พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

เกษาครูบาครูบาศรีวิชัย


เกษาครูบาครูบาศรีวิชัย


เกษาครูบาครูบาศรีวิชัย

   
   
     
โดย : ball   [Feedback +6 -0] [+0 -0]   Thu 19, Jan 2017 21:12:39
 








 
 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Thu 19, Jan 2017 21:13:13









 

พระสังกัจจายน์ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ เนื้อผงคลุกรัก พิมปั้น

มีการปิดทองโบราณเก่ามาก 

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Thu 19, Jan 2017 21:22:12









 

หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม ท่านทำให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อโดยเฉพาะในเรื่องการกราบ ไหว้องค์ราหู เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพร เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังหรือได้ไปมาบ้างแล้ว "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำอัตโนประวัติโดยย่อและเรื่องราวของวัตถุมงคล "ราหูอมจันทร์"

หลวงพ่อน้อย ศัสธโชโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ที่เมืองนครชัยศรี บิดาเป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลังต่างๆ หลวงพ่อน้อยจึงได้ศึกษากับบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดแค โดยพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแคเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุลอย วัดแค เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ศัสธโชโต"

ต่อมาท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศีรษะทอง ในสมัยที่พระอธิการลีเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด หลวงพ่อน้อยได้ฝึกฝนวิทยาอาคมจนแตกฉาน ท่านเป็นพระภิกษุที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือกิจต่างๆ ของวัด ทั้งได้สร้างพระและเครื่องรางของขลังต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการพัฒนาวัดศีรษะทองจน เจริญรุ่งเรือง ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระอธิการช้อย ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาจนมรณภาพในปี พ.ศ. 2490 สิริอายุได้ 55 ปี

ราหูหลวงพ่อน้อย" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน เพราะมีคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งด้านโชคลาภ การพ้นเคราะห์ และเสริมดวงชะตา กรรมวิธีการสร้างนั้นหลวงพ่อน้อยสืบทอดมาจากหลวงพ่อไตร อันเป็นการสร้างตามตำรับใบลาน จารอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ซึ่งก็คือการใช้ "กะลาตาเดียว" มาแกะนั่นเอง

"ราหูหลวงพ่อน้อย" แบ่งการแกะออกเป็น 2 ฝีมือ คือ ฝีมือช่างฝีมือภายในวัดและฝีมือชาวบ้าน ส่วนลายมือในการจารนั้นมี 4 ท่าน คือ หลวงพ่อน้อย ช่างลี ลูกศิษย์ตาปิ่น และพระอาจารย์สม ดังนั้นรูปแบบของราหูหลวงพ่อน้อยจึงมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือและลายมือของ แต่ละท่าน ไม่เป็นมาตรฐานแปะๆ แบบการหล่อที่มีแม่พิมพ์ ประเด็นสำคัญอยู่ที่หลวงพ่อน้อยท่านเป็นผู้ปลุกเสกเองทั้งหมด

ของดีๆ อย่างนี้ มีการเลียนแบบแน่นอน ดังนั้นพิจารณาให้ดีจากความเก่าและความเป็นธรรมชาติของเนื้อกะลาที่นำมาแกะ ถ้ากะลาที่ไม่ได้ผ่านการใช้เลยจะมีความแห้งและดูเก่า ส่วนกะลาที่ผ่านการใช้มาแล้ว เนื้อจะดูเป็นขุยและยุ่ย 
บอกได้คำเดียวว่า 1 เดียวในโลก!!
ปล....เพิ่มเติมข้อมูล

4. สิ่งแวดล้อมพิเศษหรือการมีลักษณะพิเศษของพระราหูอมจันทร์ คือโดยส่วนมากของคหบดีในจังหวัดนครปฐมนั้น เมื่อได้พระราหูอมจันทร์จากหลวงพ่อน้อยก็มักจะนำพระราหูองค์นั้นไปเลี่ยม เป็นกรอบทองคำ,นาคและเงิน ถ้าพระราหูอมจันทร์อันใดถูกปิดด้านหลังที่หลวงพ่อน้อย ท่านจะให้นำแผ่นทอง,แผ่นเงินและแผ่นนาคมาให้ท่านจารอักขระแล้วนำไปติดด้าน หลังในการเลี่ยมแต่ละอัน 

