พระบูชาพระพุทธบุพพาภิมงคล
วัดบุพพาราม เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ เดิมมีชื่อเรียกตามสำเนียงชาวบ้านล้านนาว่า วัดอุปปา ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมืองเชียงใหม่ ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 49 ปีเมื่อปีพ.ศ.2519 ทางพระราชพุทธิญาณ (พระครูมงคลศีลวงศ์)เจ้าอาวาสวัดบุพพารามร่วมกับนาย.ชะลอ ธรรมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์โดยได้มีการปั้นหล่อโดยช่างฝีมือดีเป็นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งมีขนาดหน้าตัก 49 นิ้วเท่ากับพระชนมายุของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือที่ทางเหนือเรียกกันว่า"พระเจ้าค่าคิง" (เท่าตัว)
ซึ่งการเททองหล่อพระพุทธบุพพาภิมงคลนั้น ทางจังหวัดและวัดบุพพารามได้กราบบังคมทูลฯเสด็จพระราชดำเนินทรงเททององค์พระด้วยพระองค์เอง ในการนี้ทางพระครูมงคลศีลวงศ์ ได้ดำเนินการจัดสร้างพระบูชาพระพุทธบุพพาภิมงคล(จำลอง)ขนาดหน้าตักเก้านิ้วและหน้าตักหกนิ้วด้วยจำนวนหนึ่งซึ่งได้เข้าในพิธีเสด็จพระราชดำเนินทรงเททองในครั้งนี้ด้วย พระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธบุพาภิมงคล" นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง
พระพุทธรูปบูชาขนาดหน้าตัก ๖ นิ้วฐานกว้าง ๑๑ นิ้วสูง ๑๑ นิ้วครึ่งใต้ฐานอุดปูนโรยพลอยแดงและฝังพระผงรูปเหมือนครูบาคำแสน อินทจักโก แห่งวัดสวนดอกไว้อีกหนึ่งองค์
พระบูชาพุทธบุพพาภิมงคล ปี 2519 ขนาด 5.9 นิ้ว
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จเททอง
จัดสร้างโดยพระครูมงคลศีลวงศ์ (ตำแหน่งในขณะนั้น ปัจจุบันท่านคือ เจ้าอาวาส วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่ และ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) ในปี 2519 ทางวัดมีความต้องการจัดหาทุนในการจัดสร้างหอมณเฑียรธรรม ของวัดบุพพารามโดยในวันทำพิธีมหาพุทธาภิเศก ทางวัดได้กราบบังคมทูลเชิญองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ พระประธานประจำหอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม โดยได้รับการประทานชื่อพระพุทธบุพพาภิมงคล โดย พระองค์ท่านได้พระราชทานพระนามของพระพุทธรูปว่า " พระพุทธบุพพาภิมงคล
รายชื่อพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก ๔๙ องค์
.
๑ . ) สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ(สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18)
๒ . ) สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19)
๓ . ) สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักรวรรดิ์ฯ
๔ . ) พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
๕ . ) พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตร
๖ . ) พระธรรมวโรดม วัดประทุมคงคา
๗ . ) พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
๘ . ) พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
๙ . ) พระเทพวิสุทธิโสภณ วัดเชียงราย
๑๐. ) พระเทพวิสุทธิ์ วัดเจดีหลวง
๑๒. )*ครูบาคำแสน อินฺทจกฺโก* วัดสวนดอก(บุปผาราม)
๑๓. )*ครูบาคำแสนเล็ก คุณาลงฺกาโล* วัดบ๊าดอนมูล
๑๓. ) ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
๑๔. ) ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
๑๕. ) หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาบ่อง
๑๖. ) พรอาจารย์หนู วัดแม่ปั่ง
๑๗. ) ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
๑๘. ) ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
๑๙. ) พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
๒๐. ) ครูบาบุญมี(พระครูธรรมธร) วัดท่าส๋อย
๒๑. ) ครูบาคำบัน(พระครูมงคลคุณาทร) วัดหม้อคำดวง
๒๒. ) ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
๒๓. ) ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
๒๔. ) ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
๒๕. ) ครูบาจินา วัดท่าข้าม
๒๖. ) ครูบาคำตันดินจืน วัดดอนจืน
๒๗. ) พระอาจารย์ทองบัว วัดโรงธรรม
๒๘. ) ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดทุ่งจำปี
๒๙. ) พระประสาท สุตาคม วัดจามเทวี
๓๐. ) พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธ
๓๑. ) ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
๓๒. ) พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
๓๓. ) ครูบาเมือง วัดท่าแหน
๓๔. ) ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
๓๕. ) พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
๓๖. ) ครูบาอินโต วัดบุญยืน
๓๗. )*หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี*
๓๘ . ) ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
๓๙. ) พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
๔๐. ) พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
๔๑. ) พระญาณมงคล วัดมหาวัน
๔๒. ) หลวงพ่อแพ วัดพิกุทอง
๔๓. ) หลวงพ่อนอ วัดกลาง
๔๔. ) หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
๔๕. ) หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
๔๖. ) หลวงพ่อถีร วัดป่าเรไลย์
๔๗. )*พระอาจารย์ มหาวีระ *(หลวงพ่อฤษีลิงดำ) วัดท่าซุง
๔๘. )*พระอาจารย์ผั้นอาจาโร* วัดป่าอุดมพร
๔๙. ) พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา
ช่างภาพ. สมชาย ลาสุทธิ
|