ลักษณะพิมพ์ทรง เป็นไปในแบบเดียวกัน
ลักษณะเนื้อเป็นไปในแบบเดียวกัน
ผมเชื่อว่ามี เนื่องจากมีหลักฐานบางอย่างบ่งบอกว่าเป็นอ่างนั้น"จริง"
ผมเคยเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์เมื่อ สามปีก่อน สัปดาห์แรก ครั้งแรกที่ได้แสดงฝีมือ
พระรอดพิมพ์นี้มีรูปแสดงเอาไว้คู่กันกับพิมพ์หน้าหนู ในหนังสือลานโพธิ์ บอกว่าผู้ใดสนใจจะเช่า 100 บาท ไปที่วัดสุทัศน์เพื่อแจ้งความจำนงค์ได้ เพราะท่านเจ้าคุณสนธ์ ท่านนำเอามาจากวัดพระสิงห์เมื่อครั้งไปร่วมปลุกเสกพระรอดวัดพระสิงห์ ปี2496
ข้อนี้แสดงว่าพระรอด พระสิงห์หูขีดได้เข้าพิธีพร้อมกันกับพิมพ์อื่นๆ
ส่วนที่บอกว่ามีแม่พิมพ์แสดง แต่ไม่มีของพิมพ์นี้ ข้อนี้เป็นไปได้ เพราะประธานพิธีเขาเก็บแม่พิมพ์เอาไว้จริง กรณีนี้เกิดขึ้นกับปี12 พระร่วงหลังแบบเหมือนกัน
พระกลุ่มพระร่วงหลังแบบถูกนำเอามาจากแหล่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 2000 องค์ เพื่อเอามาเข้าร่วมพิธีด้วย ทำให้เนื้อหาต่างจากหลังรางปืน แต่สุดท้ายหลังแบบแพงกว่าหลังรางปืน
กรณีนี้ก็เหมือนกันแต่ต่างกันตรงที่เป็นพระรอดเหมือนกัน ทำให้มีการแจกจ่ายปนออกมาบ้าง เพราะสร้างไม่มาก เพราะพิมพ์นี้น่าจะถูกสร้างขึ้นโดยกรรมการท่านใดท่านหนึ่งเอามาร่วมพิธีด้วยแล้วแบ่งส่วนหนึ่งเพื่อให้วัดจำหน่าย
ทำให้พิมพ์นี้ไม่มีแม่พิมพ์ เพราะถ้าเป็นผมทำ ผมก็คงไม่เอาแม่พิมพ์มาส่งมอบหรอกครับ แต่ลักษณะการแกะพิมพ์และเนื้อเป็นไปในทางเดียวกัน
สรุปสุดท้ายคือผม เล่น ครับ เพราะเหตุผลทุกอย่างประกอบกันแล้วถือว่าไม่มั่ว ไม่ยัด และมีน้ำหนักเหตุผลเพียงพอ
ปล พิมพ์หูขีดของเก๊ก็มีนะครับ เล็กกว่า ตื้อนกว่า เนื้อไม่ใช่ ถ้าเป็นพระเก๊ที่เชื่อว่ามีคนทำขึ้นมา แล้วจะมี "เก๊ของเก๊ไปทำไม" |