เจดีย์จามเทวีและวิหาร
เมื่อปีพ.ศ. 1298 พระนางจามเทวีนำช่างละโว้ (ปัจจุบันคือ จังหวัดลพบุรี) ไปสร้างพระเจดีย์สุวรรณจังโกฎ เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย ทุกๆด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ภายในบรรจุอัฐของพระนางจามเทวี
ภายในพระเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี เดิมมียอดพระเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ
ปี พ.ศ. 1184 มีพระฤๅษีไปพบทารกหญิง ถูกพญานกคาบมาทิ้งไว้บนใบบัวหลวง จึงเลี้ยงดูและสอนสรรพวิทยาการต่างๆ ให้
เมื่อพระนางจามเทวี เจริญวัยได้ 13 พรรษา พระฤๅษีจึงต่อนาวายนต์พร้อมด้วยฝูงวานรเป็นบริวารลอยล่องไปตามลำน้ำ ถึงยังท่าน้ำวัดชัยมงคล
เมื่อพระเจ้ากรุงละโว้และพระมเหสีพบเห็น จึงได้นำกุมารีน้อยนั้นเข้าสู่พระราชวัง และตั้งให้เป็นพระราชธิดา นามว่า "จามเทวีกุมารี" และให้ศึกษาศิลปวิทยาการตำราพิชัยสงคราม และดนตรีทุกอย่าง
พ.ศ. 1198 พระนางจามเทวีมีพระชนม์ 14 พรรษา ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายราม แห่งนครรามบุรี
พ.ศ. 1204 พระนามจามเทวีมีพระชนม์ 20 พรรษา เป็นกษัตรีย์วงศ์จามเทวีแห่งนครหริภุญชัย โดยพระนางเจ้าได้อัญเชิญพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) จากเมืองละโว้ เมื่อปี 700 ขึ้นมา เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง (ปัจจุบัน พระเสตังคมณีองค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่)
พระนางจามเทวี มีพระโอรส 2 องค์ องค์พี่มีนามว่ามหายศ (มหันตยศ) องค์น้องมีนามว่าอินทวร(อนันตยศ) โดยพระเจ้ามหายศ ได้ขึ้นเสวยครองเมืองหริภุญชัยนคร แทนพระมารดา ส่วนพระองค์น้องพระเจ้าอินทวรไปครองเมืองเขลางค์นคร ที่มหาพรหมฤๅษี และสุพรหมฤๅษีร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ให้พระองค์โดยเฉพาะ
ส่วนพระนางจามเทวีมีพระชนม์ได้ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติทุกอย่าง
ให้พระโอรสทั้งสอง โดยพระนางออกบวชชีบำเพ็ญพรตอยู่ที่วัดจามเทวีแห่งนี้
พ.ศ. 1276 พระนางจามเทวีได้ปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดแห่งนี้ พระชนม์ครบ 92 พรรษา
พระนางจึงได้สิ้นพระชนม์ ซึ่งทางพระมหันตยศ และพระอนันตยศ
ก็ได้จัดถวายพระเพลิงภายในวัดดังกล่าวอย่างสมพระเกียรติ
และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิของพระนางไว้ ณ ที่นี้
โดยให้ชื่อเจดีย์ว่า สุวรรณจังโกฏเจดีย์ ที่ได้เป็นต้นแบบของเจดีย์ในแถบล้านนา
ต่อมานานนับพันปี “สุวรรณจังโกฏเจดีย์” ชำรุดผุพัง ยอดพระเจดีย์ได้หัก
และหายไป กลายเป็นวัดร้าง และชาวบ้านได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดกู่กุด” (กู่กุด เป็นภาษาล้านนา แปลว่า เจดีย์ยอดด้วน)
พ.ศ. 2469 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยี่ยมวัดแห่งนี้ จึงได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจาก วัดกู่กุด เป็น วัดจามเทวี เช่นเดิม
