พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

ปรกโพธิ์ 9 ใบ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม


ปรกโพธิ์ 9 ใบ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม


ปรกโพธิ์ 9 ใบ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม

   
 

พระปรกโพธิ์เก้าใบ พิมพ์ใหญ่ พระดินเผ่าเนื้อละเอียด มีสีแดง สีดำ และสีน้ำตาลแดง

เป็นพิมพ์ประกบสองหน้า เป็นพระที่หลวงพ่อกวยพิมพ์เองครับ เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 กว่าๆขึ้นมาเรื่อยๆ  กว้างประมาณ 61 มิลลิเมตร สูงประมาณ 82 มิลลิเมตร ทำประมาณ 200 องค์ครับ

 
     
โดย : toi   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Fri 9, Jan 2009 19:06:17
 








 

เนื่องจากเป็นแม่พิมพ์ประกบ จึงทำให้มีตะเข็บข้างให้เห็นครับ

ภาพด้านข้างทั้งสองข้างครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Fri 9, Jan 2009 19:12:02









 

จะเล่น จะสะสม ขอให้ดูให้ดีดีนะครับ เพราะมีการทำเก๊มานานแล้วครับ แต่ของปลอมยังทำได้ไม่เหมือนหรอกครับ ขนาดก็จะหดเล็กกว่าของจริงอีกด้วยครับ

ขอบข้างด้านบนและด้านล่างครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Fri 9, Jan 2009 19:17:49









 

เล่นพระเนื้อผงและเนื้อดินของหลวงพ่อกวยนั้น เล่นยากอยู่สักหน่อย แต่เท่าที่ผมเอามาบอกเล่าให้ฟัง พร้อมทั้งถ่ายภาพให้ดูชัดๆอย่างนี้แล้ว คิดว่าท่านคงจะเอาเป็นแนวทางในการสะสมได้สบายๆนะครับ

เนื้อนูนซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์บุ๊มลงไปครับ เป็นตำหนิในพิมพ์ครับ  ของเก๊ซึ่งใช้วิธีถอดพิมพ์ออกมานั้น ตรงจุดนี้จึงตื้นกว่าของแท้เยอะครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Fri 9, Jan 2009 19:32:17









 

สังเกต เกศพระพุทธชินราชครับ จะเห็นเป็นรูปอุณาโลมชัดเจน ของเก๊จะไม่เห็นเป็นรูปอุณาโลมครับ

ข้างซ้ายของพระปรกโพธิ์เก้าใบ นอกเส้นซุ้มจะมีเส้นขอบพิมพ์เล็กๆบางให้เห็น และจะมีเส้นนูนใหญ่กว่าเส้นขอบพิมพ์อยู่ครับ ตรงศรแดงชี้ จุดนี้ของเก๊ไม่มีให้เห็นครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Fri 9, Jan 2009 19:45:39









 

ส่วนที่เป็นเนื้อผงนั้น พระอาจารย์โกเมส มณีโชต คณะ 6 วัดราชนัดดาราม กทม. ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อกวย ทำให้หลวงพ่อกวยอธิษฐานจิตให้ครับ ความนิยมสู้เนื้อดินที่หลวงพ่อกวยทำเองไม่ได้ครับ

ส่วนฅนมือผีไม่ต้องเอาไปทำเล่นแบบมาหลอกขายกันนะครับ เพราะผมยังมีจุดตายใช้พิจารณาอีกหลายจุดครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Fri 9, Jan 2009 20:03:05









 

พระเนื้อดินเผา หาได้ยากกว่าเนื้อผงครับ

มีปัญหาไม่เข้าใจที่ผมเล่าให้ฟังไปแล้วนี้ โทรคุยกันได้ครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Fri 9, Jan 2009 20:11:43

 
  สุดยอดครับ
 
โดย : เกราะทองคำ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Fri 9, Jan 2009 23:03:04

 

ขอบคุณครับผม

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Sat 10, Jan 2009 07:51:22









 

ภาพสุดท้าย  เจ้าของพระจะเขียนไว้ที่องค์พระว่า เจ้าคุณนรรัตน์ เศก 5 ธ.ค.2513  นั่นแสดงว่าทันหลวงพ่อกวยอธิษฐานจิตแน่นอน  ในปี พ.ศ.2513 หลวงพ่อแพ หลวงพ่อกวย ท่านเจ้าคุณนรฯ คุณรู้จักหลวงพ่อองค์ไหนก่อนกันครับ

