พระร่วงกรุทางพระ (วัดสระมะดัน) จ.อ่างทอง
•••••••••••••••••••••••••
อ่างทองเป็นดินแดงพุทธศาสนาและเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีโดยการสันนิษฐานของนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร แต่เมืองเป็นเมืองไม่ใหญ่โตนัก หนักฐานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือคูเมืองที่บ้านคูเมือง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ในสมัยสุโขทัยเข้าใจว่ามีผู้คนเข้ามาตั้งถิ้นฐานอยู่อาศัยเช่นกัน ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ระยะต้นๆ สันนิษฐานว่าอ่างทองคงเป็นชานเมืองของกรุงศรีอยุธยา เพิ่งจะมายกฐานะ
เป็นเมืองมีชื่อว่า "แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ" เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2127ในสมัยกรุธนบุรีได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแห ตรงวัดชัยสงคราม(วัดพระเซา) บริเวณฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่อำเภออ่างทองในปัจจุบัน และตั้งชื่อเสียใหม่ว่า "เมืองอ่างทอง" ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2359 ก็ย้ายตัวเมืองอีกครั้ง มาอยู่ที่ตำบลปางแก้ว
ท้องที่เมืองอ่างทองฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาถึงปัจจุบันนี้
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วๆไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา ป่าไม้ และแร่ธาตุ สภาพดินโดยทั่วไป เป็นตะกอนมีทั้งชนิดดูดซับน้ำได้ดีและชนิดดูดซับน้ำได้ไม่ดี มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม้น้ำน้อย โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม้น้ำสายสำคัญไหลผ่านท้องที่อำเภอไชโย อำเภอเมือง และอำเภอป่าโมก ระยะทางยาวประมาณ 40 กม. ส่วนแม่น้ำน้อยเป็นแม่น้ำสายแขนงที่ไหลแยกออกจาแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดอ่างทอง ระยะทางประมาณ 50 กม. ผ่านอำเภอโพธิ์ทอง
และอำเภอวิเศษชัยชาญ
การปกครอง จังหวัดอ่างทองแบ่งการปรกครองเป็น 7 อำเภอ คือ
1. อำเภอเมืองอ่างทอง
2. อำเภอโพธิ์ทอง
3. อำเภอป่าโมก
4. อำเภอไชโย
5. อำเภอแสวงหา
6. อำเภอวิเศษชัยชาญ
7. อำเภอสามโก้
มีเนื้อที่ประมาณ 981 ตารางกิโลเมตร อาณาเขตติดต่อจังหวัดใกล้เคียงคือ ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ทิศตะวันตก ติดต่อ อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช อำเภอบ้านแทรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ อำเภอเมืองจังหวัดลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีทิศใต้ ติดต่อ อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดอ่างทองจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 108 กม. ทางเรือ (ตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาถึงตลาดท่าเตียน ระยะทาง 120 กม.)
จังหวัดอ่างทองอยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยาไปทางทิศเหนือเพียง 35 กิโลเมตรเท่านั้น จึงสามารถเดินทางท่องเที่ยว ติดต่อธุรกิจได้อย่างสะดวกสบาย ไปกลับภายในวันเดียวโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถโดยสารประจำทาง ทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ(หมอชิต) สามารถไปได้หลายสาย เช่น
สายเอเชีย มีทั้งเส้นทางสายใหม่ (สายเอเชียผ่านบางปะหัน จังหวัดอยุธยา) และเข้าเส้นทางสายอยุธยา-อ่างทอง
อันเป็นเส้นทางสายเก่า มีระยะทางไม่แตกต่างกันนักสายเอเชียเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด แต่ค่อนข้างจะจอแจสักเล็กน้อย
สายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี-อ่างทอง ไปทางสะพานพระปิ่นเกล้า-ตลิ่งชัน เข้าทางหลวงสาย 3111 ถึงแยก อำเภอเสนา วิ่งเข้าอยุธยาแล้วไปตามทางหลวงสาย 309 ระยะทาง 140 กม.
