ฟอร์มใหญ่เเต่ก็ไม่ใหญ่มากเรียกว่าเป็นพิมพ์พระคงทรงเหมือนพระเปิมเลยครับองค์นี้เป็นพระเกศาที่สร้างขึ้นตอนที่ครูบาเจ้าท่านไปทำสะพานในเขตอำเภอหางดงเพราะได้จากผู้สุงอายุบริเวณนั้นครับ
*****พระเกศาครูบาศรีวิชัยสิ่งมงคลสูงสุดของชาวเหนือ *****
ครูบาศรีวิชัย ก่อสร้างพัฒนาวัดวาอาราม พระธาตุ พระบาท
พระเจดีย์ ศาสนสถานรวม ๑๐๖ แห่ง ใน ๕ จังหวัด คือ
1. จ.แม่ฮ่องสอน
2.จ.เชียงใหม่
3.จ.เชียงราย
4.จ.ลำปาง
5.จ.ลำพูน
ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่ประชาชน ชาวไทยยกย่องไม่รู้ลืมก็คือเป็น
องค์ประธานในการสร้างพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยสร้าง
ทางขึ้นระยะทาง ๑๒ กม. ใช้เวลา ๕ เดือน ๒๒ วัน คือเริ่ม
สร้างเมื่อ ๙ พ.ย.๒๔๗๗ และเปิดใช้ทางขึ้นดอยสุเทพ
ครั้งแรกเมื่อ ๓๐ เม.ย.๒๔๗๘
ค่าก่อสร้างประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาท)
โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐบาล
เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ - ๒๔๗๑ พระครูบาศรีวิชัยได้รวบรวม
สังคายนาพระไตรปิฏก ฉบับล้านนาที่ถูกทอดทิ้งอยู่
ตามวัดต่างๆ ตำบล อำเภอ และจังหวัดต่างๆ
เก็บมารวบรวมจารลงในใบลานขึ้นมาใหม่
..ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น
ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญ
กับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก
ลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้าย
พระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน
ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลง
ในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย
์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์(1
...ต่อมา..ชาวบ้านเกิดความศรัทธาอาลัย ต่อครูบาเจ้าฯ
จึงได้ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะเก็บรักษา
เส้นเกศาของครูบาศรีวิชัย เพื่อใช้บูชาหรือพกติดตัว
ยามเดินทางไปทำมาค้าขาย บ้างก็เก็บเอาไว้บูชากราบไหว้
บนหิ้งพระประจำบ้าน จึงถือเอาได้ว่าพระเกศาครูบาศรีวิชัย
เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นจากฝีมือของช่างชาวบ้านโดยแท้
ในการนำเอาเส้นเกศาครูบาเจ้าฯ มาคลุกเคล้ากับมวลสารเกสร,
ผงธูปเพื่อสร้างเป็นพระเครื่องนั้น เกิดจากการศรัทธานับถือ
เส้นเกศาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามตำนานปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุในล้านนามาแต่โบราณ
แม้แต่ในคำเทศนาของพระสงฆ์ในล้านนา มักจะกล่าวถึง
การเสด็จมาของพระพุทธองค์ในดินแดนแถบล้านนานี้
เมื่อมาถึงทรงได้พบผู้คนในพื้นถิ่น และพระองค์ก็ได้
มอบเส้นเกศาของพระองค์พร้อมคำทำนายว่า
ในภายภาคหน้าดินแดนแคว้นนี้จะเจริญรุ่งเรืองเป็น
ที่ตั้งแห่งพระรัตนตรัย เจ้าเมืองก็จะสร้างที่บรรจุ
เส้นเกศาและพระบรมสารีริกธาตุซึ่งจะมาเพิ่มในภายหลัง
เมื่อชาวบ้านหรือเจ้าเมืองได้รับเอาเส้นเกศาของพระพุทธองค์