ปีพ.ศ. 2513 เป็นปีที่หลวงพ่อกวยทำปรกโพธิ์ 9 ใบเป็นชุดสุดท้ายใช่ไหมครับ แต่อาจจะใช้พิมพ์ด้านหลังมี พ.ศ. พิมพ์มาอีกสัก 4-5 ปี ก่อนที่แม่พิมพ์จะหลุดไปอยู่ในมือคนทำพระเก๊ก็ได้นะครับ  

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Fri 1, Jan 2010 15:37:13









 
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2007, 08:05:47 AM »
สรุปว่า พระปรกโพธิ์เก้าใบ ทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 ด้านหน้ามีบล็อคเดียว  แต่ด้านหลังมีแบบ 4 รูปแบบ คือ
1.หลังพระชินราช ทำประมาณปี 2506
2.หลังยันต์จมไม่มี พ.ศ. ทำประมาณ ปี 2509 พระค่อนข้างหนา
3.หลังยันต์นูน มี พ.ศ.2513 กับ หลังยันต์จม มี พ.ศ.2513 ทำปี 2513
4.หลังแม่พระธรณี ทั้งผ้าถุงตาราง และผ้าถุงลาย เป็นแบบสุดท้าย ทำราวปี 2515-2520
อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ยิงฟันยิ้ม
ผมสรุปจากเพื่อนสมาชิก ตอบไว้ในกระทู้ถาม-ตอบครับ มีความคิดเห็นอย่างไรร่วมแสดงความคิดเห็นได้นะครับ ยิงฟันยิ้มพิมพ์นี้อยู่ลำดับการสร้าง ลำดับที่ 2 ครับ คือทำประมาณ พ.ศ. 2509 ครับ ส่วนทำกี่ครั้ง มีเนื้อเป็นแบบไหนบ้าง ท่านที่มีความชำนาญและรู้เรื่องนี้อย่างดี คุยกันเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ รุ่นหลังด้วยนะครับ ส่วนองค์พระ กระทู้นี้เปิดกว้าง ให้เอาพระที่อยู่ในความสงสัย ว่าจะแท้ หรือจะเก๊กันแน่น้า.. ลงร่วมแจมได้เลยครับ ใครที่สวดพระของคนอื่นไม่ดี ขอให้จู๊ดๆครับ แหะๆ ยิงฟันยิ้ม
 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Wed 6, Jan 2010 05:40:20

 



« ตอบ #14 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2007, 07:41:48 PM »
พระปรกโพธิ์องค์นี้มีโอกาสแท้ แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของรูปทำให้พิจารณายากครับ องค์นี้มีสิ่งผิดปรกติอย่างหนึ่งที่ด้านหลังครับคือขอบโดยรอบอย่างน้อย 2 ด้านมีเส้นซ้อนในลักษณะของครีบหรือเนื้อเกินซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี มักเกิดกับพระเก๊หรือถอดพิมพ์ ส่วนพระแท้ขอบจะเรียบร้อยมากไม่พบว่ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกองค์
ในส่วนของความเป็นพระปรกโพธิ์หลังยันต์หรือหลังแม่พระธรณีบีบมวยผมอย่าน้อยใจไปเลยครับเรื่องได้ปรกโพธิ์หลังยันต์แต่ไม่ได้หลังแม่พระธรณีความเป็นจริงบล๊อกพระปรกโพธิ์ที่เสร็จมาก่อนคือด้านหน้า ด้านหลังท่านเอาพิมพ์พระพุทธชินราช มากดประทับเป็นองค์นูนเอาไว้ทำราวปี 2506
   ยุคถัดมาบล๊อกหลังยันต์ครูเป็นยันต์จม  ( หรือยันต์นะโมพุทธายะใหญ่ )ราวปี2509 องค์พระจะค่อนข้างหนา แล้วก็มี หลังยันต์นูนมีพศ 2513 และยันต์จมมี พศ 2513  นั้นมีมาตามลำดับ แล้วจึงมีหลังยันต์แม่พระธรณีอีก2 แบบ คือแม่พระธรณีผ้าถุงตาราง กับแม่พระธรณีผ้าถุงลาย เป็นแบบสุดท้าย ราวปี 2515-2520 ซึ่งเรียบลำดับกันมา และโดยมวลสารยุคแรกก็ผงมากมวรสารมาก ยุคท้ายๆใส่พลอยด้วย ก็ลองพิจารณาดูครับว่าแบบไหนดีอย่างไรส่วนตัวผมดีทุกรุ่นทุกคราวที่หลวงพ่อทำ การเป็นหลังแม่พระธรณี ความเป็นจริงหลวงพ่อท่านเอาเคล็ดการปลุกเสกของท่านมาใส่แทนยันต์เท่านั้นคือตอน พระพุทธเจ้าชนะมาร  เหมือนหลวงปู่ดู่ และ หลวงพ่อผินะ ท่านเอาเคล็ดตอนพระพุทธเจ้าทรมานและโปรดท้าวพญาชมพูพานบดี หรือที่เรียกกันว่า ปางจักรพรรดิ์ อันเป็นที่มาของพระบูชารัตนทรงเครื่องทั้งหลายที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ก็บูชาตามคติความเชื่อนี้ พระทุกองค์ท่านเสกด้วยเคล็ดนี้เสมอกันหมดถือเป็นพุทธเวทย์เป็นของสูง อย่าน้อยใจไปเลยครับหลังยันต์ก็ดีมากแล้วครับผม  ยิงฟันยิ้ม