สำหรับการคมนาคมภายในจังหวัดไปสู่อำเภอต่างๆ นั้น มีอำเภอวิเศษชัยชาญ 13 กม. อำเภอโพธิ์ทอง 10 กม. และ อำเภอสามโก้ 25 กม. มีรถสองแถวจอดรับส่งที่ตลาดสดในเมือง
สถานที่ท่องเที่ยวนั้น มีมากมายหลายแห่ง อาทิเช่น วัดไชโยวรวิหาร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เป็นที่ประดิษฐ์องค์พระมหาพุทธพิมพ์ ซึ่งชาวบ้านเรียกขานชื่อของท่านว่า หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วๆไป วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลไชโย อำเภอไชโย เดินทางตามเส้นทางสายอ่างทอง-สิงห์บุรี ประมาณ 18 กม.
พระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล ตั้งอยู่ที่ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง ห่างจากจังหวัด 7 กม. สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยวัดได้ 50 เมตร
พระตำหนักคำหยาด เป็นตำหนักหลวงซึ่งเจ้าฟ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) เป้นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 และเป็นที่ประทับในขณะที่ทรงผนวช ตั้งอยู่ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง
วัดสี่ร้อย ตั้งอยู่ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ประดิษฐานกลางแจ้งริมฝั่งแม่น้ำน้อย ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงศรีอยุธยางดงามยิ่งวัดหนึ่งในสยาม
วัดป่าโมกวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก ห่างจากจังหวัด 18 กม. มีพระพุทธไสยาสน์ยาว 22.58 เมตร รัชกาลที่ 5 เสด็จนมัสการพระนอนวัดป่าโมกมีพระราชหัดถเลขาทางเล่าเรื่องพระนอนวัดป่าโมก พูดไว้ว่า "มีอำแดงคนหนึ่งไปบอกหลวงพ่อพระนอนให้ช่วยรักษาลุงซึ่งป่วย พระนอนนั้นบอกตำรายา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์ เสียงก้องออกมาทางพระอุระ พระครูไม่เชื่อจึงได้ลองพูดบ้าง ก็ได้รับคำตอบทักทายเป็นอันดี
แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บด้วยยานั้นเป็นอะไรๆ ก็หาย ห้ามมิให้เรียกขวัญบ้าง ค่ายานอกจากหมากคำเดียว
อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว "นายดอก นายทองแก้ว เป็นบรรพบุรุษแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ สมัย พ.ศ. 2309 ได้สละชีวิตเป็นชาติพลี เพื่อก่อกู้ความเป็นไทยให้แก่ชาติ จึงกระทำให้ชื่อเสียงของเมืองวิเศษชัยชาญต้องจารึกไว้ในพงศาวดารตราบเท่าทุกวันนี้" นี่คือข้อความตอนหนึ่งในจารึกที่ฐานอนุสาวรีย์ปู่ดอก ปู่ทองแก้ว ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ชนชาวเมืองวิเศษชัยชาญที่ร่วมสู่ศึกบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตก ตั้งอยู่ที่วัดวิเศษชัยชาญ ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ
