พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

♥♡ ครูบา 82 ครูบา 17 ครูบา 36 อ้าว..ครูบา 27 หายไปไหน ♥♡


♥♡ ครูบา 82 ครูบา 17 ครูบา 36 อ้าว..ครูบา 27 หายไปไหน ♥♡


♥♡ ครูบา 82 ครูบา 17 ครูบา 36 อ้าว..ครูบา 27 หายไปไหน ♥♡

   
 

สวัสดีครับพี่ๆ .. วันนี้ เห็นครูบาปี 27 ก็เลยมานึกๆ ดูว่า ทำไม ปี 36 ต้องมาก่อน ปี 27 ทั้งๆ ที่ปี27 เมื่อวิเคราห์ดูแล้วจะเห็นว่า ทั้งพิธีสุดยอด เจตนาการสร้างสุดเยี่ยม แต่โดนปี36แซงหน้าไปเฉยเลย ซึ่งตอนนี้ราคาก็ต่างกันลิบลับมาดูประวัติกันนะครับ..

 
     
โดย : หนานน้อย   [Feedback +24 -0] [+0 -0]   Tue 20, Sep 2011 21:38:07
 








 

50 ปีถนนศรีวิไชยรำลึก

เนื่องจากวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 จะเป็นวันครบรอบ 50 แห่งการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพที่ภายหลังได้ใช้ชื่อทางว่า “ถนนศรีวิไชย” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พระครูบาเจ้าในฐานะประธานการสร้างที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น คณะกรรมการของศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น วัดบุพพาราม ถ.ท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก็ได้มีมติตรงกันว่าเห็นควรจัดงาน “วันกตัญญู เชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภช 50 ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิไชย” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของครูบาศรีวิไชยและบรรพชนที่เสียสละกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ ทำการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญมั่นคง


โดยได้มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติคุณให้แก่ทายาทของบุคคลผู้นำสำคัญในการสร้างทางครั้งนั้นตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติเป็นเอกฉันท์แล้ว ได้แก่

1. ครูบาศรีวิไชย สิริวิชโย
2. ครูบาเถิ้ม โสภโณ
3. ครูบาบุญมา สุนทโร
4. เจ้าแก้วนวรัฐ ณ เชียงใหม่
5. อำมาตย์เอก พระยาอนุบาลพายัพกิจ
6. หลวงศรีประกาศ
7. หลวงอนุสารสุนทร
8. พญาคำวิจิตรธุระราษฎร์
9. พญาไชยธาตุ
10. ขุนกันชนะนนท์
11. ขุนเปาเปรมประชา
12. นายโหงว เตียวเมี่ยงไถ่

โดยคณะกรรมการได้ดำเนินการจัดหาทุนด้วยการสร้างรูปเหมือนครูบาศรีวิไชย ให้ประชาชนสักการะและเช่าบูชา ดังต่อไปนี้


1. รูปเหมือนครูบาศรีวิไชยแบบอนุสาวรีย์ ขนาดเท่าองค์จริงเทด้วยทองเหลืองในอิริยาบถนั่งเก้าอี้ มือซ้ายถือพัดขนนกยูง มือขวาถือไม้เท้า

2. รูปเหมือนครูบาศรีวิไชยแบบบูชาอิริยาบถเดียวกัน ขนาดหน้าตัก 7 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว สูง 12 นิ้ว ทำจากซิลิก้าผสมด้วยผงเกสรดอกไม้ 108 และผงพุทธคุณทั้ง 5 ทาทองบรอนซ์

3. เหรียญรูปไข่ มี 2 ขนาด คือ พิมพ์ใหญ่กับพิมพ์เล็ก ด้านหน้าเป็นครูบาเจ้าศรีวิไชยและข้อความที่ระลึก 50 ปี ด้านหลังอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ล้อมรอบด้วยพระคาถาชนะมารอ่านว่า “สัมพุทธานุภาเวนะ สัพพะสันตาปะวัตถิโต สัพพะสมัตถะสัมปันโน สิระภูโตสะทาภะวะ” สร้าง 3 เนื้อด้วยกันคือ ทองคำ เงิน และ ทองผสม ซึ่งทองผสมทั้งพิมพ์ใหญ่และเล็กมีแบบกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และ กะไหล่ทองลงยาสีน้ำเงินด้วย


กำหนดการมังคลาภิเษกได้จัดขึ้นที่ วัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ อันเป็นวัดที่ครูบาเจ้าได้สร้างไว้ด้วยองค์ท่านเองและอยู่พำนักตลอดเวลาที่ท่านใช้ชีวิตในตัวเมืองเชียงใหม่ ครูบาเจ้าสร้างวัดนี้เพราะมุ่งให้เป็นที่ปฏิบัติธรรมและเป็นศูนย์กลางในการประกอบกรณียกิจของท่าน เป็นสถานที่รับถวายปัจจัยไทยทานจากสาธุชน เป็นคลังเสบียงที่ใช้แจกจ่ายเครื่องอุปโภค-บริโภคแก่ผู้ยากไร้ขาดแคลน เป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องใช้ไม้สอยในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามในเมืองเชียงใหม่ของท่าน ฯลฯ ดังนั้น...


