โชว์พระกรุทั่วไป
พระโคนสมอ ปางสมาธิ มีรักเก่าในกรุ -คราบกรุเดิมๆโดยเฉพาะหน้าตานั้น-คมชัดเจน-มากๆครับ
|
|
|
|
|
|
พระโคนสมอ ปางสมาธิ มีรักเก่าในกรุ -คราบกรุเดิมๆโดยเฉพาะหน้าตานั้น-คมชัดเจน-มากๆครับพระโคนสมอ ยอดพระนิรันตราย แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาได้ตกไปเป็นเมืองขึ้นของข้าศึกในปี พ.ศ.2310 เเล้วได้เกิดการกู้ชาติ เเละสร้างบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ก่อให้เกิดกำเนิดเป็นอาณาจักรขึ้นบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในปี พ.ศ.2325(กรุงรัตนโกสินทร์)และนอกจากการสร้างบ้านเมืองแล้ว ก็ยังสร้าง สิ่งมงคลล้ำค่า อย่างพระพุทธรูปต่างๆ รวมทั้งพระพิมพ์ที่พอจะรวบรวมได้จากกรุงเก่าเข้ามาในเมืองแห่งนี้ เพื่อที่จะได้อนุรักษ์และรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป อย่างเช่น พระโคนสมอ ซึ่ง เป็นพระเครื่องที่มีมาตั้งแต่ สมัยอยุธยาตอนปลาย สร้างจากเนื้อดิน ส่วนใหญ่ และก็มีเนื้อชินอีกด้วย พระส่วนมากจะเป็นพระพิมพ์ประจำวัน และมีพิมพ์อื่นๆอีก เช่น พิมพ์ปางมารวิชัย พิมพ์ซุ้มปราสาท พิมพ์ปางพญาชมภู เป็นต้น พุทธลักษณะองค์พระทั้งทรงพิมพ์ก็สวยงามมาก หาได้จัดทำแบบลวกๆไม่ ลายเส้นของพิมพ์สวย คม ชัด ลึก ตามพระพุทธลักษณะ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะฝากไว้ ในการที่จะสืบอายุพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ตลอดยาวนาน ผู้คนในสมัยอยุธยาคราวนั้น จึงร่วมแรงร่วมใจในการสร้างพระนี้ขึ้นมาและด้วยเพราะมีพระเป็นจำนวนมาก ต่อเมื่อหลังจากเสียกรุงศรีฯแล้ว พระชุดนี้ถูกทิ้งร้างมาชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีผู้ที่เห็นคุณค่าจึงได้นำพระกลับมาบรรจุไว้ที่เมืองแห่งนี้ ด้วยเหตุที่ความเชื่อของคนในสมัยก่อนนั้นไม่นิยมที่จะนำเอาพระเข้ามาเก็บไว้ในบ้าน จึงได้นำพระไปฝากไว้ที่วัดบ้าง บ้างก็บรรจุกรุตามวัดต่างๆ นี้ก็เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมานาน จึงนำพระชุดนี้มาฝากไว้ตามกรุต่างๆโดยเฉพาะบริเวณ พระราชวังหน้า(บริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพฯ) หรือนำพระไปเก็บรักษาไว้ ตามวัดบ้าง และบางวัดที่มีเจดีย์ที่ว่างเปล่า ก็จะนำพระที่สร้างขึ้นมาบรรจุรวมทั้งพระชุดนี้ด้วย หากมีจำนวนเหลือก็นำมาเก็บไว้ตามเพดานพระอุโบสถก็มี หากมีมากเกินที่บรรจุไม่ทันก็เลยเอามากองกันที่โคนต้นไม้บ้าง เลยเรียกตามสถานที่ที่ไปพบคือโคนต้นสมอว่าพระโคนสมอ มาแต่สมัยนั้นนั่นเองสำหรับพระโคนสมอเนื้อชิน แต่เดิมเป็นพระผิวปรอท แต่ภายหลังเมื่อได้บรรจุกรุแล้ว องค์พระที่แตกกรุมาส่วนใหญ่ จะปรากฎถูกสนิมกัดกินผิวผุกร่อน จนถึงเนื้อในหลุดร่อน เรียกสนิมชนิดนี้ว่าสนิมเกล็ดกระดี่ เพราะมีลักษณะการหลุดร่อนคล้ายเกล็ดปลากระดี่นั่นเองพระโคนสมอ มีการค้นพบ และขึ้นตามกรุต่างๆตามวัดทั่วไป ทั้งที่พบในกรุ เจดีย์ ตามเพดานพระอุโบสถแต่ที่พบมากที่สุดก็ที่ กรุวังหน้า วัดโพธิ์ฯ วัดพระแก้ว และนอกจากนี้ยังมีขึ้นที่วัดอื่นๆอีก เช่น ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ที่วัดเชิงท่า จ.นนทบุรี ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ที่วัดสระเกศ ก็มีในเจดีย์เหมือนกันในจำนวนมาก และหากเป็นพระโคนสมอขนาดเล็ก เนื้อดินก็จะพบในกรุของ วัดประยูรฯ และวัดสระเกศ เท่านั้นเอง แต่ถ้าเป็นเนื้อชิน จะเป็นของกรุกรุวังหน้า และวัดพระแก้วเท่านั้นเอง ไม่ปรากฎว่ามีขึ้นอีกในที่ใด จำนวนก็น้อย และหายากครับ พระโคนสมอนับว่าเป็นพระที่ทรงคุณค่ามาก มีครบทั้งศาสตร์ และศิลป เป็นพระเครื่องที่มีความเชื่อว่าให้คุณเด่นในด้าน คงกระพันชาตรี และนิรันตรายเป็นเยี่ยม ปัจจุบันยิ่งปางสมาธิหาสวยๆฟอร์มเเชมป์เเบบนี้ยากครับ พระโคนสมอนั้น แรกเริ่มเดิมทีที่พบเนื่องมาจากได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ วังหน้า หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กทม.ในปัจจุบัน และได้พบพระโคนสมอเป็นจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำพระชนิดนี้มารวมกองกันไว้ที่โคนต้นสมอพิเภก หน้าพิพิธภัณฑ์ เนื่องมีพระจำนวนมากผู้คนที่พบเห็นจึงเรียกชื่อพระตามสถานที่พบเห็นว่า "พระโคนสมอ" ในตอนแรกๆ ก็ไม่มีใครสนใจพระชนิดนี้เท่าไรนัก ต่อมาก็มีคนหยิบไปบูชาบ้าง เนื่องจากว่าเห็นพระเป็นพระปางประจำวันก็นำไปตามวันเกิดของตนเอง และทางกรมศิลป์ ก็เปิดให้เช่าบูชาบ้าง จนพระหมดไปในที่สุด ต่อมาก็ได้พบพระแบบเดียวกันนี้อีกตามกรุต่างๆ ในกทม.และอยุธยา เท่าที่ดูรูปแบบศิลปะแล้วสันนิษฐานว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนปลาย และตอนเริ่มสร้างกรุงเทพฯ นั้นก็ได้มีการชะลอพระพุทธรูปจากโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดที่เป็นวัดร้างเข้ามาประดิษฐานไว้ตามพระอารามต่างๆ ในกทม. พระพุทธรูปจากอยุธยาเองก็ถูกนำเข้ามาไว้ในกรุง หลายองค์ประจำอยู่ตามวัดต่างๆ ในกทม. นอกจากพระพุทธรูปที่ได้นำเข้ามาไว้ในกรุงแล้วก็ยังได้นำพระเครื่องที่พบตามกรุในอยุธยาเข้ามาบรรจุไว้ตามวัดต่างๆ ด้วย และพระโคนสมอก็ได้ถูกนำเข้ามาบรรจุไว้ตามสถานที่ต่างๆ ในครั้งนั้นด้วยครับ |
|
|
|
|
|
|
|
|
พระกรุอายุเป็นร้อยปีก็ต้องมีบูรณะกันบ้าง แต่ก็น่ารักดี |
|
|
โดย : pongsakorn [Feedback +1 -0] [+0 -0] |
|
[ 1 ] Fri 16, Jul 2010 23:13:27
|
|
|
|
|
|