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Wed 6, Jan 2010 06:06:26

 

เอกดนตรีสยาม
Register Member
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 524


อันชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก


« ตอบ #14 เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2007, 07:41:48 PM »
พระปรกโพธิ์องค์นี้มีโอกาสแท้ แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของรูปทำให้พิจารณายากครับ องค์นี้มีสิ่งผิดปรกติอย่างหนึ่งที่ด้านหลังครับคือขอบโดยรอบอย่างน้อย 2 ด้านมีเส้นซ้อนในลักษณะของครีบหรือเนื้อเกินซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี มักเกิดกับพระเก๊หรือถอดพิมพ์ ส่วนพระแท้ขอบจะเรียบร้อยมากไม่พบว่ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกองค์
ในส่วนของความเป็นพระปรกโพธิ์หลังยันต์หรือหลังแม่พระธรณีบีบมวยผมอย่าน้อยใจไปเลยครับเรื่องได้ปรกโพธิ์หลังยันต์แต่ไม่ได้หลังแม่พระธรณีความเป็นจริงบล๊อกพระปรกโพธิ์ที่เสร็จมาก่อนคือด้านหน้า ด้านหลังท่านเอาพิมพ์พระพุทธชินราช มากดประทับเป็นองค์นูนเอาไว้ทำราวปี 2506
   ยุคถัดมาบล๊อกหลังยันต์ครูเป็นยันต์จม  ( หรือยันต์นะโมพุทธายะใหญ่ )ราวปี2509 องค์พระจะค่อนข้างหนา แล้วก็มี หลังยันต์นูนมีพศ 2513 และยันต์จมมี พศ 2513  นั้นมีมาตามลำดับ แล้วจึงมีหลังยันต์แม่พระธรณีอีก2 แบบ คือแม่พระธรณีผ้าถุงตาราง กับแม่พระธรณีผ้าถุงลาย เป็นแบบสุดท้าย ราวปี 2515-2520 ซึ่งเรียบลำดับกันมา และโดยมวลสารยุคแรกก็ผงมากมวรสารมาก ยุคท้ายๆใส่พลอยด้วย ก็ลองพิจารณาดูครับว่าแบบไหนดีอย่างไรส่วนตัวผมดีทุกรุ่นทุกคราวที่หลวงพ่อทำ การเป็นหลังแม่พระธรณี ความเป็นจริงหลวงพ่อท่านเอาเคล็ดการปลุกเสกของท่านมาใส่แทนยันต์เท่านั้นคือตอน พระพุทธเจ้าชนะมาร  เหมือนหลวงปู่ดู่ และ หลวงพ่อผินะ ท่านเอาเคล็ดตอนพระพุทธเจ้าทรมานและโปรดท้าวพญาชมพูพานบดี หรือที่เรียกกันว่า ปางจักรพรรดิ์ อันเป็นที่มาของพระบูชารัตนทรงเครื่องทั้งหลายที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ก็บูชาตามคติความเชื่อนี้ พระทุกองค์ท่านเสกด้วยเคล็ดนี้เสมอกันหมดถือเป็นพุทธเวทย์เป็นของสูง อย่าน้อยใจไปเลยครับหลังยันต์ก็ดีมากแล้วครับผม  ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลเมื่อ 19 พ.ย.2007 ครับ