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Thu 19, Jan 2017 21:27:45









 

หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม ท่านทำให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อโดยเฉพาะในเรื่องการกราบ ไหว้องค์ราหู เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพร เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังหรือได้ไปมาบ้างแล้ว "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำอัตโนประวัติโดยย่อและเรื่องราวของวัตถุมงคล "ราหูอมจันทร์"

หลวงพ่อน้อย ศัสธโชโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ที่เมืองนครชัยศรี บิดาเป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลังต่างๆ หลวงพ่อน้อยจึงได้ศึกษากับบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดแค โดยพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแคเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุลอย วัดแค เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ศัสธโชโต"

ต่อมาท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศีรษะทอง ในสมัยที่พระอธิการลีเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด หลวงพ่อน้อยได้ฝึกฝนวิทยาอาคมจนแตกฉาน ท่านเป็นพระภิกษุที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือกิจต่างๆ ของวัด ทั้งได้สร้างพระและเครื่องรางของขลังต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการพัฒนาวัดศีรษะทองจน เจริญรุ่งเรือง ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระอธิการช้อย ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาจนมรณภาพในปี พ.ศ. 2490 สิริอายุได้ 55 ปี

ราหูหลวงพ่อน้อย" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน เพราะมีคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งด้านโชคลาภ การพ้นเคราะห์ และเสริมดวงชะตา กรรมวิธีการสร้างนั้นหลวงพ่อน้อยสืบทอดมาจากหลวงพ่อไตร อันเป็นการสร้างตามตำรับใบลาน จารอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ซึ่งก็คือการใช้ "กะลาตาเดียว" มาแกะนั่นเอง

"ราหูหลวงพ่อน้อย" แบ่งการแกะออกเป็น 2 ฝีมือ คือ ฝีมือช่างฝีมือภายในวัดและฝีมือชาวบ้าน ส่วนลายมือในการจารนั้นมี 4 ท่าน คือ หลวงพ่อน้อย ช่างลี ลูกศิษย์ตาปิ่น และพระอาจารย์สม ดังนั้นรูปแบบของราหูหลวงพ่อน้อยจึงมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือและลายมือของ แต่ละท่าน ไม่เป็นมาตรฐานแปะๆ แบบการหล่อที่มีแม่พิมพ์ ประเด็นสำคัญอยู่ที่หลวงพ่อน้อยท่านเป็นผู้ปลุกเสกเองทั้งหมด

ของดีๆ อย่างนี้ มีการเลียนแบบแน่นอน ดังนั้นพิจารณาให้ดีจากความเก่าและความเป็นธรรมชาติของเนื้อกะลาที่นำมาแกะ ถ้ากะลาที่ไม่ได้ผ่านการใช้เลยจะมีความแห้งและดูเก่า ส่วนกะลาที่ผ่านการใช้มาแล้ว เนื้อจะดูเป็นขุยและยุ่ย 
บอกได้คำเดียวว่า 1 เดียวในโลก!!
ปล....เพิ่มเติมข้อมูล

4. สิ่งแวดล้อมพิเศษหรือการมีลักษณะพิเศษของพระราหูอมจันทร์ คือโดยส่วนมากของคหบดีในจังหวัดนครปฐมนั้น เมื่อได้พระราหูอมจันทร์จากหลวงพ่อน้อยก็มักจะนำพระราหูองค์นั้นไปเลี่ยม เป็นกรอบทองคำ,นาคและเงิน ถ้าพระราหูอมจันทร์อันใดถูกปิดด้านหลังที่หลวงพ่อน้อย ท่านจะให้นำแผ่นทอง,แผ่นเงินและแผ่นนาคมาให้ท่านจารอักขระแล้วนำไปติดด้าน หลังในการเลี่ยมแต่ละอัน 

