พญาเต่าคำโพธิสัตย์ “รุ่นแรก” ครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร
วัดบ่อเต่า ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
พิธีมหาพุทธาภิเษก ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
พญาเต่าคำ (พญาเต่าสีทอง) คือเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่คนล้านนาเรารู้จักกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ตำนานกล่าวไว้ในชาดกที่เรียกกันว่า พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ กล่าวถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพระสาวกและพุทธบริษัท ให้ได้ประจักษ์ ถึงบารมีที่พระองค์ทรงเสด็จมา เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ในลักษณะของสัตว์ผู้เปี่ยมไปด้วยศีล และทานบารมีก่อนถึงทศชาติ (๑๐ ชาติสุดท้ายที่เสด็จลงมาอุบัติบนโลก จนบรรลุเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) พระองค์ทรงเสวยพระชาติเป็นพญาเต่า จำศีลภาวนา แต่ยังเล็กจนกระทั่งเติบใหญ่ ด้วยอำนาจแห่งศีลอันบริสุทธิ์ ทำให้พระองค์มีร่างกายที่ใหญ่โตเท่ากับบ้านเรือนที่อาศัยอยู่ของมนุษย์ โดยทรงขึ้นไปจำศีลอยู่บนยอดเขาบนเกาะร้างกลางทะเลและมีความสงบสุขตลอดมา
วันหนึ่งมีเรือของพ่อค้าแล่นมาประสบพายุทำให้เรืออับปาง พ่อค้าและลูกเรือที่รอดตายจึงพากันว่ายน้ำมาอาศัยอยู่บนเกาะ อดอยากหิวโหยเป็นอย่างยิ่ง ผลหมากรากไม้ที่มีก็เก็บกินประทังชีวิต มีคนตายคราใดก็เอาศพมาเชือดเอาเนื้อมาเป็นอาหารเพื่อให้รอดตาย จนที่สุดก็ไม่มีอะไรจะกิน จนเกือบจะฆ่ากันเองเพื่อเอาเนื้อมากิน เต่าพระโพธิสัตว์ทรงทราบด้วยญาณสมาธิโดยตลอด รู้สึกเวทนาและบังเกิดความเมตตาอย่างสุดประมาณต่อบรรดาสัตว์โลกผู้ยากไร้ที่กำลังหิวโหยอยู่ด้านล่าง จึ่งอธิษฐานจิตว่า "ข้าพเจ้าไม่มีสิ่งใดที่จะช่วยเหลือมนุษย์ผู้อดอยากหิวโหยเหล่านั้นได้ นอกจากร่างกายของข้าพเจ้า ขออุทิศชีวิตและร่างกายเพื่อช่วยให้มนุษย์เหล่านั้นรอดพ้นจากความตาย ด้วยเดชะบารมีที่ข้าพเจ้าได้เคยทำมานี้ จงเป็นพละปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบกับพระนิพพานในอนาคตกาลข้างหน้าด้วยเถิด" อธิษฐานจิตแน่วแน่แล้ว พญาเต่าโพธิสัตว์จึงคลานมาที่หน้าผาเลือกเอาโขดหินผาที่แหลมคมด้านล่างเป็นที่เจริญเมตตาจิตเป็นที่ตั้ง พุ่งตัวลงจากหน้าผา กระดองกระแทกกับหินผาได้รับความเจ็บปวดทรมาน จนกระดองแตกถึงแก่ความตายอยู่บนพื้นดินด้านล่าง พ่อค้าและลูกเรือจึงได้อาศัยเนื้อของพญาเต่ากินเป็นอาหาร ตราบจนกระทั่งมีเรือลำอื่นผ่านมารับและรอดตายได้ทั้งหมด เมื่อมนุษย์เหล่านั้นกลับถึงบ้านตน ก็ระลึกถึงบุญคุณของเต่าโพธิสัตว์ จึงทำรูปเคารพของพญาเต่าไว้บูชา ณ บ้านเรือนถิ่นถานของตน เพื่อระลึกถึงและสั่งสอนสืบทอดกันต่อมาว่า "พญาเต่าโพธิสัตย์ คือเอกลักษณ์แห่งเมตตาบารมีที่จะคุ้มครองผู้ประพฤติธรรมให้พ้นจากการเบียดเบียนของเหล่าอธรรมในทุกกาล"
อิทธิคุณหรือพุทธคุณของเครื่องรางพญาเต่าโพธิสัตย์ (ถือว่าครอบจักรวาลเลยทีเดียว)
๑.ด้านทำมาค้าขายให้โชคให้ลาภ ติดตัวหรือบูชาไว้ในบ้านเรือน ร้านค้า หรืออาคารสำนักงานเพื่อเรียกโชคลาภหรือลูกค้าเข้าร้าน (ทำมาค้าขายดี) ธุรกิจการงานเจริญก้าวหน้า มีแต่เจริญขึ้นไปไม่มีเสื่อมถอย (ตามลักษณะของเต่าที่มีแต่เดินหน้า ถอยหลังไม่เป็น) ร่ำรวยและรุ่งเรืองแบบมั่นคงยาวนาน (เต่าอายุยืน)
