พระสรรคนั่ง กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท เป็นพระสกุลช่างอู่ทองซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
มีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ไหล่ยก พิมพ์ไหล่ตรง พิมพ์ไหล่ตรงข้างเม็ด ฯลฯ
พระสรรคนั่ง" พิมพ์ไหล่ตรง" เนื้อดิน กรุวัดท้ายย่าน เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีส่วนผสมของว่าน จึง
ทำให้ดูหนึกนุ่มและจะมี "แร่กรวด" ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆในเนื้อขององค์พระมีทั้งเนื้อหยาบและ
เนื้อละเอียด สีขององค์พระก็เหมือนกับพระเนื้อดินเผาทั่วๆไป คือ สีแดง เหลือง เขียว และสีมอย
ทั้งอ่อนและแก่ตามความร้อนที่ได้รับมากน้อยเช่นเดียวกัน...
"จุดสังเกตสำคัญ 2 ประการ" อันนับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในการพิจารณาพระสรรคนั่ง เนื้อดิน
ก็คือ "คราบกรุ" ซึ่งจะเกาะติดแน่นเป็นนวลหนาในเนื้อและพื้นผิวขององค์พระอยู่โดยทั่วๆไป ไม่
สามารถล้างออกได้หมด และ "ผิวขององค์พระ" ซึ่งจะมีลักษณะสูงๆต่ำๆเป็นพลิ้วคลื่น เนื่องมา
จากความแห้งของเนื้อและมวลสารที่มีส่วนประกอบของดินและว่านต่างๆ เมื่อผ่านกาลเวลานับ
เป็นร้อยปีองค์ประกอบแต่ละชนิดก็จะมีสภาพการหดตัวและการสลายตัวที่แตกต่างกัน ทำให้พื้น
ผิวขององค์พระกลายเป็นคลื่นสูงๆต่ำๆไม่ตึงและสม่ำเสมอเหมือนของใหม่...
"พระสรรค" ไม่ว่าจะเป็นกรุไหน พิมพ์ใด ก็ล้วนมีพุทธคุณเป็นเลิศในด้าน เมตตามหานิยม แคล้ว
คลาด และ คงกระพันชาตรีทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องหาพิมพ์นิยม ราคาสูง แต่ขอให้เป็นของแท้แน่
นอนก็แล้วกัน เพราะปัจจุบัน "หายาก" ทุกพิมพ์ครับ.... |