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Thu 19, Jan 2017 21:30:03









 

ไม้ครู หลวงปู่ภู สุดยอดเครื่องรางหายาก 1ในสุดยอดเครื่องรางที่ติดอันดับต้นๆของไทยเลยค่ะ ประวัติการสร้างไม้ครูของท่าน สุดยอดเป็นที่สุด กว่าจะได้ไม้ครูแต่ละชิ้น ไม่ได้ทำได้ง่ายๆเลย ประวัติ และ ขั้นตอนการสร้าง แสนจะซับซ้อน ร่ายมนต์ คาถา ตั้งจิตรภาวนา สุดยอดจริงๆค่ะ ไม้ครูที่ท่านสร้าง นั้นสามารถบนบอกได้ด้วย ไม้ครูของหลวงปู่ ต้องเป็นไม้ไผ่ยืนต้นตายพรายกลางกอ และมีโขลงช้างข้ามกอไผ่ จากนั้นนำมาจักเป็นเส้นตอกแล้วลงอักขระบรรจุไว้ในไม้ไผ่อีกทีหนึ่ง เสร็จแล้วท่านก็เอาชันโรงปิดหัวปิดท้ายก่อนตัดต้องประกอบพิธีพลีกรรม โดยตัดเอาเฉพาะกิ่งที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออก ตัดเอาเฉพาะท่อน และ ในการสร้างยังมีพิธีกรรมที่สลับซับซ้อนอีกหลายขั้นตอน กว่าจะสำเร็จเป็นไม้ครู จึงมีพุทธคุณครอบจักรวาลเลยทีเดียวตามแต่ผู้บูชาจะอธิษฐาน เช่น กันภูตผีปีศาจ กันเสนียดจัญไร คุณไสยต่างๆ ฯลฯ อย่าได้ไปตีหัวใครเล่นไปเรื่อย เป็นบล้า เป็นบอ ได้เลยค่ะ  

   ไม้ครูที่ลงอยู่นี้จัดว่าสวย สมบูรณ์มากค่ะ ความยาวประมาณ 12 นิ้ว ค่ะ กว้างประมาณ 1 นิ้ว สวยเดิมๆ เจ้าของเก็บดีมาก 

คาถาที่ใช้บูชาไม้ครูของหลวงปู่ภู ให้ว่านะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่ภูแล้วท่องคาถาว่าดังนี้ “คะเตสิ คะเตสิ กิงกะระนัง กิงกะระนัง อะหังปิตตัง ชานามิ ชานามิ สี่คนเดินหน้า ห้าคนเดินหลัง โอมกะรัง กะรัง” เดินภาวนาไปเรื่อยๆ ข้อสำคัญ ท่านต้องเซ่นด้วยหมูนอนตอง(หมูสามชั้นต้มสุกวางบนใบตองห่อ) ทุกๆวันอังคารและวันเสาร์

วิธีบนคือ ทุกวันเสาร์หรือวันอังคารให้นำเอาหมูนอนตอง วางเลยชายคาบ้านแล้วบนเอาเถิด เทวดาที่รักษาองค์ไม้ครูก็จะออกมา หากสำเร็จดังที่บนไว้ก็ขอให้ทำอย่างที่บนไว้ อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ภู ให้รุกขเทวดาที่รักษาองค์ไม้ครู และผู้ร่วมสร้าง

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Thu 19, Jan 2017 21:34:20









 

ตะกรุดหลวงพ่อทบถักด้ายดิบเคลือบยางไม้ สวยเดิมๆค่ะ ระดับแชมป์ ยาว 12 เซนติเมตร กว้าง 1.2เซนติเมคชตรค่ะ  ดอกนี้สมบูรณ์มากจริงๆ สวยเดิมๆ 

