พิมพ์ยืนถือดอกบัวหรือนอน
พระวัดพลับ พิมพ์ถือดอกบัว หรือ นอน
พระพิมพ์นี้ดูภาพแล้วแปลกตาดีแท้ๆ จะดูเป็นพิมพ์ยืนถือดอกบัวก็ได้ หรือจะดูเป็นพิมพ์นอนถือดอกบัวก็ยังไหว สอบถาม มาหลายคนแล้ว เขย่าไม่ลงตัวสักที คือ มองได้ 2 แง่ 2 นัย
มีผู้กล่าวว่า พระวัดพลับพิมพ์ยืนถือดอกบัวนี้ เป็นรูปพระมหากัสสัปเถระ ตั้งสัตยาธิษฐานรำพิงถึงความกตัญญูกตเวที และความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า หน้าหีบพระศพพระพุทธเจ้า ณ มกุฎพันธเจดีย์
แต่บางท่านบอกว่า พิมพ์นี้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ถึงพระราชอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่ทรงพระมาลาถือดอกบัว ทรงวันทาสีมาก่อนเสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ
และก็มีบางท่านบอกว่า น่าจะเป็นรูปพระนอน เพราะสังเกตที่พระเศียรคล้ายมีหมอนรองรับคือ มีหมอนหนุนศีรษะ สิ่งที่ สะดุดตามากที่สุด ทำไมต้องถือดอกบัวด้วย? เพราะถ้าเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้วไม่ต้องไหว้คารวะใคร และก่อนจะเสด็จเข้าสู่ ปรินิพพานก็คงไม่มีใครเอาดอกบัวหรือดอกไม้ไปใส่มือท่านให้ใจรำลึกถึงพระพุทธเจ้าอีก เนื่องจากตัวท่านเป็นพระพุทธเจ้า อยู่แล้ว แง่นี้น่าคิด…
สรุปแล้วภาพพระพิมพ์นี้เป็นปริศนามองกันไปได้หลายแง่มุม แล้วแต่จะเห็นจะคิดเอา… แต่ถ้าบอกว่าไม่รู้จะง่ายกว่าใช่ไหม?
แล้วทำไมพระพิมพ์นี้จึงเป็นที่นิยมชื่นชอบกันจัง? ราคาก็แพงกว่าพิมพ์อื่นๆในกรุเดียวกัน ถ้าจะให้ตอบก็พวกเรานี่แหละตัวดี ไปแยกแยะและยกย่องกำหนดราคา ให้ท่านบอกว่าพระพิมพ์นี้เขาสร้างไว้จำนวนน้อยนะควรจะมีราคาแพงกว่าแบบธรรมดาทั่วไป ที่เขาสร้างไว้แยะ เรื่องคงจะมีเท่านี้ ส่วนเรื่องพุทธคุณนั้นมีเท่ากันทุกอย่าง เพราะเป็นเนื้อผงสูตรเดียวกัน หรืออาจจะเป็น ครกเดียวกันก็ได้ ปลุกเสกในพิธีเดียวกัน นอนอยู่ในกรุด้วยกัน เปิดกรุพร้อมกัน แต่ราคาไม่เท่ากันซะแล้ว เพราะมนุษย์เป็น ผู้กำหนดขึ้น
ขนาดองค์พระ ส่วนกว้างประมาณ 1.8 ซม. ส่วนสูงประมาณ 3.5 ซม. หลังนูนเล็กน้อย หลังแบนก็มี
จุดสังเกตและตำหนีในการดู พระวัดพลับ พิมพ์ยืนถือดอกบัว หรือพิมพ์นอน ขอให้ดูภาพชี้ตำหนีที่ได้แสดงไว้
พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่
พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่
ทำไมจึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่" ถ้าได้ดูภาพแล้วคงจะเห็นด้วยกับคนตั้งชื่อพระ เพราะว่าพุทธลักษณะองค์พระ คล้ายๆกับตุ๊กตาเด็กเล่น การนั่งขององค์พระแลดูเข้มแข็ง มีสง่าอยู่ในที การวางแขนหักศอกและประสานมือดูแข็งกร้าว องค์พระ อ้วนใหญ่ บึกบักดีแท้ ปราศจากลวดลายประกอบ โชว์พุทธลักษณะองค์พระอย่างเดียว
เป็นพระนั่งปางสมาธิ ขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเบี้ย หรือหลังเต่า นูนมากนูนน้อยไม่แน่นอน
ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 1.7-2 ซม. ส่วนสูงประมาณ 2.5-3 ซม. แล้วแต่ปีกกว้างปีกแคบ
จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้แล้ว
อนึ่ง พระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่นี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้ว 2 บล็อก ขอแยกพิมพ์เป็นแบบที่ 1 คือ พิมพ์ต้อ และแบบที่ 2 พิมพ์ชะลูด โปรดศึกษาดูจากภาพ เล่นไม่ยากหรอก ดูเป็นเดี๋ยวก็รู้แล้ว พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ สนนราคาเบากว่าพิมพ์ยืนถือดอกบัว- วันทาสีมา แต่ก็หายากไม่ใช่เล่น