ไว้แล้ว ก็จึงได้เก็บบรรจุไว้ในกระบอกเงิน กระบอกทองคำ
หรือบรรจุในกระบอกไม้อันเป็นมงคลบ้าง แล้วจึงนำไปบรรจุฝังดิน
หรือบางแห่งก็สร้างพระสถูปเจดีย์จนเป็นพระบรมธาตุเจดีย์
หลายองค์ในล้านนา สืบมาจวบทุกวันนี้
ในความเชื่อบูชาเส้นพระเกศาของพระพุทธองค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายาวสืบทอดกันมาจวบจน
ถึงพระครูบาเจ้าศรีวิชัย อันชาวบ้านล้านนา ยกย่องเคารพ
บูชาด้วยบารมีที่ครูบาเจ้าฯมีแต่ให้แก่พระพุทธศาสนา
จวบวาระสุดท้ายได้มาถึง คุณงามความดีที่ได้สร้างถาวร
วัตถุให้แก่ชาวพุทธล้านนาไว้มากเหลือคณานับ จึงบังเกิด
บุญบารมีอันแก่กล้า เกิดศรัทธาของศิษย์และคณะศรัทธา
ชาวบ้าน อันส่วนใหญ่มักจะเป็นกรรมการของวัดต่างๆ
ในจังหวัดลำพูน, เชียงใหม่ที่ได้ร่วมกันสร้างพระเกศา
ครูบาศรีวิชัยขึ้น ภายหลังจากที่ท่านได้ล่วงลับดับขันไปแล้ว
จากตำนานเล่าขานกันสืบมา ถึงการสร้างพระเกศา
ครูบาเจ้าศรีวิชัย มวลสารที่สร้างมักจะนำเอาผงเกสร
และดอกไม้ต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมากราบไหว้พระในโบสถ์
ในพระวิหารรวมถึงตามพระบรมธาตุจากที่ต่างๆ
มาผสมกับดอกพิกุลหรือดอกแก้วที่ตากแห้งดีแล้ว
ตลอดทั้งเถ้าธูปจากกระถางบูชาพระพุทธอันหมายถึง
พระประธานในพระวิหารของวัด ที่เป็นผู้สร้างพระเกศานั้นๆ
เมื่อได้มวลสารผงเกสรตลอดจนวัสดุมงคลครบถ้วนตาม
ความเชื่อของศรัทธาชาวบ้านแล้ว ก็จะนำมาบดให้ละเอียด
แล้วนำมาคลุกเคล้ากับยางรักโดยมีผงใบลานที่เป็นพระธรรม
คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งคนล้านนาโบราณได้จารึก
อักขระไว้ เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าปั้นเป็น
ก้อนเหนียว ได้ตามประสงค์เจตนา จึงนำเอามากดลงบน
แม่พิมพ์เป็นองค์พระเครื่อง โดยจะผสมเอาเส้นพระเกศา
ครูบาเจ้าฯ ลงไปก่อนจะกดลงพิมพ์บ้าง นำเอาเส้นพระเกศา
ผสมลงในเนื้อผงเกสรเลยก็มีจึงปรากฏในภายหลังของ
พระเครื่องเส้นเกศาฯ นี้ ด้วยบางองค์ก็จะเห็นเส้นพระเกศา
ชัดเจน บางองค์ก็จะไม่พบเส้นพระเกศาข้างนอกเลย
สำหรับแม่พิมพ์ที่นำมาสร้างพระเกศาครูบาศรีวิชัยนั้นได้
ยึดถือเอาแบบพุทธพิมพ์ของพระสกุลลำพูนเป็นตัวอย่างแม่พิมพ
์พระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงมีหลายแบบหลายพิมพ
์ทรงไม่ยึดถือเอา พิมพ์ทรงใดพิมพ์ทรงหนึ่ง
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปก็จะกล่าว
คำบอกเล่าแตกต่างกันไป อย่าง เช่นพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย
พิมพ์พระรอดนั้นมักจะสร้างโดยคณะศรัทธาชาวบ้านที่มอบ
ไว้ให้แก่วัดพระธาตุเจ้าหริภุญไชย เพื่อเป็นของขวัญที่ระลึก
มอบแก่ผู้มาร่วมงานบุญฉลองสมโภชน์พระบรมสารีริกธาตุ
หริภุญไชยเจ้า
ส่วนพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ก็จะสร้างตามแหล่งกำเนิด
หรือตามกรุของพระพิมพ์นั้นๆ แต่จะสร้างกันในเวลาไม่
ห่างกันมากนักเรียกได้ว่าทันยุคกัน จะแตกต่างกันไปของ
อายุก็ไม่เกิน 4-5 ปีเท่านั้น ข้อนี้เป็นคำยืนยันจากผู้สูงอายุ