พ.ศ. 2479 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองนครลำพูนได้ไปนิมนต์ท่านครูบาศรีวิชัย ช่วยบูรณะวัดจามเทวีอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมาวัดจามเทวี ก็เจริญรุ่งเรือง
ส่วนรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนบนสุวรรณจังโกฏเจดีย์ ได้กลายเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ประประเมินค่าไม่ได้
พระพุทธรูปปางต่างๆ
ในแต่ละชั้นของเจดีย์แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธา
และการเข้าถึงพระพุทธศาสนาของพระนางจามเทวี
โดยสุวรรณจังโกฏเจดีย์เป็นต้นแบบของเจดีย์ทั้งหลาย
ซึ่งบางครั้งเรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า เจดีย์ทรงขัตติยะนารี
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จมาเปิดอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองคอก สร้างเป็นอนุสรณ์แก่พระนางจามเทวี
เป็นปฐมกกษัตริย์แห่งหริภุญชัย เป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม มีความสามารถ
กล้าหาญ
ได้นำพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่จนมีความรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน
วัดจามเทวี
วัดจามเทวี
เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่
มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูนตั้งอยู่ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา
โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดกู่กุด
ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด
ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง ประกอบกับตำนานและนิยาย
ซึ่งกล่าวกันว่า พระราชโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศ
และพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง
แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ
แต่จากการที่ได้พบศิลาจารึกวัดกู่กุด บริเวณเชิงพระธาตุเจดีย์กู่กุด
(ศิลาจารึกลำพูนหลักที่สอง
ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
ศิลาจารึกหลักนี้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู่กุด ที่ได้หักพังลง
เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นในสมัยนั้น
ฉะนั้นลักษณะทางศิลปกรรมของพระเจดีย์ที่วัดกู่กุดนี้
น่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์ คือ พุทธศตวรรษที่ ๑๗
และน่าจะไม่เก่าเกินรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิ์
หลังจากนั้นวัดนี้ก็คงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้อาราธนาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
มาช่วยก่อสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ
ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด
แล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นใหม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐ มีชื่อว่า
วัดจามเทวี จนกระทั่งทุกวันนี้
โบราณสถานที่สำคัญในวัดจามเทวี
๑. พระเจดีย์กู่กุด ลักษณะ
รูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง
ฐานนล่างทำเป็นหน้ากระดานสามชั้น องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม
ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นจะมีซุ้มจระนำ ด้านละสามซุ้ม
ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานอภัย เป็นพระพุทธรูปปั้นหุ้มศิลาแลง
แบบนูนสูง รวมทั้งหมด ๖๐ องค์ ซุ้มจระนำทำเป็นซุ้มโค้งแบบสองหยัก
ซึ่งเป็นลักษณะซุ้มสมัยทราวดีตอนปลาย กระหนกปั้นเป็นกระหนกผักกูด
ตัวเหงาที่ปลายซุ้มเป็นแบบทราวดี
บริเวณมุมทั้งสี่ของแต่ละชั้นยกเว้นชั้นบัวกลุ่ม และปล้องไฉน
ส่วนยอดบนสุดได้หักหายไปจึงมีการเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า เจดีย์กู่กุด
พระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบถาปัตยกรรม
ที่มีความสำคัญในศิลปกรรมหริภุญชัย
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘
มีรูปแบบคล้ายกับสัตตมหาปราสาทที่เมืองโบลนนาลุวะ ประเทศศรีลังกา
และเป็นแบบที่แพร่หลาย เคยพบร่องรอยเจดีย์แบบนี้ที่ เวียงท่ากาน
เวียงมโน และนิยมสร้างกันในสมัยต่อมา ในแคว้นล้านนาและสุโขทัยเช่น
วัดเจดีย์เหลี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ วัดพญาวัด จังหวัดน่าน วัดมหาธาตุ
จังหวัดสุโขทัย
๒. เจดีย์แปดเหลี่ยม ลักษณะ
ทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป
สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ
ส่วนฐานประกอบด้วยฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น
ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลารองรับองค์เรือนธาตุ
โดยส่วนล่างของเรือนธาตุทำเป็นฐานลดท้องไม้ลงเล็กน้อยจากระดับผนังของเรือน
ธาตุ ส่วนเรือนธาตุมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมทรงสูง
ประดับซุ้มจระนำภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน
ซุ้มมีลักษณะเป็นวงโค้งสามวง ภายนอกประกอบด้วยทรงฟักเพกา หรือเรียกว่า
ซุ้มเคล็กส่วนสันมุมทั้งแปดจะก่อเรียงอิฐยื่นออกมาจากผนังได้ระดับเดียวกับ
กรอบซุ้ม เป็นการแบ่งขอบเขตของแต่ละด้าน ส่วนยอดถัดจากตัวเรือนธาตุขึ้นไป
เป็นบัวถลาลดท้องไม้สองชั้น ขนาดเล็กลดหลั่นกันขึ้นไปเล็กน้อย
รองรับฐานแปดเหลี่ยมเตี้ยๆ มีลักษณะลดท้องไม้เช่นกันแต่ที่บริเวณท้องไม้
แต่ละด้านจะมีซุ้มทรงสามเหลี่ยม
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ
ถัดขึ้นไปเป็นชั้นลวดบัวรองรับองค์ระฆังทรงกลม
ส่วนยอดบนสุดหักหายไปแล้ว เทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์แปดเหลี่ยมนี้
ก่อด้วยอิฐทั้งหลัง ภายนอกฉาบปูนและปั้นปูนประดับ
มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง
ส่วนโครงสร้างมีการซ่อมเสริมจนเต็มรูปเจดีย์ทั้งสององค์
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่
๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๖๗ ลงวันที่ ๒๕
กันยายน พ.ศ.๒๕๒๒
วัดจามเทวี วัดสุดท้ายที่ครูบาศรีวิชัยบูรณะ
เจดีย์
มหาพน(เจดีย์ซุ้มเหลี่ยมทรงปราสาท)สร้างโดยข้าศึกชาวละโว้
ที่ถูกจับเป็นเชลยในสมัยพญาอาทิตยราช (กษัตริย์ลำดับที่ ๓๒
แห่งจามเทวีวงศ์) ในคราวทำสงครามระหว่างหริภุญชัยและละโว้ ครั้งที่ ๓
