเห็นที่ไหน หลวงปู่ขันแก้วนั่งลืมตาอยู่เกือบ15 นาที่ ประกายตากร้าวแข็ง ส่วนองค์อื่นท่านนั่งหลับตาตามความถนัดของท่าน ส่งกระแสจิตออกมาปลุกเสก หลวงปู่ขันแก้ว ปลุกเสกด้วย เมตตาเจโตวิมุติ หลวงปู่เริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ โดยนั่งห้อยเท้า ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้า ขณะนั้นช่างภาพก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น ทันที่ที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้านัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กระพริบ ช่างภาพอีกหลายคนก็เข้าไปถ่ายแสงไฟสว่างจ้าแต่นัยต์ตาของหลวงปู่ก็อยู่อย่างปกติคือลืมตาอย่างนั้นไม่กระพริบเลย หลังจากนั้นช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เข้าไปถ่ายซึ่งไฟแฟล็ชแรงกว่ามากก็เข้าไปถ่ายผลปรากฎ ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบเป็นเวลานาน คนธรรมดาไม่สามารถทำได้อย่างแน่ เปิดภูมิปัญญาโลกุตระด้วยมหากริยาจิต
คุณพ่อเข้าใจทันที ที่นึกว่าเคยเห็นที่ไหนก็นึกออกว่าเคยเห็น หลวงปู่พรหม ถาวโร แห่งวัดช่องแค ท่านปลุกเสก พระแสงแฟล็ช ถ่ายรูปไม่ทำให้ นัยน์ตา ท่านกระพริบและท่านก็นั่งลืมตาปลุกเสกความจริงแล้วหลวงปู่ขันแก้วไม่ได้มีเจตนาจะแสดงอภินิหารหรืออวดเป็นเพียงการนั่งปลุกเสกของผู้สำเร็จอานาปานสติกรรมฐาน คือสมาธิแบบลืมตาและนั่งหายใจออก หายใจเข้าจนได้ดวงตาเห็นธรรมและใจหมดอาสวะกิเลสเป็นแบบสมาธิที่ถูกต้องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักฐานแสดงในอานาปาสติสูตรจากหนังสืองานพระศพของหลวงปู่ขันแก้วที่คุณพ่อสมสุข
พระอริยะสงฆ์ผู้ที่จารึกว่า พระผู้อุดมด้วยวิชชา และวิมุตฺติ มีไว้บูชาติดตัว ติดบ้านร่มเย็นเป็นสุข กันภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งปวงครับ
|