ที่เป็นชาวบ้านป่าซางบ้าง ชาวลำพูนเก่าแก่ดั้งเดิมบ้าง
แม่พิมพ์ของพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ กันจะสร้างจากดินเผา
บางครั้งก็ใช้พระสกุลลำพูนกดลงบนพื้นดินแล้วนำไปเป็น
แม่พิมพ์ เรียกได้ว่าลอกแบบเลยก็มี ดังนั้นมีพระเครื่องเกศา
ครูบาเจ้าศรีวิชัยในรูปแบบพิมพ์ทรงเป็นพระสกุลลำพูนเป็น
ส่วนมาก จะมีเป็นพิมพ์ทรงแปลกๆ บ้าง ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้าน
ที่ได้เก็บรักษา หรือได้มาซึ่งเส้นเกศาของครูบาเจ้าฯ แล้วนำ
เอาไปสร้างไปทำเป็นพระเครื่องเองก็มีมากพิมพ์องค์เหมือนกัน
ตลอดระยะเวลาที่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย
เมื่อยังมีชีวิตอยู่นั้นในครั้งคราใดที่พระครูบาเจ้าจะปลงผม
(เส้นเกศา) เหล่าบรรดาพระลูกศิษย์และศรัทธา ชาวบ้านจะ
พากันเอาผ้าขาวมารอง พร้อมใบบัวมาคอยรับคอยห่อ
เอาพระเกศาของท่านครูบาเจ้าฯ เมื่อได้เส้นเกศาที่ครูบา
ท่านปลงแล้ว ก็จะขออนุญาตินำออกไปแจกให้ คณะศรัทธา
ชาวบ้านส่วนหนึ่งเก็บเอาไว้กับวัดที่ท่านจำอยู่คราปลง
เส้นผมนั้น ครั้นกาลเวลาต่อมาบางวัดก็ได้นำเอาไปบรรจุ
รวมกับอัฐิธาตุ ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัยดังปรากฏตาม
ประวัติการสร้างสถูป อนุสาวรีย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย
สืบมาถึงปัจจุบัน
และยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งเมื่อได้รับเอาเส้นพระเกศา
ของครูบาเจ้าฯ มาแล้วก็จะนำเอาไปเก็บไว้ในกระบอกไม้ไผ
่เสร็จแล้วก็จะลงรัก ลงชาดปิดทองคำเปลวบนกระบอก
ไม้ไผ่เก็บรักษา บูชาไว้บนหิ้งพระประจำบ้านก็ยังคงมี
ให้พบเห็นอยู่
เส้นเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตามที่ได้พบเห็นจะมี
ความยาวประมาณมือหยิบ หรือประมาณ เซนติเมตร
เป็นส่วนใหญ่ลักษณะเส้นผมจะเป็นสีน้ำผึ้ง,
ใส ดุจดั่งเส้นใยแก้วก็มี
พุทธคุณของพระเครื่องเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้
มากด้วยพุทธคุณทางเมตรตามหานิยมแคล้วคลาด
ภยันตรายพิษภัยจากการเจ็บไข้ได้ป่วยระหว่าการ
เดินทางรอดพ้นภัยดีนักแล อิทธิปาฏิหารย์ด้านคง
กระพันชาตรีไม่ปรากฏ จะมีก็แต่เพียง เมื่อเกิดอุบัติเหต
ุมักจะแคล้วคลาดรอดพ้นมาได้ อาจมีบาดแผลบ้าง
บางครั้งผู้มีประสบการณ์ที่ประสบอุบัติเหตุก็จะพบว่า
รถที่ชนกันแหลกพังยับเยิน ตนเองน่าจะไม่รอดแต่กลับ
รอดพ้นมาได้ โดยไม่รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น(2)
แหล่งข้อมูล
1.อุดม รุ่งเรืองศรี (เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง,
ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้าง
ทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘,
สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ
วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ
ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)
ขอขอบคุณที่มา : เว็บไซต์โลกล้านนา www.lannaworld.com
2.คม ชัด ลึก วันที่ 19 สิงหาคม 2547