๒.ด้านชนะคดีความ ติดตัวไว้เพื่อต่อสู้คดีความที่ถูกใส่ร้าย หรือถูกกลั่นแกล้ง
๓.ด้านปกป้องคุ้มครอง ติดตัวไว้เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยนานาประการ (เชื่อกันว่าเหมือนมีกระดองเต่ามาคลุมตัว)
๔.ด้านเมตตามหานิยม ติดตัวหรือบูชาให้เกิดเมตตามหานิยม (โดยธรรมชาติแล้วเต่าเป็นสัตว์ที่น่ารัก ใครพบเห็นก็บังเกิดความรักใคร่เอ็นดู)
วิธีอาราธนา โดยตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และเจ้าของพญาเต่า ขอบารมีมาช่วยอำนวยพรให้ แคล้วคลาดจากอันตราย ทำมาค้าขายให้โชคให้ลาภ เกิดเมตตามหานิยม จากนั้นภาวนาว่า “นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ ”
เนื่องด้วยกุฏิสงฆ์ วัดบ่อเต่ามีสภาพเก่า และชำรุดทรุดโทรมไปมาก เวลาฝนตกหลังคาก็จะรั่ว ทางคณะกรรมการวัดและคณะลูกศิษย์ของ ท่านครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร จึงมาปรึกษากันและมีความเห็นตรงกันว่า ควรจะบูรณะกุฏิให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงใช้งานได้ตามปรกติ แต่ยังขาดทุนทรัพย์ในการบูรณะเป็นจำนวนมาก ท่านครูบาศรีมรรย์ จึงเห็นสมควรและอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเป็นเหรียญ “พญาเต่าคำโพธิสัตย์” เพื่อเป็นวัตถุมงคลที่ระลึก มอบแก่ผู้ที่ร่วมทำบุญสมทบทุนบูรณะกุฏิสงฆ์วัดบ่อเต่า
รายละเอียดการจัดสร้าง
1.เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง ทำบุญเหรียญละ ๓๙,๙๙๙ บาท
๒.เนื้อเงินหน้ากากทองคำ สร้าง ๘๒ เหรียญ ทำบุญเหรียญละ ๓,๕๐๐ บาท / หลังจอง เหรียญละ ๔,๕๐๐ บาท
๓.เนื้อเงิน สร้าง ๑๐๘ เหรียญ ทำบุญเหรียญละ ๑,๕๐๐ บาท / หลังจอง เหรียญละ ๒,๕๐๐ บาท
๔.เนื้อชนวน สร้าง ๒๒๗ เหรียญ ทำบุญเหรียญละ ๔๐๐ บาท / หลังจอง เหรียญละ ๖๐๐ บาท
๕.เนื้อกะไหล่ทอง สร้าง ๓๙๙ เหรียญ ทำบุญเหรียญละ ๓๐๐ บาท / หลังจอง เหรียญละ ๕๐๐ บาท
๖.เนื้ออัลปาก้า สร้าง ๙๙๙ เหรียญ ทำบุญเหรียญละ ๒๐๐ บาท / หลังจอง เหรียญละ ๓๐๐ บาท
๗.เนื้อทองแดงผิวรุ้ง สร้าง ๓,๕๘๒ เหรียญ ทำบุญเหรียญละ ๑๐๐ บาท /หลังจอง เหรียญละ ๒๐๐ บาท
๘.เนื้อนวะโลหะ สร้าง ๔๙ เหรียญ ( แจกกรรมการ )
หมายเหตุ วัตถุมงคลทุกรายการ ตอกโค๊ดและรันหมายเลขกำกับทุกเหรียญ
(สามารถรับวัตถุมงคลได้ตั้งแต่ วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๗ ได้เป็นต้นไป จองที่ไหนรับของที่นั้นครับ)
ศูนย์รับจอง
1.083-564-2530 ร้านพร้าววังหิน
2.089-953-1950 ร้านบารมีสุมโน
3.084-174-6518 ร้านพรมารดา
4.086-184-0248 ร้านบุญบารมี
5.084-612-3600 ร้านธรรมมงคล
6.086-187-6950 ร้านเบ กรอบพระ
7.086-117-6413 วัดบ่อเต่า
ประวัติ วัดบ่อเต่า บ้านสันผักฮี้ ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วัดบ่อเต่าตั้งอยู่หมู่บ้านสันผักฮี้ หมู่ที่ ๓ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อวัดสันผักฮี้ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ต่อมาได้ถูกทิ้งร้างไปชั่วระยะหนึ่ง จนกลายเป็นป่าทึบมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นมากมาย พบซากปรักหักพัง ไม่มีผู้ดูแล อันเป็นสถานที่ ที่ผู้คนระแวกนั้นหวาดกลัวไม่กล้าเข้าไปใกล้ จนเมื่อมีการบูรณะบำรุงสืบต่อกันมา
ตามประวัติเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านพระครูบาศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาได้รับนิมนต์จาก พ่ออุ๊ยคำตัน จันทร์จรมานิตย์ ชาวอำเภอพร้าว เพื่อโปรดเมตตาบูรณะวัดร้าง ( วัดพระธาตุ ) ท่านก็บอกว่าวัดนี้ตรงกับที่รุกขเทวดามาบอก ท่านก็พาคณะศรัทธาค้นตามกองอิฐ ตามองค์พระธาตุที่พังลงมา ตามกาลเวลวอันนานแสนนาน ก็ได้พบศิลาจารึกหินสีดำ ผอบบรรจุพระธาตุ เทียนเงิน เทียนทอง บนศิลาจารึกบันทึกตัวอักษรล้านนาใจความว่า “ วันพฤหัสบดี เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีชวด พ.ศ. ๑๙๒๘ กือนาธรรมิกราชผู้สร้าง วัดนี้ชื่อวัดสะดือเมือง ”
หลังจากนั้นท่านจึงได้ร่วมกับคณะศรัทธาประชนชาวอำเภอพร้าวร่วมกันสร้างองค์พระธาตุ ใช้เวลาสร้าง ๒ เดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ ก็ได้ถวายทานและตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดพระธาตุกลางใจเมือง และหลังท่านครูบามรณะภาพแล้วทางคณะกรรมการก็ได้แบ่งอัฐิกระดูกแขนเบื้องขวา มาบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุกลางใจเมือง ให้เป็นที่สักการะบูชาแก่พุทธศาสนิดชนทั้งหลาย
และวัดแห่งนี้เองเป็นวัดที่ครูบาสีธิ วิชโยและครูบาอินสมแห่งวัดทุ่งน้อย ได้มาพบกับท่านครูบาเจ้าศรีวิไชย และในขณะที่หามเสลี่ยงครูบาสีธิขึ้นวิหาร พระครูบาเจ้าศรีวิไชยได้บอกกับครูบาอินสมว่า ครูบาสีธินี้ท่านเป็นพี่ชายของท่านในชาติปางก่อน กล่าวกันว่าทั่วทุกสารทิศในเขตเมืองพร้าววังหินและใกล้เคียง ได้เดินทางมาช่วยกัน สร้างบุญบารมีร่วมกับท่าน ครูบาเจ้าศรีวิไชย เป็นจำนวนมาก
ตามคำบอกเล่า ของผู้เฒ่า ผู้แก่คนในอดีตเล่าว่ามีศรัทธาจากบ้านสันผักฮี้ เจอเต่าสีเหลืองทองในบ่อน้ำจึงต่างพากันนำไปถวายท่านครูบาเจ้าศรีวิไชย ท่านจึงได้ถามว่าพบเต่าที่ไหน ศรัทธาจึงบอกว่าพบที่วัดร้างบ้านสันผักฮี้ ครูบาเจ้าศรีวิไชยท่านจึงบอกให้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดบ่อเต่า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ด้วยวาจาศักดิ์สิทธิ์ ของท่านครูบาเจ้าศรีวิไชย ได้เปลี่ยนชื่อจากวัดสันผักฮี้ มาเป็นวัดบ่อเต่า ได้ยึดถือต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ชีวประวัติ
พระครูสิริวัตรวิมล ( ครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร )
เจ้าอาวาสวัดบ่อเต่า ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
สถานเดิม ชื่อ ศรีมรรย์ นามสกุล ทาวงค์ เกิดวันพุธ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๕ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ บิดา นายหน้อย มารดา นางเป็ง ทาวงค์ ณ บ้านเลขที่ ๗๐ บ้านศรีค่ำ หมู่ ๘ ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอายุ ๘๒ ปี ๕๖ พรรษา