สถานที่นี้จึงเป็นมงคลที่สุด

คณะกรรมการได้นิมนต์พระเถรานุเถระที่เป็นทั้งศิษย์สายตรงในครูบาเจ้าและที่เกี่ยวเนื่องในท่านทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามมาร่วมมังคลาภิเษก มีรายนามดังต่อไปนี้

1. พระครูจันทสมานคุณ (ครูบาหล้า จันโทภาโส)
วัดป่าตึง ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

2. พระครูวิมลวรเวท (ครูบาบุญมี)
วัดท่าสะต๋อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่

3. พระครูวรเวทวิศิษฐ์ (ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย)
วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

4. ครูบาสิงหวิชัย
วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่

5. พระครูมงคลคุณาทร (ครูบาคำปัน)
วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

6. ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโน
วัดวาฬุการาม (วัดป่าแงะ) อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

7. ครูบาจันทร์แก้ว คันธวังโส
วัดดอกเอื้อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

8. ครูบาโสภา
วัดผาบ่อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

9. ครูบาสิงห์แก้ว
วัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

10. ครูบาอ้าย
วัดศาลา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

11. ครูบาอิ่นคำ
วัดข้าวแท่นหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่

12. ครูบาคำตั๋น
วัดสันทรายหลวง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

13. ครูบาญาณวิลาศ
วัดต้นหนุน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

14. พระครูวิมลสีลาภรณ์ (ครูบาสุรินทร์ สุรินโท)
วัดหลวงศรีเตี้ย ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

15. ครูบามูล
วัดต้นผึ้ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

16. ครูบาศรีนวล
วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

17. ครูบาชัยวงศาพัฒนา
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน

18. ครูบาอินตา
วัดห้วยไซ อ.เมือง จ.ลำพูน


19. ครูบาศรีนวล
วัดเจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย

 
โดย : หนานน้อย    [Feedback +24 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Tue 20, Sep 2011 21:43:29





 
พระดีที่ถูกมองข้ามครับ  ประวัติสุดยอดครับ
 
โดย : พระธนบดี    [Feedback +67 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Tue 20, Sep 2011 21:45:29

 
 สุดยอดครับพี่
 
โดย : hangman    [Feedback +9 -0] [+1 -0]   [ 3 ] Tue 20, Sep 2011 21:47:04

 
พิธีมหามังคลาภิเษกเริ่มขึ้นในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เวลา 15.19 น. พระเดชพระคุณพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 7 เป็นองค์จุดเทียนชัย พระมหาเถระที่นิมนต์มาสวดพุทธาภิเษกเจริญพระพุทธมนต์ ทันใดนั้นเอง ท้องฟ้าก็เริ่มพยับเมฆมืดครึ้มลงอย่างน่าอัศจรรย์ ชั่วเวลาไม่นานฝนก็เริ่มตกลงมาอย่างที่เรียกว่า ‘ฝนพรำ’ นับแต่ยอดดอยสุเทพเรื่อยมาจนถึงเชิงดอย และบังเกิดกระแสลมเย็น พัดลงมาจากยอดเขาเข้าสู่วิหารวัดศรีโสดา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเกิดความเยือกเย็นและเงียบสงบอย่างน่าประหลาด

เหตุเหล่านี้ทำให้ประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวเข้าร่วมพิธีต่างนั่งทำสมาธิพร้อมกันไปด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อพิธีเจริญพระพุทธมนต์ดำเนินไปจนถึงเวลา 19.19 น. บรรดาพระอาจารย์ผู้มีอาวุโสซึ่งเป็นศิษย์ในครูบาเจ้าศรีวิไชยจำนวน 18 รูป ได้ประกอบพิธีสวดมนต์ไหว้พระตามแบบอย่างที่ได้เคยปฏิบัติเมื่อครั้งอยู่ร่วมกับครูบาเจ้าศรีวิไชย ซึ่งพิธีนี้อยู่นอกเหนือกำหนดการ นับเป็นมหามงคลแก่มงคลวัตถุและประชาชนในพิธียิ่งนัก

