เดิมทีมักเข้าใจว่า พระกรุคลองตะเคียนนั้นหมายถึงพระกรุที่สร้างในที่แห่งเดียวกัน ภายหลังก็เล่นหากันตามรุ่นเก่า ๆ ที่ท่านวางรากฐานไว้
ภายหลังเมื่อมีการสืบหาข้อมูลทำให้ทราบว่าพระกริ่งคลองตะเคียนที่นิยมกันมากคือพระที่สร้าง ณ.วัดโคกจินดา ได้มีการพบพระคลองตะเคียนวัดโคกจินดาพิมพ์อื่น ๆ แปลก ๆ หลายพิมพ์ที่หลุดออกมาจากรังเก่าแก่เป็นต้นว่าพิมพ์คลองตะเคียนหลังสมเด็จ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทำให้พระกริ่งคลองตะเคียนมีอายุร่นเข้ามาอีกหลายขวบปี เหลือเต็มที่แค่ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ 3 เท่านั้น บางองค์ดันมี รศ.จารบอกไว้เป็นหลักฐานอีกต่างหาก
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่บ่งไว้อีกว่า พระที่ขึ้นจากวัดอื่น ๆ แถบคลองตะเคียนเป็นต้นว่าวัดทำใหม่ วัดช้าง อายุอานามของพระก็รุ่นราวคราวเดียวกันเพียงแต่ไม่สวยงามเท่าวัดโคกจินดา ราคาจึงต่างกันลิบลับและถูกตีเป็นพระรุ่นหลังกริ่งคลองตะเคียนเป็นร้อย ๆ ปี ซึ่งความจริงอายุไล่เลี่ยกับกริ่งคลองตะเคียน
ส่วนพระปิดตาองค์นี้เล่นหากันเป็นคลองตะเคียนมานานแล้วตามตำราของเซียนพระรุ่นก่อน ๆ ซึ่งมีศิลปสวยงาม และประสบการณ์สูง ปัจจุบันหาชมยากกว่ากริ่งคลองตะเคียนแล้ว
เหตุผลสำคัญที่ระบุว่าไม่ได้ขึ้นที่เดียวกับกริ่งวัดโคกจินดา เนื่องจากลายมือจารเป็นคนละลายมืออย่างเห็นได้ชัด
|