บรรพชา วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย วันที่ ๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๕ ณ วัดพระธาตุกลางใจเมือง ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเจ้าอธิการเมืองใจ อินฺทจฺกฺโก วัดบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท วันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ วันที่ ๑ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ณ วัดพระธาตุกลางใจเมือง ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเจ้าอธิการเมืองใจ อินฺทจกฺโก วัดบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการขรรย์ ฐิตทินฺโน วัดสันปง ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเมธา จกฺกโร วัดสันทราย ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอนุศาวนาจารย์ โดยได้รับนามฉายาว่า “ ยโสธโร “ แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งยศ
พระครูสิริวัตรวิมล ( ครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร ) เป็นพระผู้มีเมตตาธรรม อนุเคราะห์สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร ชาวบ้าน จนถึงเด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน ด้อยโอกาสทางการศึกษา ท่านก็จะรับมาเลี้ยงดู ส่งเสียให้เรียนจนจบมีการงานที่ดีทำ มาโดยตลอดหลายต่อหลายรุ่นจนถึงบัจจุบัน ท่านได้ประกอบกิจอันเป็นประโยชน์มากมายในพระพุทธศาสนามาตลอดระยะเวลากว่า ๕๗ ปีแล้ว ที่ดำรงเพศอยู่ในร่มกาสาวพัตร สมดั่งสมณศักดิ์ที่ท่านได้รับมา คือ “ พระครูสิริวัตรวิมล ” แปลว่า พระเถราจารย์ผู้มีวัตรปฎิบัติอันดีงามปราศจากมลทิน
ด้านการปกครอง
พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุกลางใจเมือง
พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นเจ้าคณะคณะตำบลสันทราย
พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อเต่า
พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลสันทราย
ด้านวิชาอาคม ครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร ท่านมีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์ วิชาอาคม การทำตะกรุดและผ้ายันต์ มาตั้งแต่อายุประมาณ ๓๐ ปี ท่านได้ไปศึกษาวิชากับผู้เฒ่าผู้แก่ ฆาราวาสที่มีคาถาอาคมดีตามหมู่บ้านต่างๆ ในอำเภอพร้าวในยุคนั้น และต่อมาได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ครูบาเจ้าอินสม สุมโน แห่งวัดทุ่งน้อย ตำบลบ้านโป่ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พระเกจิมหาเถราจารย์ชื่อดังที่ชาวอำเภอพร้าวให้ความเคารพนับถือ และได้รับการถ่ายทอดวิชาจากท่านครูบาเจ้าอินสม สุมโน มามากมายหลายแขนง
ด้านวัตถุมงคล ท่านครูบาได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ ท่านทำตะกรุดปื๋นแสนแหล่ง ตะกรุดแสนปื๋นก้าน ตะกรุดเทวดาหลงห้อง ตะกรุดน้ำบ่อจึมทราย ผ้ายันต์ป๋ารมี๓๐ทัศ ผ้ายันต์ช้างโขลง ผ้ายันต์ม้าเสพนาง ผ้ายันต์นางกวัก ผ้ายันต์หนูกินน้ำนมแมว และผ้ายันต์พระราหู วัตถุมงคลดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นวัตถุมงคลยุคต้นๆของท่าน แต่ละครั้งทำขึ้นมาไม่มากทำไว้แจกตามโอกาสต่างๆ เช่น งานวัด ปีใหม่เมือง เข้ารุกขมูลกรรม วัดออกพรรษา วันลอยกระทง และทำให้เฉพาะบุลคล ทำแจกให้ประชาชนภายในหมู่บ้านและภายในตำบลเท่านั้น จึงทำให้วัตถุมงคลไม่แพร่หลาย คนรู้จักท่านเพียงแค่ในตำบลสันทรายเท่านั้น “ แต่คนท้องถิ่นก็ต่างประจักษ์ถึงพุทธคุณคุ้มภัยในวัตถุมงคล ของท่านครูบาศรีมรรย์ ยโสธโร ”
|