จากนั้นพระเถราจารย์ทุกรูปก็เข้าที่นั่งภาวนาอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุในมณฑลพิธีจนครบเวลานั่งปรกรอบแรก เมื่อพระเถระที่นั่งปรกรอบแรกเดินทางกลับ ครูบาอิ่นแก้ว อนิญชโน วัดป่าแงะ ผู้อยู่ในวาระปรกรอบแรกได้แวะกราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิไชยที่ห้วยแก้ว แล้วท่านก็นำสาธุชนกล่าวอุทิศผลบุญที่ได้จัดงานนี้น้อมถวายเป็นกุศลแก่ครูบาศรีวิไชยและบรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นก็กรวดน้ำหยาดลงสู่แผ่นดิน

วินาทีนั้นเองฝนก็ตกพรำลงมาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และกระจายวงออกไปจนชุ่มฉ่ำทั่วบริเวณ และที่สุดก็ตกไปทั่วเมืองเชียงใหม่ราวกับครูบาเจ้าและเหล่าเทพยดาได้ร่วมกันประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ลูกหลานทุกคน

ครั้นได้เวลามังคลาภิเษกรอบสอง ฝนที่ตกพรำมาตลอดก็หยุดลงทันที ท้องฟ้ากลับแจ่มใสไร้เมฆสมกับที่เป็นฤดูหนาว และไม่นานก็เกิดพระจันทร์ทรงกลดจนเกือบหมดเวลาในการปลุกเสกชุดที่สอง นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยทีเดียว

เมื่อพิธีเสร็จสมบูรณ์ก็มีการแสดงพระธรรมเทศนาต่อเนื่อง 4 กัณฑ์ สวดเบิกฉลองสมโภชแบบล้านนาโบราณจนใกล้อรุณ จากนั้นก็ทำวัตรเช้าสวดมนต์ไหว้พระพร้อมกัน ครั้นได้อรุณก็มีพิธีถวายข้าวมธุปายาสที่หุงขึ้นเป็นพิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

เป็นอันว่าเหรียญที่ระลึก 50 ปีถนนศรีวิไชยก็ผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์มาครบถ้วนบริบูรณ์อย่างไม่มีใดต้องติ พระภิกษุที่มาปลุกเสกก็ล้วนแต่เก่งกล้าสามารถในองค์เองอยู่แล้ว บางรูปเหรียญรุ่นแรกหากันเป็นพันเป็นหมื่นก็มี

 
โดย : หนานน้อย    [Feedback +24 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Tue 20, Sep 2011 21:50:03

 

สุดยอด ครับเสี่ย......

 
โดย : Dear shop    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Tue 20, Sep 2011 21:55:59









 
 
โดย : หนานน้อย    [Feedback +24 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Tue 20, Sep 2011 22:04:28





 
 
โดย : หนานน้อย    [Feedback +24 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Tue 20, Sep 2011 22:04:56

 

ขออนุญาตเจ้าของพระเอารูปมาลง และประวัติดีๆจาดเวบเพื่อนบ้านนะครับ

 
โดย : หนานน้อย    [Feedback +24 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Tue 20, Sep 2011 22:08:09

 

สุดยอดมากครับ ลูกเพ่ ข้อมูลเทพมากๆ

 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Wed 21, Sep 2011 05:14:48





 

ผิวรุ้งเต็มๆ  สภาพประกวด

ล่ารางวัล..

 
โดย : เซียนกิ๊กก๊อก    [Feedback +53 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Wed 21, Sep 2011 06:20:17

 
สุดยอดข้อมูลครับปี้หนาน.....
 
โดย : พรมารดา    [Feedback +72 -1] [+0 -0]   [ 11 ] Wed 21, Sep 2011 13:55:44

 
ข้อมูลยอดเยี่ยมเลยคับ  เจ๋งสุดๆไปเลย
 
โดย : mtparasite    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Wed 21, Sep 2011 22:04:59





 
เหมาะแต๊...เหมาะว่า...ครูบาฯ27 บ่อได้หายไปไหนครับ...เปิ้นไปอยู่รังเสี่ยตี้หมดแล้วคร๊าบบบบบบ....
 
โดย : bongmaerim    [Feedback +29 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Wed 21, Sep 2011 23:46:36

 
ข้อมูลพิธีการสร้างตามนี้เลย นำมาให้ข้อมูลได้ยอดเยี่ยมมากครับ
เหรียญรุ่นนี้รับนิมนต์ไปอยุูต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ ขณะนี้เริ่มมีให้เห็นน้อยลงแล้วครับ โดยเฉพาะเหรียญที่สวยๆ อีกทั้งสร้างก่อน ปี ๒๕๓๖ ถึง ๙ ปี  
 
 
โดย : อาจารย์ตุ้ย    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Thu 22, Sep 2011 21:05:53

 
♥♡ ครูบา 82 ครูบา 17 ครูบา 36 อ้าว..ครูบา 27 หายไปไหน ♥♡ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.