ข้อมูลตะกรุดหลวงพ่อทบค่ะ

ตะกรุดของหลวงพ่อทบผู้ที่ชื่นชอบตะกรุดเครื่องรางและสายานุศิษย์ของท่าน แบ่งให้เป็น ๓ ยุค คือยุคต้นท่านสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลงไปยุค กลางสร้างหลังปี พ.ศ.๒๕๐๐ไปจนมาถึงปี พ.ศ.๒๕๐๙ และยุคปลายสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๙ ลักษณะและการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบจะสังเกตจากลักษณะชนิดของเชือก การถักเชือก ลายถัก โลหะที่ใช้ทำตะกรุด การลงรัก และการตีหัวตะกรุดทั้งสองด้าน นี้คือลักษณะการพิจารณาตะกรุดของหลวงพ่อทบ(หลัดเกณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นพื้นฐานในการดูตะกรุดของทุกสำนัก และผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางจะต้องรู้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว) ในที่นี้เราจะมาเอยถึงตะกรุดดอกนี้ว่าทำไมถึงดูรู้ว่าเป็นยุคแรก ยุคต้นกัน อันดับแรกเรามาพิจารณา ถึงเส้นเชือกของตะกรุดดอกนี้กันคือ ๑.เส้นเชือกที่นำมาถักเป็นเชือกปอ เป็นเชือกที่ผลิตจากใยธรรมชาติ หรือปอผสมใยสับปะรด ซึ่งยุคกลางกับยุคปลายเป็นเชือกไนล่อน(Nylon)และเชือกไนล่อน(Nylon)แบบเอ็นตกปลาล้วนๆ...๒.เป็นตะกรุดอั่วสองชั้น(สองกษัตริย์)ที่เนื้อทองแดงและเนื้อตะกั่วรวมทั้งเส้นเชือกถักกอดรัดตัวจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันโดยธรรมชาติอายุความเก่า...๓.ลักษณะของรักที่ลงเก่าแห้งแตกเป็นเกร็ดเก่าถึงอายุดูมันส์มากๆ...๓.รอยขึ้นและรอยจบการถักเชือกของตะกรุดทั้งสองด้านซึ่ง เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตะกรุดยุคแรกๆของท่านคือพันผูกเป็นเงื่อนกันหลุดแล้วเอาส่วนปลายเชือกทั้งสองด้านยัดไว้ด้านในแล้วพันเชือกทับหรือยัดไว้ด้านในแผ่นตะกั่วก่อนจะทุบแผ่นปลายตะกั่วให้ล๊อคเชือกตะกรุดทั้งสองด้านหัวท้ายและด้วยวันเวลาผ่านไปอายุความเก่ามาเยือนทำให้ปลายเส้นเชือกที่ยัดล๊อคไว้ในแผ่นตะกั่วรวมตัวกันจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดังรูปของตะกรุดที่ผม "วัต ท่าพระจันทร์" บรรจงถ่ายมาเพื่อให้เพื่อนๆทัศนากันตามอัธยาศัยหลายๆจุด หลายๆมุมนั่นแล นะเพื่อนเอย! เป็นความรู้เล็กๆครับ

เรื่องราวอภินิหารของตะกรุดหลวงพ่อทบ ที่โด่งดังมากในสมัยหนึ่ง อย่างเมื่อคราวที่ภูหินร่องกล้า ทหารที่ไปรบก็เคยมีประสบการณ์จากพระเครื่องและตะกรุดของหลวงพ่อทบ ซึ่งถูกยิงจากผู้ก่อการร้ายแต่ยิงไม่เข้าอยู่หลายราย จนทำให้ตะกรุดของหลวงพ่อทบหายากขึ้น

