พระร่วงยืนกรุคูบัวนั้น เป็นพระที่ หายาก สุดๆ เพราะจำนวนที่ขึ้นจากกรุมีไม่เกิน 300 องค์เท่านั้น เรียกได้ว่าหายากพอๆกับ หลังรางปืนเลยที่เดียว ที่พอจะนับผู้ถือครองได้ก็มีไม่กี่คนเท่านั้น อยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอู่ทอง 1 องค์ เป็นสมบัติเก่าของวัดคูบัว 2 องค์ อยู่กับ เลศ สุพรรณ 1 องค์ (ไม่รู้ขายไปแล้วหรือยัง) อยู่กับอาจารย์ อเล็ก 1 องค์(เห็นครั้งแรกตะคุบอย่างไว) อีก 295 องค์ในโลกนี้ไม่รู้อยู่กับใครที่ไหนบ้าง ที่แน่ๆ จำนวนหมุนเวียนในตลาดนับองค์ได้เลย ไม่ร่วมกับของเก๊ที่เอามาหลอกขายทั้งในและนอกเวป พระร่วงยืนประทานพรกรุคูบัวนั้น เป็นพระศิลปะลพบุรียุคปลายต้นสมัยอู่ทอง คือศิลปะผสมระหว่างลพบุรีและอู่ทองนั่งเอง มีประหวัติความเป็นมาดังนี้
ในปี พ.ศ.2486 พระอธิการถนอมเจ้าอาวาสวัดคูบัวท่านดำริที่จะก่อสร้างพระอุโบสถและท่านทราบว่าในที่นาของนายกัณหาและนางพัด ศรีเมือง ซึ่งมีที่นาอยู่ห่างจากวัดประมาณ 1 กิโลเมตร มีเนินดินอยู่เนินหนึ่งและมีอิฐเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก ท่านอยากได้อิฐเหล่านั้นไปสร้างพระอุโบสถวัดคูบัว เพื่อเป็นการประหยัด ท่านจึงได้ไปที่บ้านนายกัณหาเพื่อเจรจาขออิฐบนเนินดินเหล่านั้น นายกัณหาและนางพัดก็ไม่ขัดข้องทั้งมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีส่วนร่วมทำบุญกุศลสร้างพระอุโบสถด้วย และต่อไปที่ดินบริเวณนั้นก็จะได้ทำนาได้อีกด้วย ท่านอาจารย์ถนอมจึงได้เกณฑ์พระ-เณร ลูกศิษย์วัดและชาวบ้านไปช่วยกันขุดเอาอิฐมาขณะที่ทำขุดดินขนอิฐไปนั้น บังเอิญพบไหใบหนึ่งบรรจุพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นจำนวนประมาณ 200-300 องค์ แต่คนที่ไปขุดดินขนอิฐนั้นก็ไม่ได้มีผู้ใดสนใจเท่าใดนัก คงทำการขุดขนอิฐกันไปเรื่อยๆ จนอิฐหมด ต่อมานายกัณหา ได้นำพระที่ขุดได้ไปถวายแก่ท่านอาจารย์ถนอม ท่านก็เก็บไว้เป็นเวลานานใครไปใครมาท่านก็แจกพระเขาไปเรื่อยๆ มีคนจากแปดริ้วได้พระไปมากพอสมควร ต่อมาอีก 20 ปี พระร่วงกรุวัดคูบัวก็ได้เริ่มเข้าสู่สนามพระเมืองสุพรรณฯ นักนิยมพระเครื่องเมืองสุพรรณพอเห็นพระเข้าก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นพระเก่า และมีสนิมแดงสวยงาม ก็เริ่มสืบเสาะหาที่มาที่ไปของพระว่ามาจากกรุใด จนสืบทราบได้ว่าพระนั้นมาจากวัดคูบัว จึงเรียกขานกันว่า "พระร่วงกรุวัดคูบัว"ความเป็นจริงแล้วพระร่วงกรุดังกล่าวมิได้ขุดพบที่วัดคูบัวแต่อย่างไร แต่ขุดพบที่ในที่นาของนายกัณหา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดคูบัวไปประมาณ 1 กิโลเมตร และพระทั้งหมดได้มาอยู่กับพระอาจารย์ถนอม เจ้าอาวาสวัดคูบัว แต่ก็อนุโลมตามกันว่าเป็นพระร่วงวัดคูบัว ตามที่เรียกขานกันมาพระร่วงวัดคูบัวที่พบนี้เป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด เท่าที่พบมีพิมพ์พระร่วงยืนพิมพ์ใหญ่ และพระร่วงยืนพิมพ์เล็ก นอกจากนี้ก็ยังพบพระร่วงนั่งอีกบางส่วน เป็นเนื้อชินสนิมแดงเช่นกัน เนื้อผิวสนิมของพระร่วงวัดคูบัวจะเป็นผิวสนิมแดงสีเข้มจัด และมีสนิมไขขาวขึ้นปกคลุมอีกชั้นหนึ่ง พระร่วงวัดคูบัวนี้นับว่าหาดูค่อนข้างยาก เนื่องจากพบพระจำนวนไม่มากนัก
อาจารย์ อเล็ก พระกรุ
|