***พระรอดลำปางหลวงของพี่ nuimio องค์ที่ลงหน้านี้แท้ 100 เปอร์เซนต์ครับ ***
ผมมีประวัติการสร้างพระรอดลำปางหลวงซึ่งได้จากหนังสือ "ของดีนครลำปาง" ฉบับที่ 1 จัดทำโดยนายทรงชัย เจตะบุตร และคณะอีก 6 คน เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 หน้าที่65 เรื่อง พระเครื่องเมืองลำปาง ความว่า พระรอดวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระเครื่องที่สร้างด้วยโลหะ มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเรียกว่าพระรอดง่าง เพราะทำด้วยทองง่าง (คล้ายทองขาว) ผสมกับเงิน ทองคำ ทองเหลือง ทองแดง และเหล็กตะปู อีกชนิดหนึ่งเรียกพระรอดลำต้าย ทำด้วยโลหะรั้วพระเจดีย์ลำปางหลวงที่ชำรุดแตกหักแทนทองง่างดังกล่าวข้างต้น และส่วนผสมอื่นๆก็เช่นเดียวกับพระรอดง่าง ที่เรียกพระรอดลำต้ายเพราะเนื้อพระเป็นแบบทองลำต้าย หรือทองสำริด พระรอดวัดลำปางหลวงสร้างเมื่อพ.ศ.2484 ในสมัยสงครามอินโดจีน โดยพระครูประสาทศรัทธา (หลาน แก้วบุญเรือง) เจ้าอาวาสวัดลำปางหลวงในสมัยนั้น ในการสร้างได้ทำพิธีปลุกเศกตามตำรับโบราณ และนำเข้าพิธีพุทธาภิเศกในงานประเพณีเดือนยี่เพ็ง จำนวนที่สร้างทั้งหมดเท่าใดไม่มีผู้ใดทราบแน่ ทราบแต่ว่าไม่มากนักปัจจุบันที่วัดไม่มีแล้ว มีแต่ประชาชนที่ได้ขอไว้บูชาซึ่งต่างก็หวงแหนเก็บรักษาไว้ จึงดูไม่สู้แพร่หลาย ทำให้ไม่ค่อยมีบุคคลภายนอกรู้จัก รู้จักแต่ชาวลำปางเป็นส่วนใหญ่ การสร้างพระรอดวัดลำปางหลวงครั้งนั้นก็เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารของชาติที่ประจำอยู่จังหวัดลำปาง และแจกจ่ายให้แก่ประชาชนสำหรับคุ้มครองป้องกันตัวในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ผมมีประวัติการสร้างพระรอดลำปางหลวงซึ่งได้จากหนังสือ "ของดีนครลำปาง" ฉบับที่ 1 จัดทำโดยนายทรงชัย เจตะบุตร และคณะอีก 6 คน เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 หน้าที่65 เรื่อง พระเครื่องเมืองลำปาง ความว่า พระรอดวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระเครื่องที่สร้างด้วยโลหะ มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเรียกว่าพระรอดง่าง เพราะทำด้วยทองง่าง (คล้ายทองขาว) ผสมกับเงิน ทองคำ ทองเหลือง ทองแดง และเหล็กตะปู อีกชนิดหนึ่งเรียกพระรอดลำต้าย ทำด้วยโลหะรั้วพระเจดีย์ลำปางหลวงที่ชำรุดแตกหักแทนทองง่างดังกล่าวข้างต้น และส่วนผสมอื่นๆก็เช่นเดียวกับพระรอดง่าง ที่เรียกพระรอดลำต้ายเพราะเนื้อพระเป็นแบบทองลำต้าย หรือทองสำริด พระรอดวัดลำปางหลวงสร้างเมื่อพ.ศ.2484 ในสมัยสงครามอินโดจีน โดยพระครูประสาทศรัทธา (หลาน แก้วบุญเรือง) เจ้าอาวาสวัดลำปางหลวงในสมัยนั้น ในการสร้างได้ทำพิธีปลุกเศกตามตำรับโบราณ และนำเข้าพิธีพุทธาภิเศกในงานประเพณีเดือนยี่เพ็ง จำนวนที่สร้างทั้งหมดเท่าใดไม่มีผู้ใดทราบแน่ ทราบแต่ว่าไม่มากนักปัจจุบันที่วัดไม่มีแล้ว มีแต่ประชาชนที่ได้ขอไว้บูชาซึ่งต่างก็หวงแหนเก็บรักษาไว้ จึงดูไม่สู้แพร่หลาย ทำให้ไม่ค่อยมีบุคคลภายนอกรู้จัก รู้จักแต่ชาวลำปางเป็นส่วนใหญ่ การสร้างพระรอดวัดลำปางหลวงครั้งนั้นก็เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารของชาติที่ประจำอยู่จังหวัดลำปาง และแจกจ่ายให้แก่ประชาชนสำหรับคุ้มครองป้องกันตัวในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม
คุณภาพของพระรอดลำปางหลวง กล่าวกันว่ามี 3 ประการ คือ
1. แคล้วคลาดภยันตราย
2. อยู่ยงคงกระพัน
3. แช่น้ำผึ้งรับประทานวันละ 1 ช้อนชา เป็นยาอายุวัฒนะ
***ท่านจะเชื่อหรือไม่เพียงใดก็สุดแต่ศรัทธาและอารมณ์ของท่าน *** ***ท่านจะเชื่อหรือไม่เพียงใดก็สุดแต่ศรัทธาและอารมณ์ของท่าน ***
ครับ ข้อความทั้งหมดนี้ผมได้คัดลอกมาจากหนังสือดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้ต่อเติมแม้แต่คำเดียวครับผม ซึ่งหนังสือเล่นนี้ผมได้มาจากห้องสมุดโรงเรียนเชียงรายวิทยา อ.แม่พริก จ.ลำปาง เมื่อปีพ.ศ.2531 หนังสือ "ของดีนครลำปาง" มีทั้งหมด 3 เล่มจบ ครับผม นับเวลาที่หนังสือออกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2512 ถึงปัจจุบันรวมเวลาได้ 40 ปี แล้วครับผม นับว่าหนังสือชุดนี้มีคุณค่ายิ่งนักที่จะใช้สืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้อย่างดีเยี่ยม ครับผม
|