ผมได้แนะนำให้ท่านที่เคารพทั้งหลายได้รับทราบประวัติความเป็นมาของจังหวัดอ่างทอง ตลอดจนสถานที่น่าศึกษาและสนใจพอสมควร ก็ขอย้อนกลับมาพูดเรื่องกรุพระเครื่องที่มีผ฿เรียกเรียกชื่อหรือตั้งชื่อท่านว่า "พระร่วงกรุทางพระ" คำว่า ทางพระ นั้นเป็นชื่อของหมู่บ้าน ในเขตตำบลบลทางพระหมู่ที่ 3 อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง มีระยะห่างจากที่ทำการอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่เป็นท้องทุ่งนาอยู่รอบบริเวณมีโคกเล็กๆ อยู่ในพื้นที่นั้นเป็นแหล่งสำหรับเด็กเลี้ยงควายนำสัตว์มาเลี้ยงกันประจำ โคกที่ว่านี้ชาวบ้านเรียกว่า โคกวัดตาเงิน พื้นที่ตรงนั้นแทบจะไม่มีอะไรเหลือเป็นร่องรอยให้รู้จักเป็นวัดแต่จากก่อนอิฐก้อนโตซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆไปรอบบริเวณทำให้ผู้คนทั่วไปพอจะสันนิษฐานได้ว่า เป็นโบสถ์เก่าที่ปรักหักพังไม่มีอะไรเหลือร่องรอยไว้เลย นอกเสียจากก้อนอิฐ
จากหลักฐานของทางราชการทำให้ได้ทราบว่าโคกนั้นแต่เดิมเป็นวัดร้าง มีชื่อว่า "วัดสระมะดัน" อันเป็นที่มาที่สำคัญยิ่งชองพระร่วงทางพระ อันเป็นพระเครื่องชั้นเอกของเมืองอ่างทอง ที่นักนิยมพระสมัยเก่าสรรหากันมาก แต่ในปัจจุบันนี้นักนิยมพระเกือบจะไม่รู้จักพระประเภทนี้หรือรูปร่างลักษณะเช่นนี้เลย เหตุผลคือ พระมีค่อนข้างน้อยคนมีเงินเก็บเข้ารังหมด โอกาสที่จะอยู่ตามแผงพระมีน้อยมาก ผู้คนหรือนักสะสมพระรุ่นใหม่จึงหมดโอกาสได้รู้ได้เห็น
วันนี้ผู้เขียนก็เสาะแสวงหาเรื่องมาเขียนให้ท่านได้รู้หลายอย่าง
โคกตาเงิน แต่เดิมเป็นวัด แล้วร้างมาภายหลัง เมื่อร้างแล้วก็ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นตกอยู่ในความครอบครองของผู้จับจองเรื่อยมาคนที่มีชื่อว่าตาเงิน นี่แหละคงครอบครองอยู่ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกโคกที่ว่านี้ว่า โคกวัดตาเงินความจริงแล้ววัดร้างดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกขานกันมาว่า วัดสระมะดัน คือที่มาและพบพระร่วงปางประทางพร ที่เด็กเลี้ยงควายพบและเรียกพระที่พบนั้นว่า "ตุ๊กตา" ซึ่งความจริงนั้นเป็นพระแต่มีรูปลักษณะมองดูคล้ายตุ๊กตาเท่านั้นคือความเข้าใจของเด็ก
วันหนึ่งหลังจากฝนตกหนัก น้ำฝนได้เซาะเอาดินบริเวณดังกล่าวที่เป็นโคกพังทลาย บังเอิญขาควายตัวหนึ่งก็ย่ำลงไปตรงกึ่งกลางไหขนาดเล็กเท่าโถพูล ว่ากันว่าเป็นสีน้ำตาลคล้ำบางคนก็ว่าเป็นสีเขียวไข่กา โถใบนั้นแหลกละเอียดไม่มีชิ้นดี (ผู้เขียนไม่เห็นสีจึงไม่ยืนยันว่าเป็นสีอะไรแน่) แล้วเด็กๆ ก็พากันคุ้ยเขี่ยและนำเอาพระนั้นมาเล่นกันเป็นที่สนุกสนานทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าเห็นมีลักษณะคล้ายตุ๊กตานั่นเอง หารู้ไม่ว่า นั่นคือพระ เด็กเลี้ยงควายเก็บมาถึงบ้านก็นำให้พ่อแม่ดูจึงได้รู้ว่าเป็นพระมีความตื่นเต้นกันพอควร บ้างก็ออกไปขุดไปค้นกันจนมืดฟ้ามัวดิน เพราะรู้ว่าเป็นพระที่มีคุณค่า
