หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง ท่านเป็นศิษ์หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง สืบทอดวิชาจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ต้นตำหรับอันแท้จริง ของตะกรุดอั่วแกรกลางคือ หลวพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า ที่หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน ศึกษาแรกเปลี่ยนวิชามา ตามประวัติการสร้างตะกรุดหลวงพ่อพิธ ยุคหลังท่านชราแล้วหลวงพ่อเตียงท่านลงจารและหลวงพ่อพิธปลุกเสกสำทับอีกทีครับ ประสบการณ์ตะกรุดหลวงพ่อเตียง เรื้องนี้เกิดกับหลายชายของอาจารย์เทิ้ม(เจ้าอาวาสวัดเขารูปช้างองค์ต่อมาจากหลวงพ่อเตียง) หลานชายของท่านชื่อว่า นายอุดม คำหมู่ เป็นคนในตำบลนั้นเองได้ถูกโจรเข้าปล้นบ้าน ซึ่งในค่ำคืนวันนั้นเป็นความบังเอิญที่ นายอุดม อยู่บ้านเพียงลำพังคนเดียว เมื่อพวกโจรได้จู่โจมเข้ามาปล้น นายอุดม นั้น มันได้ช่วยกันจับตัวนายอุดมเอาไว้และให้บอกที่ซ่อนทรัพย์สิน อาจจะเป็นด้วยนายอุดมเสียดายทรัพย์สินที่สู้อดออมถนอมใช้ด้วยความมานะบากบั่นตลอดระยะเวลาอันยาวนาน จึงไม่ยอมบอกที่ซ่อนทรัพย์ยิ่งไปกว่านั้นยังร้องเรียกให้ชาวบ้านมาช่วยเหลือด้วยเสียงอันดังอีกด้วย เมื่อพวกโจรเห็นเช่นนั้นจึงได้จ่อยิงนายอุดมด้วยปืนยูเอสขนาด 11 มม. หลายนัดก็ปรากฎว่า กระสุนด้านไม่ดังเลยสักนัดเดียว ทำให้นายอุดมมีกำลังใจหึกเหิมกระโดดเข้าต่อสู้กับพวกโจรเป็นพัลวัล เมื่อพวกโจรช่วยกันยิง นายอุดม ด้วยปืนหลายกระบอกไม่ออกเช่นนั้นก็นึกว่านายอุดมจะต้องมีของดีเป็นแน่ มันจึงช่วยกันปล่ำจับ นายอุดม ขึงพืด และด้วยนายอุดมเป็นคนล่างเล็กสู้แรงโจรไม่ได้มันล้วงดูที่คอไม่เห็นมีอะไร จึงจับนายอุดมและดึงตะกรุดโทนหลวงพ่อเตียงที่เอวออก แต่นายอุดมได้ยื้อแย่งได้แค่เพียงสายตะกรุดเท่านั้น เมื่อโจรมันได้ตะกรุดไปแล้วก็หันปากกระบอกปืนกลับมายิงอีกหลายนัดก็ยิงไม่ออก เสียงดังแชะๆเท่านั้นเอง ผลสุดท้ายพวกโจรต้องรีบล้าถอยโดยไม่ได้อะไรไปเลยสักนิดเดียว นายอุดม รอดชีวิตมาได้เพราะอิทธิปาฏิหาริย์ในตะกรุดโทนคู่ชีวิตของหลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง เพียงดอกเดียวเท่านั้นและแม้พวกโจรจะแย่งเอาตะกรุดไปแล้วเพียงแค่สายตะกรุดที่อยู่ในมือเพียงนิดเดียวเท่านั้นก็ยังคุ้มลูกกระสุนได้อย่างมหัศจรรย์เลยทีเดียว
ตำหนิติชมได้เต็มที่ครับ
สายนี้น่าใช้มากครับ