(โดยสงครามสองครั้งก่อนเป็นสงครามธรรมายุทธ์-ใช้ปัญญาต่อสู้กันไม่ใช้อาวุธ ครั้งแรกหริภุญชัยบุกละโว้ แข่งกันสร้างเจดีย์ที่ละโว้ ฝ่ายละโว้เป็นผู้ชนะ ครั้งที่สอง ละโว้บุกหริภุญชัย แข่งกันขุดสระน้ำที่หริภุญชัย หริภุญชัยเป็นฝ่ายชนะ)
ครั้งที่สามบุตรอำมาตย์เมืองละโว้อาสาเป็นแม่ทัพนำทหารมาสู้กับหริภุญชัย
แต่ได้พากองทัพเดินหลงทาง เดินเลยเมืองหริภุญชัยไปทางเหนือ
จนเสบียงที่นำมาหร่อหรอและหมดลง พญาอาทิตยราช
สั่งให้ทหารไปล้อมจับไว้เป็นเชลย
และพระองค์ก็ทรงเบื่อหน่ายในการสงครามที่มีกับละโว้มาเกือบตลอดยุคสมัยของ
พระองค์ ก็ดำริพร้อมที่จะยุติสงครามด้วยความสันติ
จึงโปรดให้เชลยเหล่านั้นสร้างมหาพลเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ที่จะให้เลิกทำ
สงครามต่อกัน (มหาพลเจดีย์หมายถึงเจดีย์ที่สร้างโดยพล-กำลังจำนวนมาก
ต่อมาเขียนเพี้ยนเป็นสันมหาพนไป)
แล้วโปรดให้เชลยเหล่านั้นสร้างบ้านเรือนอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมือง
แต่หลังจากที่เชลยเหล่านั้นอยู่มาได้ระยะหนึ่ง
ก็คิดถึงลูกเมียที่เมืองละโว้ จึงกรามทูลขอลากลับไปบ้านเมืองตน
พระองค์จึงให้ทำพิธีสาบานตนว่าจะไม่เป็นศัตรูต่อกันอีก
แล้วอนุญาตให้กลับไปบ้านเมืองของตนไป
หลัง
จากเหตุการณ์สร้างมหาพนเจดีย์แล้ว
พุทธศาสนาในเมืองหริภุญชัยที่สืบทอดมาแต่พระนางจามเทวีผู้นำพุทธศาสนามา
ประดิษฐานเป็นครั้งแรกเมื่อ ๔๐๐
ปีก่อนสร้างมหาพลเจดีย์ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
เมื่อพญาอาทิตยราชได้พบเหตุการณ์มหัศจรรย์หลายอย่างในสถานที่แห่งหนึ่ง
เกิดปรากฏพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งผอบผุดขึ้นจากแผ่นดินสูงประมาณ ๓
ศอก เปร่งพระฉัพพรรณรังสีลอยอยู่ ณ ที่นั้น
พญาอาทิตยราชจึงได้ทรงบรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุ
โปรดให้ทำไว้ลงสมุกอันวิจิตรด้วยรัตนะ แล้วประดิษฐานไว้บนแผ่นศิลาแห่งหนึ่ง
แล้วโปรดให้สร้างสถูปทรงปราสาทสูง ๑๒ ศอก มี ๔ เสา ประตู ๔ ด้าน(ชินกาลมาลีปกรณ์:101)
ซึ่ง
เจดีย์พระบรมธาตุนั้น ยังได้รับการบูรณะต่อมาอีกหลายครั้ง
เช่นในสมัยพญาสัพพสิทธิ์และสมัยพญามังรายปฐมกษัตริย์ล้านนา
แต่ในการบูรณะในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนา(เชียงใหม่)
โปรดให้สร้างเป็นรูปทรงระฆังคว้ำที่เห็นเช่นในปัจจุบันนี้
หลังจากที่มหาพลเจดีย์ได้สร้างมาเป็นเวลานานได้เกิดปลายยอดเจดีย์หักพังลงมา
ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
และกู่ได้รับการบูรณะในสมัยพระสัพสิทธิกษัตริย์หริภุญชัยองค์ที่ ๓๕
ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียกเจดีย์นั้นว่า “กู่กุด”
ต่อ
มามีบันทึกของ สมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เสร็จมาตรวจราชการมลฑลพายัพแล้ว
ขากลับได้ทรงล่องเรือไปตามแม่น้ำปิงจากเชียงใหม่กลับปากน้ำโพ
ในระหว่างวันที่ ๑๑-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๔
(สมเด็จฯมาเชียงใหม่โดยรถไฟซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดเดินรถเป็นครั้งแรกเมื่อวัน