พิมพ์พุงป่องใหญ่
พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่
สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกว่า"พุงป่อง" พระพิมพ์นี้ต้องมีที่หมายเด่นเห็นจำง่ายคืออกใหญ่-พุงโตแน่นอน ดูภาพแล้วคล้ายกับ ประคองอุ้มไว้ พบเห็นกันแล้ว 2 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ตั้งชื่อว่า "พิมพ์พุงป่องใหญ่" ขนาดเล็กตั้งชื่อว่า "พิมพ์พุงป่องเล็ก"
ลักษณะองค์พระ เป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่านูนมากนูนน้อยไม่แน่นอน ถ้าดูลีลาเชิงศิลป์กันแล้ว จะเห็นว่า องค์พระเด่นไปอีกแบบหนึ่ง เค้าหน้าใหญ่ คางสอบแหลม อกและท้องนูนสูงมาก การวางแขนหักเป็น 3 ท่อน และเห็น ได้ชัด การประสานมืออยู่ในแนวราบดูคล้ายๆกับอุ้มท้องไว้ ข้อมือคอดเล็ก
ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1.5 ซม. ส่วนสูงประมาณ 2-2.2 ซม. มีปีกกว้างปีกแคบ
จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ ขอให้ดูภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้แล้ว
พระวัดพลับพิมพ์พุงป่องใหญ่ เคยเห็นบล็อกเดียว ราคาเบากว่าพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ ความหายากพอกัน เพราะสร้างไว้จำนวน น้อยกว่าพิมพ์อื่นๆนั่นเอง
พิมพ์พุงป่องเล็ก
พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก
สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกพิมพ์ "พุงป่อง" คงรู้กันแล้วนะครับ ลักษณะโดยทั่วไปของพระพิมพ์นี้มีลีลาของเส้นสายต่างๆ คล้ายพิมพ์ พุงป่องใหญ่ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กๆน้อยๆ ประเดี๋ยวจะชี้จุดให้ดู
ลักษณะขององค์พระ เป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ ขาขวาทับขาซ้าย เค้าหน้าแบบผลมะตูมยาน คางไม่แหลม มีเส้นลำคอ ยาว อกและท้องนูนสูง ต้นแขนเล็กลีบ การวางแขนหักเป็น 3 ท่อน การประสานมืออยู่ในแนวราบแบบเดียวกับพิมพ์พุงป่องใหญ่ แต่ข้อมือไม่คอด ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า
ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1 ซม. ส่วนสูงประมาณ 1.7-2.0 ซม. บางองค์ปีกกว้าง บางองค์ปีกแคบ
จุดสังเกตและตำหนิในการดูพระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องเล็ก ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้
พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
สาเหตุที่ตั้งชื่อเรียกว่า "พิมพ์ตุ๊กตา" บอกไปแล้วในพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แต่ทว่าพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ แลดูลีลาเส้นลายมีลักษณะ แข็งกร้าวกว่าพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ลองนำภาพมาเปรียบเทียบกันดูก็ได้ คือลักษณะกอดรัดตัวยืดอกขึงขังกว่า
ลักษณะขององค์พระ เป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ ขาขวาทับขาซ้าย เค้าหน้าใหญ่ คางสอบแหลม การทิ้งแขนแลดูหัก เป็น 2 ท่อน ลักษณะกอดรัดตัว ต้นแขนใหญ่ แขนท่อนบน-ท่อนล่าง และการประสานมือเป็นเส้นใหญ่เท่ากันไปหมด การวาง ขาขวาปลายพระบาทเฉียงทแยงขึ้นมา
ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1 ซม. ส่วนสูงประมาณ 1.5-2.0 ซม. บางองค์ปีกกว้าง บางองค์ปีกแคบ โดยเฉพาะองค์ที่ ปีกแคบมากจะแลดูองค์พระเล็ก บางคนเรียกว่า "พิมพ์ไข่จิ้งจก" คือ มีลักษณะเล็ก-และหลังนูนรูปร่างคล้ายไข่จิ้งจกนั่นเอง และพุทธลักษณะองค์พระเป็นพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้
