พระสามหอมเป็นพระพิมพ์หนึ่งของพระสกุลลำพูนที่มีรูปแบบอ่อนช้อย และงดงามมาก แต่ติดที่ขนาดใหญ่ไปนิด ทำให้ถ้าจะนำเอามาขึ้นคอจะดูเทอะทะไปหน่อย เพราะฉะนั้นการมีพระสามหอมเฉพาะองค์กลางอย่างเดียวจึงเป็นสิ่งที่นักสะะสมพระสกุลนี้เสาะหากันมานานแสนนาน
พระสามหอมเดี่ยวแบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. แบบตัดเอง
แบบตัดเองคือได้พระสามหอมเต็มองค์มาแล้ว อาจไม่สมบูรณ์แต่องค์กลางยังสวย แล้วนำไปตัดแต่งให้เหลือเฉพาะองค์กลางอย่างเดียว นี่เรียก พระสามหอมเดี่ยวตัดเอง การพิจารณาพิมพ์ทรงเหมือนพระสามหอมองค์ใหญ่ทุกประการ
2.แบบบธรรมชาติ
แบบนี้คือแบบที่พบได้น้อยมาก คือเกิดจากการกดพิมพ์เฉพาะองค์กลางอย่างเดียว การพิจารณาพระสามหอมเดี่ยวธรรมชาติจริงๆ ซักองค์ ให้นึกถึงวิธีกาารสร้าง เริ่มจากการกดพิมพ์ จะต้องมีการเตรียมดินก้อนไม่ใหญ่นัก เพื่อกดลงไปให้ได้เฉพาะองค์กลาง การที่จะกดให้ได้นำหนักเต็มที่หลังจึงบาง ถ้าใส่ดินเพิ่มเข้้าไปมาก ดินที่เกินพิมพ์จะเลื่อนออกด้านข้างทำให้พระสามหอมไม่ใช่พระสามหอมเดี่ยว เพราะฉะนั้น สรุปว่าหลังพระสามหอมเดี่ยวจึงควรมีหลังเรียบบาง
วิธีสังเกตสามารถทำได้คือ พระสามหอมเต็มองค์ส่วนใหญ่จะมีหลังอูมหนา เมื่อต้องการฝนเอาเฉพาะองค์กลางก็อาจต้องใช้เวลาฝนด้านหลังออกจะทำให้เห็นรอยฝนขอบททั้งด้านข้าง และด้านหลัง
ส่วนขนาดของพระสามหอมที่เข้าใจกันไปต่างๆนานา ว่าพิมพ์อีกแบบที่มีขนาดเล็กนั้นใช่ ขอให้ปรับเปลี่ยนความเข้าใจกันนะครับ
ขนาดของพระสามหอม คือ การกดพิมพ์ลงในแม่พิมพ์พระสามหอมองค์ใหญ่ เพราะฉะนั้นขนาดจะมีขนาดเท่ากับพระสามหอมองค์ใหญ่ ตัดเอาเฉพาะองค์กลางทุกประการ ถ้าพิมพ์ผิดไปจากนั้น หันหลังได้เลยครับ จบข่าว
ไม่ว่าเนื้อจะขัดมาเงาขนาดไหน ก็ตาม พระผิดพิมพ์ก็คือไม่ใช่ พิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่าพระสามหอมเดี่ยวที่เห็นกัน เป็นพิมพ์ที่ครั้งหนึ่ง วัดพันอ้นเคยสร้างพระเกจิออกมา เรียกว่า พระหอมเดี่ยว ซึ่งให้ง่ายเขาก็เลยเอาพิมพ์นี้ไปถอดเพื่อทำเป็นพระสามหอมออกมาขายกัน
ทั้งหมดที่เขียนมา ผมพยายามจะเขียนให้เข้าใจง่าย ถ้าอ่านถึงตรงนี้ยังไม่เข้าใจ อ่านซ้ำอีกหลายๆรอบครับ คงจะมีสักรอบที่เริ่มเข้าใจ
|