หลวงพ่อทบท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๔ ณ บ้านหัวลม ตำบลนายม เพชรบูรณ์ โยมบิดาชื่อเผือก โยมมารดาชื่ออินทร์ หลวงพ่อทบท่านบวชเณรตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ ที่วัดช้างเผือก และอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่วัดเกาะแก้ว บ้านนายม เพชรบูรณ์ โดยมีพระครูเมืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปนิสัยของหลวงพ่อทบท่านเป็นพระที่มีเมตตา สุขุมเยือกเย็น พูดน้อย หลวงพ่อทบท่านได้สร้างวัดและบูรณะวัดวาอารามไว้หลายวัดด้วยกันในแถบเพชรบูรณ์ หลวงพ่อทบท่านออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ มากมาย หลังจากนั้นท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมง วัดเสาธงทองเจริญธรรม วัดเกาะแก้ว วัดสว่างอรุณ วัดพระพุทธบาทเขาน้อย และวัดช้างเผือก เป็นต้น และทุกวัดที่หลวงพ่อทบท่านจำพรรษาอยู่ท่านจะบูรณปฏิสังขรณ์ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองทุกวัด หลวงพ่อทบท่านมรณภาพในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ปัจจุบันสังขารของหลวงพ่อทบยังเก็บรักษาไว้ในโลงแก้วภายในมณฑปตามเจตนาของท่าน มีประชาชนมามนัสการเป็นประจำมิได้ขาด

เรื่องอภินิหารตะกรุดโทนของหลวงพ่อทบนั้นจะยกมาเล่าให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง คือในราวปีพ.ศ.๒๕๑๗ ตอนนั้นในอำเภอวิเชียรบุรี มีเรื่องพิพาทเกี่ยวกับที่ดินมาก ผู้ใหญ่ประเสริฐ ได้ถูกคุกคามจากผู้มีอิทธิพลคนหนึ่ง จะฮุบเอาที่ดินของผู้ใหญ่ประเสริฐ แต่ไม่สำเร็จ ผู้มีอิทธิพลคนนั้นจึงสั่งลูกน้องให้ฆ่าล้างครัว ผู้ใหญ่ประเสริฐจึงพาครอบครัวไปกราบมนัสการหลวงพ่อทบ พร้อมทั้งเล่าเรื่องต่างๆ ให้หลวงพ่อทบฟัง

หลวงพ่อทบท่านจึงได้ทำน้ำมนต์อาบให้ทุกๆ คน จากนั้นท่านก็มอบตะกรุดโทนให้กับผู้ใหญ่และลูกชาย ส่วนภรรยาและลูกสาวท่านได้มอบเหรียญรูปท่านกับสีผึ้งให้ไป ก่อนกลับผู้ใหญ่ได้ถวายเงินจำนวน ๕๐๐ บาทให้หลวงพ่อทบ แต่ท่านไม่รับ ท่านบอกผู้ใหญ่ว่า "เก็บเอาไว้เถอะยังมีความจำเป็นต้องใช้อีกมาก วันๆ ข้าไม่ใช้เงินอยู่แล้ว" จากนั้นท่านก็ให้พรผู้ใหญ่ และกำชับว่ากลางค่ำกลางคืนไม่มีธุระจำเป็นจริงๆ แล้ว อย่าออกไปไหนเป็นอันขาด มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายได้