ไม่ใช่ตุ๊กตาตามที่เด็กเข้าใจเสียแล้ว ตุ๊กตาที่เด็กว่านี้ก็คือพระเครื่องที่มีชื่เสียงเรียกกันสั้นๆว่า พระร่วงกรุทางพระ เป็นชื่อติดปากติดหัวใจของคนอ่างทองมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
เมื่อพระหรือตุ๊กตาอยู่ในมือของเด็กๆ ราคาค่างวดขณะนั้นเล็กน้อยมากเพียงค่าขนมคือ 3 องค์ต่อ 1 บาท ราคาค่างวดเริ่มสูงขึ้นเป็นระยะประมาณตั้งแต่ 3-5 บาท ถึง 700-800 ถึงหลายพันบาท (ถ้าสวยงามจับใจ) ในปัจจุบันเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก ไม่มีใครยอมปล่อยกันพระร่วงกรุนี้เชื่อกันว่ามีจำนวนประมาณไม่น้อยกว่า 200องค์ เมื่อเด็กๆ ได้ไปแล้วก็มีชาวบ้านแถบนั้นไปขุดค้นกันอีก บางคนได้เป็นกระลาๆ ก็มี โดยเฉพาะตามชายโคกนั้น เมื่อฝนตกหนักดินทลายลง บางครั้งคนเดินไปพบโดยบังเอิญก็มี เรียกว่ายังพอหาได้ แต่ปัจจุบันไม่เหลือให้เห็น
พุทธลักษณะ ดูลักษณะที่เรียกกันว่า ปีกแมงดา ตาแมงดา จึงมีนักนิยมสะสมพระรุ่นเก่าเรียกพระพิมพ์นี้ว่า"พิมพ์แมงดา" มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์คือ พิมพ์ต้อและพิมพ์แมงดา (พิจารณาอย่างละเอียดน่าจะเป็นพิมพ์เดียวกัน)พิมพ์แมงดา มีขนาดสูง 6 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ส่วนยอดบนกลมโค้งมน (ที่เราเรียกว่า ประภามณฑล)
มีทั้งเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเนื้อชินเงินสำหรับเนื้อตะกั่วสนิมแดงจะมีพบมากกว่าเนื้อชิน 10 ตือ 1 ส่วนพระพิมพ์ต้อมีขนาดสูง 5 ซม. ส่วนความกว้างยืดถือแน่นอนไม่ได้เพราะผู้สร้างตัดปีกออกเกือบชิดองค์ ตบแต่งให้สวยงามก่อนลงบรรจุกรุ บางองค์เจียนยอดแหลมตอนบนแลดูคล้ายจรวด บางคนเรียกว่า พิมพ์เศียรเล็ก ด้านหลังของพระทุกองค์ ทุกขนาดทุกพิมพ์ ทรงเป็นแอ่งกระทะ ตามแนวโค้งที่หลังตันจริงๆ ก็มีผู้เขียนเคยพบเห็นเป็นลายผ้าหยาบๆ ขึ้นรอยเป็นเม็ดนูนๆ ก็มี (ของปลอมทำลายผ้าหรือแอ่งกระทะไม่ได้เหมือนของจริง)
พระร่วงกรุทางพระ (วัดสระมะดัน)พระพักตร์ ไม่คงรูปเดิมมากนัก ส่องแสดงว่าถูกบรรจุไว้อย่างยัดเยียดมากที่สุดและกดทับกัน จึงทำให้มีความสมบูรณ์น้อยไปหน่อย
พระหนุ กลมมน พระโอษฐ์เป็นรอยชัดเจน พระนาสิกเป็นสันกว้างและยาวเป็นแนวเชื่อมต่อกับพระขนง คล้ายนกบิน
พระเกศ แหลมยาว พระกรรณทอดยาว (หูช้าง) พระกรรณขวาเป็นแนวตรงลงมาพระกรรณซ้ายหักโค้งวาดน้อยๆ
เป็นวงเล็บ ห่างออกจากพระพักตร์
พระศอ เป็นลำหนา มีแนวเล็กๆ โค้งกลมรอบพระศอ
พระนาภี บุ๋มเป็นรอยกลม รัดประคตเป็นปื้นใหญ่ พระบาทแยกปลายพระบาทออกจากกันจนเป็นแนวตรง (เท้าแฉก)ประทับลอยอยู่เหนือฐาน จีวรห่มคลุม พระหัตถ์ขวายกเหนือพระอุระหงายฝ่าพระหัตรถ์ออกไปเบื้องหน้า พระกรซ้ายปล่อยลงคู่อ่อนช้อยอันเป็นลัษณะของปางประทานพร(หรือบางคนเรียกปางนี้ว่า "ปางห้ามพยาธิ" บ้างก็ว่า ปางโปรดองค์คุลีมารโจร บางคนก็เรียกว่า "ปางสรงน้ำฝน" ทั้งหมดนี้ต่างคนต่างเรียก เพราะถือว่ารูปร่างลักษณะของพระดังกล่าวมีสัดส่วนและองค์ประกิบใกล้เคียงกับเรื่องของพระพุทธประวัติแทบทั้งสิ้น แล้วแต่คนใดหรือใครจะคิดเรียกชื่อปางเหล่านั้น