โปรดอย่าถามนะครับว่า "พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก" แยกออกได้อีกกี่บล็อกกี่แบบ? เท่าที่เคยพบเห็นมาบ่อยๆก็บล็อคนี้แหละ แต่ชนิดที่แลดูองค์พระมีขนาดเล็กกว่าทั่วๆไปเล็กน้อยก็เคยเจอ เสียดายที่ปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้ศึกษาเปรียบเทียบเอาไว้ เลขไม่รู้พูดไม่ได้ จึงต้องขอสันนิษฐานว่ามีเกินกว่า 1 แบบ ก็แล้วกัน ลำดับต่อไปจะขอกล่าวถึงพระสมเด็จวัดพลับอีกพิมพ์หนึ่ง คือพิมพ์สมาธิใหญ่
พิมพ์สมาธิใหญ่
พระวัดพลับ พิมพ์สมาธิใหญ่
คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับที่พระพิมพ์นี้เรียกกันว่า "พิมพ์สมาธิใหญ่" เพราะพระวัดพลับ นอกจากพิมพ์ยืนถือดอกบัว หรือนอน และพิมพ์ปิดตา แล้วพิมพ์นั่งแบบธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ล้วนแต่เป็นพระปางสมาธิทั้งสิ้น ไม่มีพิมพ์ปางมารวิชัยเลย การที่ตั้งชื่อเรียกพิมพ์สมาธิใหญ่ เพราะพิมพ์อื่นๆ ตั้งชื่อกันไปหมดแล้ว เหลือแบบนี้อยู่ 2 พิมพ์ เลยตั้งชื่อเป็นพิมพ์สมาธิใหญ่ และพิมพ์สมาธิเล็ก
พระพิมพ์นี้ดูจากภาพแล้วจะเห็นว่าลักษณะการนั่งขององค์พระอยู่ในท่าสบาย ไม่กอดรัดตัวให้อึดอัดเหมือนพิมพ์อื่น ที่ผ่านมาแล้ว มีความสง่าอยู่ในตัว พระพักตร์ พระเกศ และพระกรรณ แลดูสมส่วนกับองค์พระ ไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป
ขนาดขององค์พระ ความกว้างประมาณ 1.5 ซม.ส่วนสูงประมาณ 2.5 ซม.พระบางองค์คนกดพิมพ์พระใส่เนื้อลงไปในพิมพ์น้อย ปีกจะเล็กแคบแลดูสั้น บางองค์พระเพลาขาดหายไปก็มี
จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์สมาธิใหญ่ ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้
เมื่อมีพิมพ์สมาธิใหญ่แล้วก็มีพิมพ์สมาธิเล็ก ลักษณะการนั่งของพระพิมพ์นี้เหมือนพิมพ์สมาธิใหญ่ เพียงแต่ว่าขนาด ต่างกันเป็นพระนั่งปางสมาธิ-ขัดราบ เค้าพระพักตร์รูปร่างคล้ายผลมะตูมเส้นใบหูยาว แนบชิดติดพักตร์ลงมาทั้ง 2 ข้าง พระเพลา (ขาและเข่า) วางแบนราบแลดูกว้าง การวางแขนและประสานมือเป็นวงโค้ง เส้นแขนและเส้นมือมีขนาดไล่เลี่ยกัน
พระวัดพลับ พิมพ์สมาธิเล็ก
ขนาดขององค์พระ ความกว้างประมาณ 1.5 ซม. ส่วนสูงประมาณ 2.3 ซม. แต่ถ้าบางองค์ปีกแคบจะแลดูมีขนาดเล็กกว่านี้ บางองค์ใส่เนื้อลงไปในพิมพ์น้อยองค์พระเหลือนิดเดียวก็มีไม่แน่นอน แต่ขนาดภายในขององค์พระตายตัวเท่าแม่พิมพ์
จุดสังเกตและตำหนิในการดูพระวัดพลับ พิมพ์สมาธิเล็ก ขอให้ดูจากภาพตำหนิที่ได้แสดงไว้แล้ว
พิมพ์สมาธิ-เข่ากว้างใหญ่
พระวัดพลับ พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง
พระพิมพ์นี้ดูภาพแล้วจะเห็นว่าตรงตามชื่อที่เขาตั้งไว้ตรงเป๋ง คือองค์พระเข่ากว้างมาก พระพิมพ์นี้มีศิลปะไปอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนใคร คือองค์พระมีขนาดเล็กแลดูตื้นกว่าพิมพ์สมาธิเล็ก แขนท่อนบนเล็ก แขนท่อนล่างใหญ่ วางแขนหักเป็น 3 ท่อน เค้าหน้าแตกต่างกัน พิมพ์สมาธิเล็ก-สมาธิใหญ่ โปรดพิจารณาดูภาพประกอบเปรียบเทียบไปด้วย จะเห็นข้อแตกต่าง นอกจากนี้ การวางขาและเข่าแลดูแบนราบขายาว จึงได้รับขนานนามว่า"เข่ากว้าง"
ขนาดองค์พระ ความกว้างประมาณ 1.5 ซม. ส่วนสูงประมาณ 2.3 ซม. พระพิมพ์นี้เท่าที่พบส่วนมากปีกจะกว้าง แต่ชนิด ปีกเล็กแคบต้องมีแน่
จุดสังเกตและตำหนิในการดูพระวัดพลับ พิมพ์สมาธิ-เข่ากว้างใหญ่ ขอให้ดูจากภาพ ชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้แล้ว