เมื่อกลับจากวัดแล้ว ทุกคนต่างก็มีกำลังใจที่จะต่อสู้ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ผู้ใหญ่ได้บอกกับลูกเมียให้ทำที่กำลังให้มั่นคง กลางคืนหากมีใครมาเรียกอย่าขานรับโดยเด็ดขาด ผู้ใหญ่กับลูกชายมีอาวุธครบมือ เพื่อรับกับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น เวลาที่ผ่านมานานนับเดือนก็ไม่มีเหตุร้ายใดๆ อยู่มาวันหนึ่งแกรู้สึกตัวในตอนดึก และหิวน้ำจึงลุกขึ้นไปดื่มน้ำ สายตาของผู้ใหญ่ก็เห็นคนกำลังเดิมจะมาเปิดประตูขึ้นบ้าน ผู้ใหญ่จึงหยิบปืนลูกซองที่เตรียมไว้ยิงทันที เสียงปืนดังแชะ ผู้ใหญ่ยังไม่ละความพยายาม ขึ้นนกยิงอีกนัด เสียงปืนดังแชะเหมือนเดิม และแล้วบุรุษผู้มาในยามวิกาลได้ร้องขึ้นว่า "พ่อทำอะไรนะ ฉันเอง" เท่านั้นเองปืนลูกซองแทบหล่นจากมือ แกรีบเดินไปเปิดประตูและสวมกอดลูกชาย แล้วถามว่า "เอ็งหรอกหรือไอ้ทิด แล้วเอ็งออกไปทำไมตอนดึกดื่มเที่ยงคืนอย่างนี้" ลูกชายก็ตอบว่า "ฉันปวดท้องเบาจึงลุกไปฉี่ข้างนอก" ผู้ใหญ่ยกมือท่วมหัวแล้วพูดว่า "เป็นเพราะบารมีตะกรุดหลวงพ่อแท้ๆ ที่ช่วยไม่ให้พ่อต้องฆ่าลูกในไส้" ในตัวของลูกชายผู้ใหญ่มีตะกรุดโทนของหลวงพ่อทบเพียงดอกเดียวเท่านั้น

เหตุการณ์ที่มีผู้ประสบเกี่ยวกับตะกรุดหลวงพ่อทบ ส่วนมากจะถูกยิงแต่กระสุนด้านเป็นส่วนมากครับ พวกทหารที่ไปรบที่เขาคล้อ ภูหินร่องกล้าต่างก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับตะกรุดของหลวงพ่อทบกันมาก ชาวเพชรบูรณ์ต่างก็ห่วงแหนตะกรุดของหลวงพ่อทบมากครับ_ขอขอบคุณข้อมูลชีวประวัติเพิ่มเติมจากพี่ชายที่แสนดี พี่หน่อย ท่าพระจันทร์ค่ะ.

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Thu 19, Jan 2017 21:37:40









 

ตะกรุดหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง สวยเดิมๆค่ะ มีทองเก่า ขนาดของตะกรุดยาว5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตรค่ะ

หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2420 ณ บ้านทับใต้ ตำบลหินเหล็กไฟ จังหวัดเพชรบุรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพีน้อยทั้งหมด 6 คน เมื่ออายุได้ 9 ปี บิดาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านโพธิ์ อำเภอบ้านลาดในปัจจุบัน ด้วยวัยหนุ่มที่กำลังคึกคะนองจึงหลงผิด กระทั่งกลายเป็นนักเลงอันธพาล แต่ในที่สุดก็กลับตัวกลับใจได้ และเข้าอุปสมบท เมื่ออายุ 32 ปี ตรงกับปี 2452 ณ วัดปราโมทย์ บางคณฑี สมุทรสงคราม มี หลวงพ่อตาด วัดบางวันทองเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์และหลวงพ่อคง วัดแก้ว เป็นพระคู่สวด หลวงพ่อทองสุขถึงกาลมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2500 

ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง และหลวงปู่นาค วัดหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและปลุกเสกเอาไว้นั้น มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ลูกอม แหวน เหรียญรุ่นแรกสร้างปี 2492 แต่เหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ เหรียญรุ่น 2 สร้างปี พ.ศ.2498 มีเนื้อทองคำ เงิน และทองแดง
ตะกรุดของท่านมีทั้งประเภทเนื้อโลหะ และตะกรุดไม้รวก สำหรับเนื้อโลหะนั้น จะเป็นโลหะประเภททองแดง แบ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 7 ดอก และตะกรุดสามกษัตริย์ เอกลักษณ์ของตะกรุดของท่านคือ ทุกดอกจะพอกด้วยครั่งพุทรา โทนสีจะออกแดงอมน้ำตาลถึงดำ อักขระเลยยันต์ที่ใช้ลงตะกรุดนั้น เรียกว่า ยันต์ตรีนิสิงเห พุทธคุณในตะกรุดของท่านจะเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นหลัก

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Thu 19, Jan 2017 21:40:58









 