ที่ ๑ ม.ค.พ.ศ.๒๔๖๔)
ซึ่งในช่วงที่ล่องเรือผ่านเมืองลำพูนได้แวะดูเจดีย์เหลี่ยมสันมหาพน –ซึ่ง
อยู่ในวัดจามเทวีปัจจุบันในวันที่ ๑๒ ก.พ.๒๔๖๔ที่
สมเด็จฯได้ถ่ายรูปเจดีย์โบราณ ๒
แห่งนั้นและได้รับการเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในภายหลัง โดยสันนิษฐานว่า
หนึ่งในสองของเจดีย์นั้นบรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี
ที่หลังจากทำเสร็จพิธีประชุมเพลิงพระศพเจ้าแม่จามเทวี
บริเวณป่ายางด้านเหนือของตัวเมืองแล้ว
ท้าวมหันตยศและท้าวอนันตยศราชบุตรทั้งสอง
ได้นำพระอัฐิและเครื่องอัฐบริขารของพระนางส่วนมาบรรจุสร้างสถูปเจดีย์
ไว้ในที่ดอนแห่งหนึ่งด้านทิศตะวันตกของเมืองหริภุญชัย
หลัง
จากที่ครูบาศรีวิชัย กลับจากการแก้ข้ออธิกรณ์ (ครั้งที่ ๓)
กรณีครูบาศรีวิชัยบวชให้ตาปะขาวปี (ครูบาขาวปี)
ภายหลังจากที่เสร็จการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ
ภายใต้การร้องขอและการสนับสนุนอย่างแข็งขันให้มีการบวช
จากเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และหลวงศรีประกาศสมาชิกสภาผู้แทนรา
ษฏรจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น
ที่เคยรับปากรับรองกับครูบาศรีวิชัยว่าจะไม่ทำให้การบวชตาปะขาวปีครั้งนี้ทำ
ให้ครูบาเดือดร้อนในภายหลัง
แต่เมื่อครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์อีกครั้งหนึ่งและเดินทางไปแก้ข้อกล่าวหาที่
กรุงเทพฯ ก็หาได้มีผู้ใดไปแวะหาเยี่ยมเยียนครูบาไม่ มีแต่เจ้าหนานบุญมี
สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดลำพูน
เมื่อครูบาจนพ้นจากข้ออธิกรณ์ด้วยตัวเองได้แล้ว
หลวงอนุสารสุนทรได้เข้าไปนิมนต์ครูบาศรีวิชัย ณ วัดเบญจมบพิตร
ขอให้กลับไปช่วยปฏิสังขรณ์สาธารณะสถานของเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง
อันเป็นที่มาของคำตอบ ที่เป็นวลีอัมตะของครูบาศรีวิชัยที่ว่า “คราบใดที่น้ำปิงไม่ไหลล่องขึ้นเหนือ เฮา(ตัวครูบา)จะบ่ขอเหยียบแผ่นแผ่นดินเจียงใหม่อีก” ที่ทำให้เกิดการตีความภายหลังไปต่างๆนานา
(ซึ่งมีหลายคนตีความว่าครูบาได้เคยพูดคุยอะไรกับเจ้าหนานบุญมีมาก่อนหริอไม่
หรือเจตนาอาจเป็นการแสดงอภิญญาทิพยจักษุฌานของครูบาอีกครั้งหนึ่งเหมือนคราว
ที่ให้คำทำนายกับหลวงศรีประกาศว่าถนนขึ้นดอยสุเทพฯจะเสร็จใน ๖
เดือนแล้วก็เป็นจริงตามคำทำนาย
เหมือนครูบาจะทราบว่าวันหนึ่งท่านจะกลับเชียงใหม่(รูปปั้นตีนดอยสุเทพ)
ในวันที่แม่น้ำปิงไหลล่องขึ้นเหนือตอนปิดเขื่อนภูมิพลพอดีก็ได้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นอาจินไตยเกินกว่าภูมิความรู้ของคนสามัญธรรมดาในการ
เข้าถึงเหตุปัจจัยของความจริงแท้ได้) เมื่อเสร็จจากข้ออธิกรณ์ครั้งนั้น
ครูบาได้เดินทางกลับลำพูน มา
ลงรถไฟที่สถานีรถไฟลำพูน โดยมีพระภิกษุสามเณร
พร้อมด้วยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์และคณะศรัทธาประชาชนไปต้อนรับอย่างล้นหลาม
บางคนถึงกับเอาร่างกายลงนอนให้ครูบาเหยียบร่างเดินไปโดยไม่ให้เท้าครูบาแตะ
พื้นดินที่สกปรก
แสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาของผู้คนยุคนั้นว่ามีมากน้อยเพียงใด