พิมพ์สมาธิ-เข่ากว้างเล็ก
พระพิมพ์นี้บางคนเรียกว่า "พิมพ์พุงป่อง-ตุ๊กตาเล็ก" บางคนเรียกว่า "พิมพ์ป๊อบอาย" ดูภาพแล้วจะเห็นว่า คนออกแบบแกะ แม่พิมพ์ใช้ศิลปผสมผสานระหว่างพิมพ์พุงป่องเล็ก กับพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก กล่าวคือ ส่วนท่อนบนขององค์พระคือ พิมพ์พุงป่องเล็ก ส่วนท่อนล่างขององค์พระคือ พระเพลาขาและเข่าองค์พระ คือพิมพ์ตุ๊กตาเล็กนั่นเอง คงจะมองภาพเห็นได้แล้วนะครับ ว่าอะไรเป็นอะไร ถ้าจะแยกรายละเอียดลงไปให้เห็นจะเป็นดังนี้
1. เค้าหน้าเป็นแบบพิมพ์ตุ๊กตาเล็กคือแก้มสอบ-คางแหลม 2. ส่วนที่เป็นอก ท้องและการวางเส้นแขนทั้งท่อนบนท่อนล่างถอดเค้ามาจากพิมพ์พุงป่องเล็กทุกประการ 3. ส่วนที่เป็นขา-เข่า และแข้ง ถอดเค้ามาจากพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
ขนาดขององค์พระ กว้างประมาณ 1-1.2 ซม. ส่วนสูงประมาณ 1.7-2 ซม.ส่วนมากพระพิมพ์นี้ปีกกว้างสมส่วน
จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์สมาธิเข่ากว้างเล็ก ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่ได้แสดงไว้แล้ว
พิมพ์ปิดตา
พระวัดพลับ พิมพปิดตา
พระปิดตา พระภควัมบดี และพระภควัมบดีก็คือ พระสังกัจจายน์ และพระสังกัจจายน์ก็คือ พระมหากัจจายน์เถระองค์เดียว เป็นพระสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธองค์
พระปิดตา ถือกันว่าเป็นพระทางให้โชคลาภ และด้านเมตตามหานิยม จะเป็นเนื้อประเภทใดก็ตาม เรื่องนี้เป็นความเชื่อของ บุคคลบางคน โดยยึดถือประวัติความเป็นมาของพระมหากัจจายน์เถระ เป็นหลักความจริงแล้วพระปิดตาชนิดที่มีพระพุทธคุณ ด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีก็มีอยู่ที่คนปลุกเสก ท่านอัดพลังจิตชนิดไหนลงไปต่างหาก พระกรุวัดพลับท่านก็รู้ๆอยู่ว่ามีพุทธคุณ ทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศนำหน้า ส่วนพุทธคุณทางด้านคงกระพันชาตรีตามหลัง และพระพุทธคุณด้านป้องกันเขี้ยวงาก็มีด้วย
พระปิดตา มีลักษณะเป็นพระนั่งเอามือปิดไว้ที่หน้า คือปิดตา 2 ข้าง ปิดจมูก 2 รู และปิดปากเรียกว่า ปิดทวารทั้ง 5 แต่ถ้า ปิดหูปิดทวารหนัก-ทวารเบาด้วย เรียกว่าปิดทวารทั้ง 9 บางทีก็เรียกว่า "พระปิดตามหาอุตม์"
เมื่อรู้ประวัติที่มาของแบบพิมพ์พระปิดตาโดยสังเขปแล้ว ลำดับต่อไปจะได้แยกพิมพ์ของพระปิดตากรุวัดพลับและกรุวัดโค่ง กันต่อไป
พระปิดตาขนาดใหญ่
พระปิดตากรุวัดพลับ เท่าที่พบเห็นกันแล้วมี 2 ขนาด คือขนาดใหญ่ กับขนาดเล็ก โดยถือขนาดขององค์พระภายในเป็นหลัก แลเห็นใหญ่หรือเล็กกว่ากัน ส่วนปีกและขอบด้านนอกไม่แน่นอนยึดถือไม่ได้
ลักษณะขององค์พระ เป็นพระนั่งขัดราบมือ 2 ข้าง ยกขึ้นปิดหน้า
ขนาดขององค์พระ กว้างประมาณ 1.3 ซม. ส่วนสูงประมาณ 1.8 ซม.
จุดสังเกตและตำหนิในการดู พระวัดพลับ พิมพ์ปิดตา ขนาดใหญ่ ขอให้ดูจากภาพชี้ตำหนิที่แสดงไว้อย่างคร่าวๆ พอเป็น แนวทาง
พิมพ์ปิดตาขนาดเล็ก
พระปิดตาขนาดเล็ก ดูภาพแล้วจะเห็นว่าอะไรๆก็ตื้นเลือนลางบางไปหมด แลดูไม่ชัดคมลึกเหมือนพิมพ์อื่นๆ ที่ผ่านมา ภาพที่เห็นพอเป็นเค้าให้รู้ว่าเป็นพิมพ์ปิดตาเท่านั้น พระพิมพ์นี้หลักใหญ่จึงต้องพิจารณาด้านเนื้อพระเป็นหลักใหญ่ ด้านพิมพ์ ทรงก็มีส่วนช่วยได้บ้างแต่เรื่องตำหนิก็รู้สึกว่าจะไม่มี
ลักษณะขององค์พระ เป็นพระนั่งขัดราบมือ 2 ข้างยกขึ้นปิดหน้า
ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 1 ซม. สูงประมาณ 1.5 ซม.