ตะกรุดเก่าไม่รู้ที่ ครับ

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Thu 19, Jan 2017 21:47:59









 
 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Thu 19, Jan 2017 21:52:34









 

ตะกรุดหลวงพ่อพิท วัดฆะมัง พิจิตร (สวยเดิมๆ) 
ในสมัยก่อนย้อนไประหว่างปี พ.ศ. 2470 – 2485
ตะกรุดหลวงพ่อพิธนี้และมีราคาจำหน่ายเพื่อทำบุญสร้างพระอุโบสถที่วัดสามขาถึงดอกละ 10 บาท 

ข้าพเจ้าเชื่อว่า ระยะนั้นราคาตะกรุดหลวงพ่อพิธจะแพงที่สุดในระยะนั้น
รูปหล่อหลวงพ่อเงินราคาในท้องถิ่นไม่เกิน 10 บาทแน่ 

มีแต่ราคาในกรุงเทพฯ ที่พ่อค้าคนจึนในสำเพ็งซื้อเท่านั้นที่ให้ราคารพระหลวงพ่อเงินถึงองค์ละ 10 บาท
เพราะพ่อค้าไม่มีเวลาเดินทางไปพิจิตรได้ 

เมื่อต้องการก็สั่งให้ผู้อื่นไปเอา และให้ค่าตอบแทนองค์ละ 10 บาท
ตะกรุดหลวงพ่อพิธระยะนั้นในท้องถิ่นราคา 10 บาท นับว่าราคาสูงมาก ผู้ไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครแสวงหา 

เรื่องตะกรุดหลวงพ่อพิธนั้นเป็นเรื่องยืดยาวประวัติด้านคงกระพันมีมาก เชื่อถือได้แน่นอน ท่านเป็นศิษย์
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้วิชาทำตะกรุดมาจากท่าน มีหลักฐานยืนยันไว้แน่ชัด 

มีเอกสารเป็นหลักฐานยืนยันไว้ว่า ยันต์นี้ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) เรียนมาจากหลวงพ่อพิธ
หลวงพ่อพิธเรียนมาจาก หลวงพ่อเงิน 

ตะกรุดหลวงพ่อเตียงก็ได้เลียนแบบอย่างของหลวงพ่อพิธ แต่มีเอกลักษณ์บางอย่างที่เราสามารถแยกได้ว่า
ตะกรุดดอกไหนเป็นของอาจารย์องค์ไหนกันแน่ 

ตะกรุดของท่านสังเกตได้ง่าย ๆ คือ

1. ตะกั่วที่ใช้จารเป็นตะกั่วน้ำนม (เนื้ออ่อน)
2. ส่วนใหญ่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง
3. ยันต์ที่ใช้จารเป็นยันต์คู่ชีวิต หรือยันต์อะสิสันติ เป็นหลัก

ข้อควรระลึกคือ ของเทียม มีมากพอสมควรต้องดูความเก่าเป็นหลักพิจารณา สำหรับเชือกถักนั้นจะมีหรือไม่ก็ได้
ของเดิมรุ่นเก่าจริงมีขนาดย่อมและถักเชือกลงรักสวยงามมาก ต่อมาได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
มีทั้งถักเชือกเฉย ๆ และไม่ถักเชือก

ส่วนยันต์ของท่าน ข้าพเจ้าได้นำมาลงพิจารณาประกอบแล้ว ตะกรุดท่านจะจารทั้ง 2 ด้านการสร้างประณีต
ไม่สุกเอาเผากิน 

ยันต์ต่าง ๆ ที่ปรากฏเป็นตะกรุดส่วนใหญ่เป็นยันต์ของหลวงพ่อเงินที่ใช้ลงตะกรุดของท่าน ตะกรุดของท่าน
ตะกรุดหลวงพ่อเงินก็มีหลายแบบซึ่งจะได้กล่าวแยกไว้ต่างหาก

