พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ปี 06หน้าธิเบต


พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ปี 06หน้าธิเบต


พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ปี 06หน้าธิเบต

   
 

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ปี 06 พิมพ์หน้าธิเบต
รายละเอียด
พระกริ่งหลังปิ หน้าธิเบต ปี2506 (สร้างน้อย) หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จารยันต์กอหญ้า

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) พระกริ่งวัดสุทัศนเทพวรารามที่สืบสานตำราการสร้างต่อมาอีกรุ่นหนึ่งที่น่า สนใจมิน้อยทีเดียว เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์ ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เหตุที่ดำเนินการสร้างพระกริ่งนั้น ด้วยในระหว่างนั้นสภาพของทางวัดสุทัศนเทพวรารามชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ประกอบกับสภาพวัดที่ใหญ่โต หากบูรณะก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ขึ้น พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีขนาดความสูง 3.2 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.9 เซนติเมตร ฐานบัวมี 7 คู่ ด้านหลังมีโค้ตตัว "ปิ" มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมา มีจำนวนสร้างมากถึง 10,000 องค์ ประกอบพิธีเททองและพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน มีพระเกจิอาจารย์ร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก กระแสเนื้อเดิมเป็นสีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาว มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย โค้ตตัว "ปิ" อาจไม่ได้ตอกตรงฐานหลัง แต่จะมีการตอกตรงก้นฐานที่เว้าเป็นแอ่งกระทะก็มี และรอยจารที่ฐานชั้นล่างเกือบจะทุกองค์ด้วย จารดังกล่าวเป็นจารยันต์กอหญ้า โดยหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสร้างพระกริ่ง หลังปิ ในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เหตุที่ดำเนินการสร้างพระกริ่งนั้น ด้วยในระหว่างนั้นสภาพของทางวัดสุทัศนเทพวรารามชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ประกอบกับสภาพวัดที่ใหญ่โต หากบูรณะก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ขึ้น ด้านหลังมีโค้ตตัว "ปิ" อาจไม่ได้ตอกตรงฐานหลัง แต่จะมีการตอกตรงก้นฐานที่เว้าเป็นแอ่งกระทะก็มี เพื่อแยกความแตกต่างพระซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระ มงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) เมื่อประกอบพิธีเททองพระกริ่งเสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระ คณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วย เป็นเวลาทั้งสิ้นปีเต็ม แล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวันที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป อาทิเช่น
๑. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ๒.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช ๓.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ๔.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ๕.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
๖. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
๗.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ
๘.หลวงพ่อถิร์ วัดป่าเลไลยก์ ๙.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง ๑๐.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
๑๑.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
๑๒.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
๑๓. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๔.พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ๑๕.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม ๑๖.หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ๑๗.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต ๑๘.หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
๑๙.หลวงปู่นาค วัดระฆัง ฯลฯ เป็นต้น

กระแสเนื้อเดิมเป็นสีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย
พระกริ่งหลัง”ปิ”เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์เสงี่ยมสร้างไว้เมื่อ คราวปี พ.ศ.๒๕๐๖และปลุกเสกใหญ่ พ.ศ.๒๕๐๘ พระกริ่งดังกล่าวเป็นเนื้อนวโลหะสวยงาม ทำการหล่อแบบโบราณโดยนายช่างหรัส พัฒนางกูล ช่างประจำตัวของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) แต่หย่อนทางด้านความสวยงามเพราะพระทั้งหลายไม่ได้รับการตกแต่งภายหลังจากการ เททองแล้ว จำนวนการสร้างจริงๆในคราวนั้นสร้าง ๕,๐๐๐ องค์

พระกริ่ง”ปิ”ดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ดี เนื่องจากเหตุผล ๔ประการ ๑.พระกริ่งหลังปิสร้างด้วยเนื้อนวโลหะกลับดำสวยงามเป็นเนื้อนวโลหะแท้ของ ตระกูลวัดสุทัศน์ฯโดยตรงและท่านผู้สร้างก็เป็นศิษย์สายตรงของสมเด็จพระ สังฆราช(แพ)โดยเป็นพระปลัดขวาของสมเด็จฯ ๒.เนื้อหาชนวนดี พระกริ่งรุ่นนี้ได้ชนวนทุกรุ่นของสมเด็จสังฆราช(แพ)รวมกับชนวนของท่านเจ้า คุณศรีสัจจญาณมุนี(สนธิ์) ซึ่งสมเด็จพุฒาจารย์ได้นำลงมาจากพระตำหนักของสมเด็จสังฆราชด้วยตนเอง พร้อมได้รับเพิ่มเติมจากท่านเจ้าคุณแป๊ะ(พระราชวิสุทธาจารย์) เจ้าคณะ๖ ผู้เป็นอดีตคนรับใช้ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช(แพ)อีกเป็นจำนวนมาก กล่าวได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายที่มีการทุ่มเทชนวนของเก่าผสมอย่างมาก มาย ๓.บรรจุกริ่งพร้อมผงวิเศษ เมื่อเททองเป็นองค์พระและตัดออกมาแล้ว ยังได้ทำการบรรจุเม็ดกริ่งพร้อมกับผงวิเศษของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทำให้กริ่งรุ่นนี้ไม่ค่อยมีเสียงดังเมื่อเขย่า
๔.แล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวันที่๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘ เมื่อพระกริ่งเสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระ คณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์ด้วยเป็นเวลาทั้ง สิ้นปีเต็มแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวัน ที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป

 
     
โดย : น้อยชัยยันต์   [Feedback +6 -0] [+0 -0]   Fri 14, Feb 2020 16:35:09
 








 
 
โดย : น้อยชัยยันต์    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Fri 14, Feb 2020 16:38:14

 
พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ปี 06หน้าธิเบต : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.