พิมพ์ 2 หน้า
พระวัดพลับ พิมพ์สองหน้า
พระวัดพลับ พิมพ์ 2หน้า เท่าที่ข้าพเจ้าพบเห็นมา 2 องค์ เป็นของข้าพเจ้าองค์หนึ่ง และเป็นของคุณวิวัฒน์ เรืองพรสวัสดิ์ อีกองค์หนึ่ง แบบพิมพ์ด้านหนึ่งเป็นพิมพ์พุงป่องเล็ก อีกด้านหนึ่งเป็นพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก นอกเหนือจากนี้ยอมรับว่ายังไม่เคยเห็น
เพราะฉะนั้น พระวัดพลับ พิมพ์ 2 หน้า จึงสันนิษฐานได้เลยว่าสร้างไว้จำนวนน้อยมาก น้อยกว่าพิมพ์ปิดตา และน้อยกว่า พิมพ์ยืนถือดอกบัวหรือพิมพ์นอนด้วย
พระวัดพลับ ทุกแบบพิมพ์จะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตาม มีพระพุทธคุณทางด้านการใช้งานเหมือนกัน และเท่ากัน ทุกอย่าง เพราะปลุกเสกในพิธีเดียวกันเนื้อพระครกเดียวกัน สาเหตุที่ราคาไม่เท่ากันเพราะพวกเรามาแบ่งพรรคแบ่งพิมพ์กำหนด ขึ้น แบบไหนมีจำนวนมากหาได้ง่ายก็บอกว่าราคาต้องถูกหน่อย
พระวัดพลับพิมพ์ 2 หน้า คือพิมพ์พุงป่องเล็กกับพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ลักษณะแบบพิมพ์องค์พระก็ดี
จุดสังเกตและตำหนิในการดูพระแต่ละแบบพิมพ์ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น คิดว่าไม่ต้องนำมากล่าวซ้ำไว้ตรงนี้ให้เยิ่นเย้อ ยาวความก็คงจะได้ ขอให้ท่านกรุณาพลิกไปดูซักหน่อยก็แล้วกันนะครับ
เรื่องของเนื้อพระวัดพลับ
จากหนังสือพระพิมพ์เครื่องรางเรียบเรียงโดย ร.อ.หลวงบรรณยุทธ ชำนาญ(สวัสดิ์ นาคะสิริ) ปรมาจารย์พระเครื่องในอดีต กล่าวถึงเรื่องพระวัดพลับไว้ว่า…พระวัดพลับอยู่ในกรุวัดพลับ ทำด้วยผงสีขาวผสมปูนเนื้อแข็งขาว ท่าพระนั่งขัดสมาธิ มีทั้งใหญ่ และเล็กประมาณเท่าเบี้ยจั่น กับทำพระนอนและปิดตาก็มี แต่หาได้น้อย ที่ทำเป็น 2 หน้าก็มี แต่หายากมีน้อย และพบทำด้วย ตะกั่วก็มีมักทำแต่ขนาดเล็ก
จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นที่คนรุ่นก่อนเขียนเป็นหลักฐานบอกไว้เป็นความจริงทุกอย่าง คือ พระวัดพลับ มีทั้งชนิดเนื้อผง สีขาวกับเนื้อชินตะกั่ว ชนิดเนื้อผงขาวพบบ่อย แต่ชนิดเนื้อชินตะกั่วพบน้อยหายากมาก เจอแต่เก๊ทั้งนั้น ของจริงมีน้อย เคยพบเห็น มาเพียงไม่กี่องค์ ขาดความนิยมไปอย่างน่าเสียดาย เรียกว่าราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากคนยังไม่รู้จักและไม่นิยม นิยมกัน แต่เนื้อผงสีขาวเท่านั้น
ส่วนผสมของเนื้อพระวัดพลับชนิดผงขาว ที่เรียกกันว่าปูนปั้นคงจะประกอบด้วยปูนขาวที่ได้จากการเผาเปลือกหอยทะเล เกสรดอกไม้ น้ำมันตั้งอิ๊ว ฯลฯ และผงวิเศษที่ได้จากการปลุกเสกอย่างดีแล้ว คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห นำมาคลุกเคล้ากันใช้ในการพิมพ์พระ เมื่อเนื้อผงพระแห้งแล้วจะมีความแข็งแกร่งแบบเซทตัวของปูนซีเมนต์
เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายจะพบว่า เนื้อมีความละเอียด แกร่ง-แข็ง-ขาว มีจุดเหลืองของเนื้อกล้วย จุดเม็ดปูนขาวขุ่น และ จุดสีดำซึ่งพบน้อยมาก นอกจากนี้อาจจะมีจุดสีแดงอิฐปะปนอยู่บ้าง แต่พบน้อยเช่นกัน
พระวัดพลับ เป็นพระถูกบรรจุไว้ในกรุเจดีย์ อยู่ในที่สูงที่แห้ง ไม่ได้ฝังอยู่ใต้ดินแบบพระสมเด็จบางขุนพรหม เพราะฉะนั้น จึงมีคราบกรุบางๆ ไม่จับหนาเขรอะขระ ส่วนมากจะเป็นชนิดคราบกรุสีขาว หรือสีขาวอมน้ำตาลเป็นเม็ดเป็นปุ่มเล็กๆ คล้าย หนังกระเบน บางองค์ผิวลายแตกงาฐานร้าวแบบชามสังคโลก บางองค์มีชนิดที่เรียกว่า "เนื้องอก" อีกด้วย