โดยเฉพาะ หลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2415 มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2488 จากปากคำของผู้รู้เล่าว่า
ท่านเป็นหลานแท้ ๆ ของ หลวงพ่อเงิน จึงได้วิชาอาคมมาเต็มที่ 
ในสมัยหนุ่มเมื่อได้บวชเรียนแล้วได้ไปศึกษาพุทธาคม จากแหล่งอื่นอีก 

เคยอยู่ที่วัดหัวคง วัดบางคลาน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา
(วัดนี้แหละที่ท่านตำตะกรุดให้ผู้ศรัทธาได้ทำบุญช่วยวัด) ต่อมาก็ได้มาอยู่ที่วัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ)
พิษณุโลก หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่ทางพิจิตรและมรณภาพที่วัดฆะมัง เมื่อปี 2488 ดังกล่าวข้างต้น

ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก ผู้ใช้หลายรายโดนทั้งปืนทั้งมีดไม่เคยระคายผิว 

ชาวบ้านบางคนถูกแทงจนเสื้อขาดแต่ก็ไม่เข้า พวกเศรษฐีมีเงินก็ทุ่มทุนซื้อตะกรุดอกนั้น 

เมื่อได้ราคาหลายหมื่นก็ขายเหมือนกัน เพราะทนเงินง้างไม่ไหว 

ยันต์อะสิสัตติ ธนูเจวะฯ นี้เป็นยันต์ที่มีมาแต่โบราณกาล
เกจิอาจารย์รุ่นเก่าทั้งภาคกลางและภาคเหนือใช้กันมาก 

 

หลวงพ่อดัง ๆ เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อน้อย วัดป่ายางนอก ฯลฯ ซึ่งเกจิอาจารย์ที่กล่าวถึงนี้มีอายุอยู่ในศตวรรษก่อนทั้งสิ้น 
และแต่ละท่านก็มรณภาพไปอย่างน้อย 70 ปี แล้วทั้งนั้น จากหลักฐานที่ได้ศึกษามา
แต่ละท่านใช้ยันต์นี้ลงตะกรุด บางดอกของท่าน กรณีที่เป็นตะกรุดดอกสำคัญ 

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Thu 19, Jan 2017 21:54:59









 
 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Thu 19, Jan 2017 21:55:39









 

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักเก่า ไม่รู้ที่ชอบเป็นการส่วนตัว ครับ

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Thu 19, Jan 2017 22:05:01









 

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักเก่า ไม่รู้ที่ชอบเป็นการส่วนตัว ครับ

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Thu 19, Jan 2017 22:06:16









 

พระสังกัจจายน์ เนื้อผง จุ่มรักปิดทองเก่ามากๆ ไม่รู้ที่ชอบเป็นการส่วนตัว ครับ

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Thu 19, Jan 2017 22:19:19









 

พระสังกัจจายน์ เนื้อผง จุ่มรักปิดทองเก่ามากๆ ไม่รู้ที่ชอบเป็นการส่วนตัว ครับ

 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Thu 19, Jan 2017 22:21:10









 
 
โดย : ball    [Feedback +6 -0] [+0 -0]   [ 16 ] Thu 19, Jan 2017 22:22:04









 

ตะกรุดใบลาน ถักเชือกเก่า ลงชาติ ลงทอง ไม่รู้อที่ชอบเป็นการส่วนตัว ครับ

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 17 ] Fri 20, Jan 2017 10:32:04









 

ตะกรุดใบลอน ถักเชื่อก ลงชาติ ลงทองเก่า

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 18 ] Sun 22, Jan 2017 09:08:16









 

ตะกรุดใบลอน ถักเชื่อก ลงชาติ ลงทองเก่า

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 19 ] Sun 22, Jan 2017 09:09:13









 

พระสมเด็จ จุมรักเก่าไม่รู้ที่ ชอบเป็นการส่วนตัวครับ

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 20 ] Sun 22, Jan 2017 16:32:17









 

พระสมเด็จ จุมรักเก่าไม่รู้ที่ ชอบเป็นการส่วนตัวครับ

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 21 ] Sun 22, Jan 2017 16:34:14

 
เกษาครูบาครูบาศรีวิชัย : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.