หลังจากเจ้าหลวงฯได้นิมนต์ครูบาศรีวิชัยไปพักที่วัดพระธาตุหริภุญชัย
แล้วได้จัดทำพิธีถวายเครื่องสักการะบูชาและทำบุญทำทานเป็นเวลา ๗ วัน
แล้วในระหว่างทำบุญอยู่นั้น เจ้าหลวงจักรคำฯพร้อมด้วยเจ้านาย
สส.และข้าราชการ
ได้กราบอาราธนานิมนต์ท่านครูบาไปบูรณะซ่อมแซมวัดร้างที่มีมาแต่โบราณที่
เรียกว่ากู่กุด ครูบารับปากจะช่วยเหลือแต่ขอกลับไปบ้านปางบ้านเกิดก่อน
เมื่อครูบาศรีวิชัยได้กลับมาเป็นประธานในการบูรณะ กู่กุดในปี พ.ศ.๒๕๗๙
ครู
บาฯได้ให้สานุศิษย์แผ้วถางเถาวัลย์ปรับสถานที่แล้วได้ก่อสร้างพระวิหารขึ้น
มาก่อน
พระเณรต้องปั้นอิฐและเผาเอง(เตาเผาอยู่บริเวณที่ทำการขุมชุนหน้าวัด)หรือชาว
บ้านนำอิฐที่ปั้นสลักมีรูปตัวเปิ่งปีเกิดจากบ้านมาฮอมร่วมทำบุญกับครูบา
เมื่อพระวิหารเสร็จจึงได้สร้างกำแพงรอบวัด
เมื่องานก่อสร้างทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย จึงได้ทำบุญฉลองสมโภช “ปอยหลวง” ๑๕ วัน ๑๕ คืน แล้วได้ตั้งชื่อ “วัดจามเทวี”
เป็น
ที่น่าสังเกตการณ์จัดงานปอยหลวงของครูบาศรีวิชัย
จะมีความแตกต่างกับปอยหลวงในปัจจุบันนี้ คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า
ปอยหลวงในสมัยนั้นชาวบ้านที่จะมาร่วมทำบุญกับครูบาก็จะเอาผลผลิตทางการเกษตร
ข้าวสาร พริก กล้วยอ้อย
ฟักแฟงแตงกวาที่ตนเองปลูกเอามาฮอมที่บริเวณวัดแห่งเดียว
เมื่อครูบาก็จะปันพร(อย่างรวดเร็วด้วยเพราะมีคนรอจะถวายของและต้องให้
อนุโมทนาเยอะมาก)ให้แล้ว ก็จะเอาของทานนั้น
ไปทำเป็นอาหารเลี้ยงสู่กันเอง(โรงทาน)หากของทานเหลือกินก็จะให้นำไปเลี้ยง
พวกขี้โซ่
(นักโทษ-เรือนจำลำพูนขณะนั้นอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชยใน
ปัจจุบัน) แล้วปอยหลวงก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
และก็ไม่มีการตั้งวงเลี้ยงสุรายาเมาร้องรำทำเพลงอย่างเอิกเริก
จนเกินความพอดีเช่นปอยหลวงในปัจจุบันนี้
ครู
บารับนิมนต์ไปนั่งหนัก(เป็นประธาน)ในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงที่บ้านริม
ปิงไปฝั่งหนองตอง เชียงใหม่ แต่สร้างยังไม่ทันเสร็จ
ครูบาฯอาพาธเป็นโรคริดสีดวงทวารที่ครูบาบอกกับสานุศิษย์ภายหลังว่าเป็นกรรม
ของครูบาในภพก่อน ๆที่เคยเอาเหล็กแหลมแทงก้นกบจนต้องทุกข์ทรมานมาถึงชาตินี้ ครูบานอนรักษาตัวที่วัดจามเทวี
จนสุดท้ายเห็นว่าไม่ไหวครูบาจึงขอกลับไปบ้านปาง และได้มรณภาพลงอย่างสงบในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ เวลา ๒๔.๐๕.๓๐ น แล้ว
ตั้งศพของท่านไว้ที่บ้านปาง ๓ ปี จึงเคลื่อนศพใส่โลงแก้วมาไว้ที่วัดจามเทวี
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ เพื่อรอพระราชทางเพลิงศพ แต่ก็มาเกิดสงครามโลกครั้งที่
๒(๒๔๘๔-๒๔๘๘) เสียก่อน จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๙ ได้มีการทำบุญ ๑๕ วัน ๑๕ คืน
ก่อนที่จะพระราชทานเพลิงศพครูบาในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ ที่วัดจามเทวี
วัดสุดท้ายที่ท่านสร้างมานั่นเอง
ที่มา : วิกิพีเดีย
ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
ที่มา : ฮีดฮอยหละปูน โดย ตนบ่เก่า |