เรื่องการแตกลายงาหรือลายสังคโลกเป็นปัจจัยข้อหนึ่ง ในหลายๆข้อที่ต้องใช้ประกอบในการดูเนื้อพระวัดพลับ เพราะเนื้อ พระวัดพลับส่วนมากมีแตกลายงาทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และด้านหลัง ชนิดที่ไม่แตกลายงามีน้อย เส้นลายงาหรือลายสังคโลก เป็นเส้นเล็กปริแยกจากใต้ผิวพระขึ้นมา เป็นลักษณะแบบธรรมชาติ ดูด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ต้องใช้แว่นขยายช่วย มีลักษณะ เป็นอย่างไรขอให้สังเกตดูจากเครื่องลายคราม หรือเครื่องปั้นดินเผาเก่าๆ ประกอบเปรียบเทียบ
เนื้อพระชนิดแตกลายงานี้ เมื่อถูกจับใช้ได้รับความชื้นจากมือหรือไอเหงื่อ รอยแยกลั่นร้าวของเนื้อพระจะใหญ่ขึ้น มองด้วย ตาเปล่าเห็นชัด เป็นลักษณะการลั่นร้าวแบบธรรมชาติจากภายในออกมาภายนอก ผิวพระจะคงเรียบร้อยอย่างเดิม ไม่มีลักษณะ ผิวบวมนูนสูงแบบของปลอมหรือที่เขาอบด้วยเครื่องไฟฟ้า
คนโบราณนิยมใช้พระวัดพลับโดยอมไว้ในปาก และคนโบราณรุ่นก่อนนิยมการกินหมาก เพราะฉะนั้นพระวัดพลับที่พบเห็น โดยมากมีรอยถูกอมเปรอะเปื้อนน้ำหมาก แต่คนรุ่นหลังก็นำมาล้างน้ำหมากออก เพราะชอบความสะอาด พระที่ผ่านการอมใช้ จากคนรุ่นก่อนมาแล้ว เนื้อพระจะจัดแลดูมีความซึ้งประทับใจมาก ถ้าส่องดูด้วยแว่นขยายแล้วอย่าบอกใครเชียว พูดได้อย่างเดียว ว่าสวยมากๆ
สำหรับพระที่มิได้ผ่านการใช้งานคือ มีเก็บไว้เฉยๆ บนหิ้ง หรือในห่อในพานบ้านเก่าๆ ผิวพระจะมีลักษณะแห้งผากคล้ายปูน กำแพงเก่าๆ หรืออาจจะแลดูคล้ายพระบวชใหม่ๆ ไปก็มี สำหรับคนที่ไม่ชำนาญสันทัดกรณี พระแบบอย่างว่านี้แหละมีคนเสาะหา เอาไว้สำหรับส่งเข้าประกวดความงามเพราะถือว่า เจ้าของพระเก็บอนุรักษ์ไว้ดีสภาพเดิมเหมือนกับที่ออกมาจากกรุใหม่ๆ
พระวัดพลับมีการปลอมแปลงลอกเลียนแบบมาช้านานแล้ว เรียกว่าของปลอมล้นตลาดมีมากกว่าของจริง แต่ทั้งพิมพ์และเนื้อ ไม่เหมือนกับของจริงเลย ยังมีช่องว่างห่างกันมาก จำแบบพิมพ์ให้แม่นแล้วหาของจริงดูเนื้อพระแป๊บเดียวก็รู้ ถ้าเคยเห็นของจริง สักครั้งเดียวจะติดตา
ปกิณกะเรื่องเนื้อพระวัดพลับอย่างละนิดอย่างละหน่อยที่นำมาแสดงคงจะพอเป็นแนวทาง สำหรับการศึกษาค้นคว้า ของผู้ที่สนใจบ้าง บอกกับท่านมาหลายครั้งแล้ว การศึกษาเรื่องพิมพ์เรื่องตำหนิไม่ยาก แต่การศึกษาเรื่องเนื้อพระนั้นยากกว่า เรื่องพิมพ์ทรง ต้องศึกษาจากพระองค์จริงที่เป็นของแท้ประกอบกัน การอ่านตำราจึงจะได้ผลเป็นเร็ว อ่านตำราอย่างเดียว แล้วไม่หาของจริงดู ประเดี๋ยวก็ลืม
พระสมเด็จวัดพลับดีอย่างไร?
คำว่าดีอย่างไรในที่นี้ ข้าพเจ้าตีความหมายตามความคิดเห็นของตัวเองเป็น 2 อย่าง ประการแรกหมายถึง "ดีภายนอก" ได้แก่ศิลปะขององค์พระ รูปร่างและขนาด ส่วนผสมของเนื้อหา เรียกว่า สัมผัสดูได้ด้วยตา รายละเอียดประเดี๋ยวเรามาคุยกันดู ประการต่อมาหมายถึง "ดีภายใน" อันนี้สำคัญมากหัวใจของเรื่องอยู่ตรงนี้ พูดสั้นๆก็คือ "คุณภาพของพระเครื่องนั่นเอง" ซึ่ง แน่นอนจะต้องพาดพิงเกี่ยวโยงไปถึงผู้ผลิต พระอาจารย์สุก ผู้ปลุกเสกว่า "ท่านขลังขนาดไหน" ตอนแรกนี้ขอกล่าวในประเด็น ที่ 1 ก่อน เรื่องดีภายนอกของพระวัดพลับ ดีอย่างไร?