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Sun 31, Jul 2011 17:42:14

 
toi
Hero Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,336


« ตอบ #16 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2007, 07:22:40 AM »
พระปรกโพธิ์องค์นี้มีโอกาสแท้ แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของรูปทำให้พิจารณายากครับ องค์นี้มีสิ่งผิดปรกติอย่างหนึ่งที่ด้านหลังครับคือขอบโดยรอบอย่างน้อย 2 ด้านมีเส้นซ้อนในลักษณะของครีบหรือเนื้อเกินซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี มักเกิดกับพระเก๊หรือถอดพิมพ์ ส่วนพระแท้ขอบจะเรียบร้อยมากไม่พบว่ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำในทุกองค์
ในส่วนของความเป็นพระปรกโพธิ์หลังยันต์หรือหลังแม่พระธรณีบีบมวยผมอย่าน้อยใจไปเลยครับเรื่องได้ปรกโพธิ์หลังยันต์แต่ไม่ได้หลังแม่พระธรณีความเป็นจริงบล๊อกพระปรกโพธิ์ที่เสร็จมาก่อนคือด้านหน้า ด้านหลังท่านเอาพิมพ์พระพุทธชินราช มากดประทับเป็นองค์นูนเอาไว้ทำราวปี 2506
   ยุคถัดมาบล๊อกหลังยันต์ครูเป็นยันต์จม  ( หรือยันต์นะโมพุทธายะใหญ่ )ราวปี2509 องค์พระจะค่อนข้างหนา แล้วก็มี หลังยันต์นูนมีพศ 2513 และยันต์จมมี พศ 2513  นั้นมีมาตามลำดับ แล้วจึงมีหลังยันต์แม่พระธรณีอีก2 แบบ คือแม่พระธรณีผ้าถุงตาราง กับแม่พระธรณีผ้าถุงลาย เป็นแบบสุดท้าย ราวปี 2515-2520 ซึ่งเรียบลำดับกันมา และโดยมวลสารยุคแรกก็ผงมากมวรสารมาก ยุคท้ายๆใส่พลอยด้วย ก็ลองพิจารณาดูครับว่าแบบไหนดีอย่างไรส่วนตัวผมดีทุกรุ่นทุกคราวที่หลวงพ่อทำ การเป็นหลังแม่พระธรณี ความเป็นจริงหลวงพ่อท่านเอาเคล็ดการปลุกเสกของท่านมาใส่แทนยันต์เท่านั้นคือตอน พระพุทธเจ้าชนะมาร  เหมือนหลวงปู่ดู่ และ หลวงพ่อผินะ ท่านเอาเคล็ดตอนพระพุทธเจ้าทรมานและโปรดท้าวพญาชมพูพานบดี หรือที่เรียกกันว่า ปางจักรพรรดิ์ อันเป็นที่มาของพระบูชารัตนทรงเครื่องทั้งหลายที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ก็บูชาตามคติความเชื่อนี้ พระทุกองค์ท่านเสกด้วยเคล็ดนี้เสมอกันหมดถือเป็นพุทธเวทย์เป็นของสูง อย่าน้อยใจไปเลยครับหลังยันต์ก็ดีมากแล้วครับผม  ยิงฟันยิ้ม

สรุปว่าพระปรกโพธิ์เก้าใบ ด้านหน้ามีบล็อคเดียว ทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506  แต่ด้านหลังมีแบบ 4 รูปแบบ คือ
1.หลังพระชินราช ทำประมาณปี 2506
2.หลังยันต์จมไม่มี พ.ศ. ทำประมาณ ปี 2509 พระค่อนข้างหนา
3.หลังยันต์นูน มี พ.ศ.2513 กับ หลังยันต์จม มี พ.ศ.2513 ทำปี 2513
4.หลังแม่พระธรณี ทั้งผ้าถุงตาราง และผ้าถุงลาย เป็นแบบสุดท้าย ทำราวปี 2515-2520
อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ยิงฟันยิ้ม

สรุปไว้เมื่อ 21 พ.ย.2007

 
โดย : toi    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Sun 31, Jul 2011 17:46:41

 
ปรกโพธิ์ 9 ใบ พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.