แอนติคและเครื่องราง
สิงห์งาแกะ สิงห์สองขวัญ หลวงพ่อหอม
|
|
|
|
|
|
สิงห์งาแกะ สิงห์สองขวัญ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง
สิงห์งาแกะ หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จ.ระยอง ถ้ารังแกข่มเหงเขา สิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ" อมตะวาจาหลวงพ่อหอม วัดซากหมาก คราวมอบสิงห์งาแกะให้แก่ศิษย์ "สิงห์งาแกะ หลวงพ่อหอม วัดซากหมาก ระยอง" ศิลป์นิยม ยุคต้น หน้ามังกร สวยเดิม เก่าเก็บเดิมๆแห้งๆผิวหิ้ง สมบูรณ์สุดๆ หลวงพ่อหอมวัดชากหมาก ท่านก็ถือเป็นเลิศด้านสิงห์ไม่เป็นรองใครในยุคนั้น ร่ำลือกันว่าหลวงพ่อหอมท่านเสกสิงห์จนกระโดดโลดเต้นเมื่อท่านยังอยู่ ในสมัยนั้นใครไปขอบูชาสิงห์จากท่านหากท่านเมตตาท่านจะเอาสิงห์สองตัวมาหันหน้าเข้าหากัน ตั้งไว้ห่างกันสักศอก แล้วท่านจึงเสกจนสิงห์กระโดดเข้าหากันเป็นใช้ได้ หลวงพ่อหอมท่านได้ร่ำเรียนวิชาการสร้างและเสกสิงห์มาจากไหนนั้นท่านไม่เคยได้บอกใคร แต่ประสบการณ์สิงห์งาแกะของท่านนั้นหายห่วงครับ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าใคร มีอยู่ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าวัยรุ่นย่านบางรักกรุงเทพฯ ยกพวกต่อยตีกันเป็นมวยหมู่ มีการบาดเจ็บกันเป็นระนาว แต่ก็มีอยู่หลายคนที่ไม่เป็นอะไรเลยทั้งๆ ที่ได้เข้าไปประจัญบานกับเขาด้วยอย่างเมามัน ซึ่งภายหลังปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้รับบาดเจ็บนั้นล้วนแต่มี ”สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อติดตัวอยู่ทั้งนั้น สอบถามได้ความว่าเคยร่วมคณะกฐินจากกรุงเทพฯ ซึ่งไปทอดที่วัดซากหมากฯ แล้วเช่า“สิงห์งาช้าง”ของหลวงพ่อไปไว้ติดตัวกันคนละตัว ซึ่งครั้งแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ จนได้ประสบเหตุเข้ากับตัวเองจึงเชื่อและพาพรรคพวกเพื่อนฝูงเดินทางไปขอเช่าที่วัดกันอีกหลายคนด้วยกัน แต่หลวงพ่อก็เตือนว่า ”ถ้ารังแกข่มเหงเขา สิงห์ของพ่อไม่ช่วยนะ” เมื่อนายสงั่น ไตร่ตรอง ได้เป็นกำนันตำบลสำนักท้อนใหม่ๆ เคยขับรถยนต์ไปธุระที่สมุทรปราการพร้อมกับลูกบ้านอีก ๘ คนแต่พอรถไปถึงโค้งบางปิ้งซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโค้งผีสิง จะด้วยเหตุอันใดก็ไม่อาจทราบได้รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำไปหลายตลบ เผอิญมีตำรวจอยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์เข้าคิดว่าจะต้องมีคนในรถได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงตายแน่ๆ จึงรีบวิ่งเข้าไปเพื่อจะช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน แต่เมื่อเข้าไปถึงก็ต้องประหลาดใจอย่างมาก เพระไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดที่อยู่ในรถคันนั้นได้รับบาดเจ็บกันเลย ซึ่งต่อมาเมื่อมีการสอบถามกันขึ้นด้วยความสงสัย จึงทราบว่าทุกคนที่ไปกันในรถคันนั้นต่างก็มี “สิงห์งาช้าง” ของหลวงพ่อหอมติดตัวกันทั้งนั้น เครดิตข้อมูล : ส่วนหนึ่งจาก จากหนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูภาวนานุโยค (หอม จนฺทโชโต) ขอกราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|