พระกริ่ง "ไจยเบงชร" (ปฐมชินบัญชรล้านนา) ที่ระลึกเจริญอายุครบ 100 ปี พ.ศ. 2545 พระครูวรวุฒิคุณ (อิน อินโท) วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) จ. เชียงใหม่ประวัติการย้อนรอยประวัติศาสตร์ พระปริตรยอดนิยมอันดับ ๑ แห่งสยามประเทศ ที่สะเทือนพุทธจักร วงการพระเครื่องจนถึงรากแก้ว ตลอดไปตราบนิจนิรันดร์-วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง๑. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแผ่ประวัติความเป็นมาและอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ แห่งอักขระมหายันต์ และพระมหาคาถาไจยะเบงชร (ชินบัญชรล้านนา) ให้ปรากฏเกียรติคุณและศักดิ์ศรีความเป็นอันดับหนึ่งที่แรกสุดของประเทศไทย ภายหน้ามิให้ถูกปกปิด หรือเลือนหายไปจากความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนอย่างที่เคยเป็นมาตลอดไป๒. เพื่อเป็นจุลอุทเทสิกเจดีย์ สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ตามคติโบราณนิยม ๓. เพื่อเป็นมหามงคลอนุสรณ์ เจริญอายุวัฒน์หนึ่งศตวรรษ (๑๐๐ ปี) ของหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท ๔. เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธปฏิมากร กุฏิ เสนาสนะสงฆ์และถาวรวัตถุ วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ สถานที่จำพรรษาของหลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท๕. เพื่อสาธารณกุศลต่างๆ-มวลสารสำคัญด้วยเดชะบุญญาบารมีแห่งพระพุทธปริตรคาถา “ไจยะเบงชร” (ชินบัญชรล้านนา) ต้นตำหรับแรกสุดแห่งสยามประเทศ ซึ่งทรงกฤษฎาภินิหารอย่างยิ่งยวดและทรงคุณค่าอย่างพิเศษสุด ในอันที่จะได้สำเร็จเป็นพุทธานุสารณียวัตถุ ที่พึ่งพากราบไหว้สาสักการะแห่งมวลหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งแผ่นดินไปสืบชั่วกัลปาวสาน นอกจากนี้ยังมีการจารอักขระมหายันต์ “ไจยะเบงชร” ทั้งแบบย่อและแบบพิสดารทองพระธาตุจังโก๋ นักษัตร เป็นชนวนโลหะพิเศษที่นับได้ว่ามีความสำคัญและความเป็นมหาศิริมงคลอย่างยิ่งยวดยากจะหาใดเสมอเหมือนได้ “ทองจังโก๋ นักษัตร” เป็นแผ่นโลหะสำหรับหุ้มพระธาตุเจดีย์ทางภาคเหนือ ที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ซึ่งนับเป็นมหาบูรพาจารย์ ผู้สืบทอดใน “ไจยะเบงชร” หรือชินบัญชรล้านนา ต้นตำหรับล้านนาโบราณองค์สำคัญที่สุดองค์หนึ่ง ที่น้อยคนนักจักล่วงรู้ ได้ลงมือจำหลัก (จาร) อักขระเป็น “ตั๋วเมือง” พร้อมอธิษฐานจิตไว้ด้วยองค์เอง ณ. วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เมื่อครั้งที่ท่านยังดำรงขันธ์อยู่เมื่อกว่า ๖ ทศวรรษที่แล้ว มวลสารนี้ร่วมเททองในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ และวัตถุมงคลเนื้อทองจังโก๋ ชุด “ไจยะเบงชร” ทุกรายการโดยได้รับการอนุเคราะห์จาก หนานขวัญ วิชยุทธ พุทธิรินโน ศิษย์ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จังหวัดเชียงใหม่ สายครูบาเจ้าศรีวิชัย กรุณามอบให้ ซึ่งนับเป็นมหาสิริมงคล แก่จิตใจแห่งศรัทธาของผู้ได้ไว้สักการะบูชากราบไหว้อย่างไม่มีที่เปรียบได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีอักขระเลขยันต์แบบล้านนา ๑๐๘ พร้อมดวงประสูติ ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทองคำแท่งหนัก ๒๐ บาท สำหรับหล่อพระกริ่งเนื้อนวะโลหะพิเศษ (แก่ทอง) ชนวนเหรียญเก่า พระกริ่งแหวน และโลหะมงคลอื่นๆ อีกหลายรายการ-พิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคลรุ่นไจยะเบงชร ผ่านการปลุกเสก ๕ ครั้ง ดังต่อไปนี้ครั้งที่ ๑: วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ เวลา ๙:๓๙ น. - ในพิธีอธิษฐานจิตเทชนวนพระกริ่งครั้งที่ ๒: วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - ในวันประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ (ในงานวันนี้มีการแจกพระสมเด็จไจยะเบงชร)ครั้งที่ ๓: วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโทอธิษฐานจิตเดี่ยว เป็นวันเสาร์ ๕ ใหญ่ เป็นเวลา ๑ ชั่วโมงเต็มครั้งที่ ๔: วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - อธิษฐานจิตในพิธีสืบชะตาหลวงมหามงคล ฉลองยุตม์หนึ่งศตวรรษ (ในงานวันนี้มีการแจกพระปิดตา และ พระหลวงพ่อเงินเนื้อไม้พยุง และ พระผงฤาษีวาสุเทพ))ครั้งที่ ๕: วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ - อธิษฐานจิตเดี่ยวครั้งสุดท้าย วันมาฆปุณณมีบูชา
พระกริ่ง "ไจยเบงชร" (ปฐมชินบัญชรล้านนา) เนื้อ นวะโลหะ
พระกริ่ง "พระชัยวัฒน์" (ปฐมชินบัญชรล้านนา) เนื้อ นวะโลหะ
ขอบพระคุณค๊าฟ อาจารย์น้อย ที่มาเยี่ยมชม
ขอบพระคุณค๊าฟ ท่านบ้านตีมีด ที่มาเยี่ยมชม
เยื่ยมครับ