ฐานสูงไม่มีลวดลายให้ดูได้ชัดเจนนัก มีทั้งเนื้อตะกั่วสนิมแดงเข้มคล้ายสนิมพระร่วงกรุวัดปู่บัว สุพรรณบุรี ฉาบจับเป็นพื้นเรียบไม่มีเข้มมากบ้างน้อยบ้าง เป็นเพราะพื้นที่ถูกน้ำท่วมองค์พระถูกน้ำท่วมเท่าเทียมกัน สนิมจึงเสมอและคล้ายกันหมด ร่องรอยลึกของสนิมหรือรอยแตกของสนิมยังปรากฏร่องรอยเป็นใยแมงมุม เฉพาะพระเนื้อชินจะมีสนิมตีนกา (คือสีดำ) องค์พระบางองค์ชัดเจนบางองค์ไม่ชัดเจนนัก บางส่วนขาดหายไป บางส่วนจะอยู่ครบเต็มองค์ และสวยงามยิ่ง ผู้สร้างคงถอดพิมพ์จากแม่พิมพ์เดิมมาโดยตรงจึงมิได้มีการตบแต่ง แต่ก็ถ่ายทอดฝีมือไว้ด้ายแรงศรัทธา
พระร่วงทางพระนี้ เป็นพระที่อยู่ใกล้กับเมืองสุพรรณบุรีจึงทำให้มีลักษณะสัดส่วนและสนิมผิวพระต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบมีส่วนคล้ายพระเมืองสุพรรณบุรีอีกลายกรุ
เรื่องพุทธานุภาพและพุทธคุณ นักนิยมพระรุ่นเก่านับถือและยกย่อง โดยเชื่อมั่นว่ามีพุทธานุภาพไม้แพ้พระร่วงกรุอื่นๆทั่วถึงสยามเป็นแน่ จึงเป็นพระกรุหนึ่งของชาวอ่างทอง ที่ควรจะภาคภูมิใจยิ่งว่า "เพ็ชรเม็ดเอก" ได้ประดับไว้กับหัวใจคนอ่างทองที่เพียบพร้อมไปด้วยอิทธิฤทธิ์ด้วยอำนาจบุญบารมีของพระร่วง ที่เราท่านทั้งหลายขนานนามท่านว่า " พระร่วง" ซึ่งเลิศไปด้วยฤทธิ์เลิศไปด้วยอภินิหาร และเลิศไปด้วยคุณค่ามหาศาล ที่ชาวอ่างทองทุกคนไม่ควรมองข้าม น่าจะภาคภูมิใจเก็บรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีค่ายิ่งต่อไปจุดสังเกตที่สำคัญยิ่งที่ควรจดจำ
ก. พระเกศมาลาแหลม กระบังหน้า (จีโบ) ไม่หนาเกินไปนักสมสัดส่วน มองให้ลึกลงไปส่วนของจีโบจะมีลักษณะคล้ายเทริดหูตุ้มสมัยอยุธยา
ข. ใบพระกรรมมีลักษณะขีดเป็นเส้นนูนตรงๆ ไม่อ่อนช้อยเท่าที่ควร
ค. สนิมที่เกิดขึ้นตามองค์พระจะเป็นสนิมที่เกาะแนบแน่น มีสีแดง สีเปลือกมังคุด มีไขขาวแซม บางองค์จะเห็นรอยแตกแบบใยแมงมุมในซอกลึกๆ จะมีสนิมจับเกาะแน่น พระบางองค์มีรอยลึกแลดูเห็นเฉพาะเนื้อตะกั่ว ทำให้ดูยาก จงดูในซอกส่วนลึก จะพบสนิมเป็นคราบเกาะให้เห็นได้
ง. รัดประคตเป็นปื้นใหญ่ ไม่มีลวดลายแสดงให้เห็นถึงความงามมากนัก
จ. ชายจีวรทั้งสองข้างมีรอยยักคล้ายปีกแมงดา (ดูรูป)
ฉ. พระบาทแยกปลายพระบาทออกจากกัน จนเป็นแนวตรง (เท้าเฉก)
ช. ด้านหลังโดยมากจะเป็นคล้ายแอ่งกระทะหรือหลังแบน จะมีลายผ้าหยาบๆ เหมือนกับลายผ้าเตียงผ้าใบ(หยาบ)พื้นผิวด้านหน้าจะไม่ขรุขระ มีสนิมสวยงามมากในบางองค์ที่ยังไม่สึกหรอ
ซ. พระหัตถ์ขวาทาบพระอุระเหมือนกับพระร่วงทุกกรุ
•••••••••••••••••••••••••
|