- ศิลปะขององค์พระ เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ แบบเรียบง่าย ปราศจากลวดลาย และเครื่องอลังการ จุดเด่นอยู่ที่ องค์พระประการเดียว แม้ว่ามีบางพิมพ์แปลกแหวกแนวออกไปบ้าง เช่น พิมพ์ยืน เป็นต้น แต่พิมพ์อื่นส่วนใหญ่แล้วศิลปะดี
- รูปร่างขนาดน้ำหนัก ขนาดใหญ่โตประมาณเท่าหัวแม่มือ ขนาดเล็กโดยประมาณเท่าเบี้ยจั่น หรือโตกว่าไข่จิ้งจก นิดหน่อย เป็นรูปพระนั่งสมาธิ พิมพ์สะดุ้งมารไม่มี กับพิมพ์ยืนถือดอกบัว หรือบางท่านเรียกพิมพ์นอน กับพิมพ์พระปิดตา สรุปแล้ว เป็นพระขนาดเล็กกระทัดรัดน้ำหนักเบาน่าใช้น่าแขวนคอ
- ส่วนผสมของเนื้อพระ อันนี้ไม่มีใครนำไปแยกธาตุดูว่ามีอะไรบ้าง แต่พูดกันทั่วไปว่ามีผงสีขาวผสมปูนปั้น คือเดากันว่า มีผงปูนขาว ได้จากการเผาเปลือกหอยทะเล กล้วย เกสรดอกไม้ น้ำมันตั้งอิ๊ว ฯลฯ และผงวิเศษที่ปลุกเสกแล้วนำมาคลุกเคล้า ผสมกันใช้ในการพิมพ์พระ เมื่อเนื้อพระแห้งแล้วจะแข็งแกร่งแบบ "เซทตัว" ไม่ต้องเผาไฟอย่างเนื้อดินเผาทั่วไป สรุปแล้ว มันเนื้อผงปูนปั้นชนิดดีเยี่ยม
ตอนที่ 2 จะกล่าวถึงเรื่อง "ดีภายใน" แยกเป็นส่วนย่อยสองตอนอีก ตอนย่อยอันแรกว่าด้วยคุณภาพของพลังงานทางจิต ของอาจารย์ผู้ปลุกเสกโดยทั่วไป กับตอนย่อยอันที่สอง ว่าด้วยความชำนาญแต่ละแขนงวิชาของอาจารย์ผู้ปลุกเสกเป็นเอตทัคคะ
ตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยลงมาถึงจุดปัจจุบันเท่าที่รู้มา การสร้างพระเครื่องรางของขลังทุกอย่างแต่ละคราว องค์พระประมุขของ ชาติสร้างขึ้นก็ดี รัฐบาลสร้างขึ้นก็ดี พระเกจิอาจารย์ตามวัดสร้างขึ้นก็ดี ตลอดจนเอกชนทั่วไปสร้าง ต่างก็จะแสวงหาพระอาจารย์ คัดเลือกเฟ้นตัวกันว่า เป็นยอดของแต่ละท้องที่แต่ละแขวง หรือจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยนิมนต์อาราธนาท่านมาร่วมพิธีพุทธา ภิเษกปลุกเสกพระเครื่อง พระอาจารย์บางองค์อายุมากสุขภาพไม่ดีมาไม่ได้ท่านก็จะทำผงวิเศษให้มาหรืออาจจะอธิษฐานจิต ลงบนแผ่นโลหะ หรือวัสดุที่ใช้ในการสร้างพระให้มาร่วมรายการด้วย นอกจากพระเกจิอาจารย์บางองค์ท่านมีความประสงค์จะสร้าง ของท่านคนเดียวท่านก็ไม่ต้องไปนิมนต์ให้องค์อื่นมาช่วย
"การปลุกเสกก็คือ การบรรจุพลังงานทางจิต" ซึ่งเป็นคลื่นคล้ายวิทยุแต่มีความถี่และละเอียดกว่า ดูด้วยตาไม่เห็นสัมผัส จับต้องด้วยมือไม่รู้สึก และยังไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ วัดความถี่ หรือความเข้มความแรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ บรรจุให้เข้าไป ติดแน่นอยู่ภายในองค์พระที่สร้างขึ้นมา เป็นธรรมดาพลังงานทางจิตของอาจารย์แต่ละองค์ไม่เท่ากันองค์ไดได้ฌาณชั้นสูงมีสมาธิ แก่กล้ามาก บรรจุพลังงานทางกระแสจิตได้เร็วมีความเข้มมากเรียกว่า "มีคุณภาพสูง" ถ้าตรงกันข้ามเรียกว่า "มีคุณภาพต่ำ" หรือถ้าเปรียบเทียบอย่างง่าย "การปลุกเสกกับการชาร์ตแบตเตอรี่" ก็พอได้ เมื่อประจุไฟฟ้าเข้าไปในหม้อแล้ว เวลาจะใช้งาน ต้องหาสายไฟมาต่อเป็นสะพานเชื่อมโยงจึงจะนำเอาพลังงานไฟฟ้าจากหม้อแบตเตอรี่ไปใช้งานได้ จุดประสงค์จะใช้เรื่องอะไร ต้องการให้หลอดไฟฟ้าสว่างหรือ ต้องการให้เครื่องยนต์ติดย่อมได้ทั้งนั้น
ถึงตอนนี้บางท่านมีปัญหาเกิดขึ้นในใจแล้ว "ปลุกเสกหมู่กับปลุกเสกเดี่ยวอย่างไหนจะดีกว่ากัน" ความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า "ปลุกเสกหลายองค์ดีกว่า" เพราะเป็นการสามัคคีพลังจิตข้อสำคัญที่ว่า "หลายองค์นั้นจะต้องมีคุณภาพสูงด้วย" บางท่าน มีปัญหาตามมาอีกเปราะหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องราวเวลาที่ใช้ในการปลุกเสก เช่น ปลุกเสกอึดใจเดียวกับปลุกเสกนานๆ แรมเดือนแรมปี อย่างไหนจะดีกว่ากัน คำตอบต้องเลือกเอาประเด็นหลัง "ปลุกเสกนานย่อมจะต้องดีกว่า" มีการสะสมพลังงานมากกว่าพิธี พุทธาภิเษกที่ทำกันอยู่ทั่วไปอย่างดีไม่เกิน 3 ใน 7 วัน เพราะทำนานๆมันเปลืองค่าโสหุ้ยใช้จ่ายและเสียเวลาแรงงานต่างกับ สมัยโบราณ เท่าที่รู้มาจุดประสงค์ของผู้สร้างจะเป็นใครก็ดีต้องการของที่ทำออกมาแล้ว "มีคุณภาพสูงและดีที่สุดไม่เกี่ยวกับ เรื่องการค้าพาณิชย์ สร้างเสร็จก็แจกกันไปใช้ฟรีๆ ส่วนที่เหลือบรรจุเข้าพระเจดีย์เป็นพุทธบูชาสืบต่อศาสนาก็ถือว่าได้บุญโชคโข อยู่แล้ว ของกรุของเก่าซึ่งมีคุณภาพสูง
ที่บอกกล่าวให้รู้ตอนต้นนี้เป็นเรื่อง "ดีภายในส่วนที่หนึ่ง" พระอาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสกแต่ละองค์มีอำนาจพลังงานทางจิต ไม่เท่ากัน บางองค์อยู่ในชั้นสูง บางองค์อยู่ในชั้นต่ำ ท่านรู้กันเองยกย่องกันเอง ในหมู่ของท่านผู้เรืองวิชาเหล่านั้นบอกแล้วไงว่า ยังสร้างเครื่องมือ เครื่องวัด ตลอดจนเครื่องรับส่งยังไม่ได้ต่อไปนี้จะได้พูดถึง "ดีภายในส่วนที่ 2 " ท่านเชื่อไหม? ความถนัดชำนาญ แต่ละแขนงวิชาของอาจารย์ผู้ปลุกเสกที่ได้รับการถ่ายทอดมา "ไม่เหมือนกันและไม่เท่าเทียมกันอีก" เรียกว่า "เก่งไปคนละอย่าง และเก่งมากเก่งน้อย" บางองค์ศึกษาเล่าเรียนมา จากสำนักเดียวกันอาจารย์เดียวกัน แต่ทำของขึ้นไม่เหมือนกัน ถ้าจะเปรียบเทียบ ให้เห็นชัดๆ คนที่ศึกษาวิชาทางการแพทย์ย่อมจะมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องการรักษาพยาบาลเจ็บป่วย ตามที่ศึกษาจาก การทหาร ย่อมจะมีความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการสงครามเรื่องยุทธวิธี และกลศึกที่จะต่อสู้กับข้าศึก คนที่ศึกษาวิชาการช่างกลอุตสาหกรรมย่อมมีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับเรื่องการซ่อมสร้างเครื่องยนต์กลไกและงานช่างทั่วไป เป็นตัวอย่าง คือแต่ละคนจะมีความชำนาญงานไปคนละอย่างตามถนัดที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแต่ถ้าสับเปลี่ยนตำแหน่งกัน และศึกษา เพิ่มเติมอาจจะทำได้แต่ไม่ชำนิชำนาญ เหมือนอย่างที่เขาศึกษามาโดยตรงอันนี้เป็นหลักความจริงธรรมดาๆ อุปมาฉันใดพระอาจารย์ ที่มาช่วยร่วมพิธีพุทธาภิเษกก็อุปไมยฉันนั้น
บางองค์มีความชำนาญมากในเรื่องเมตตามหานิยมแต่ไม่ค่อยชำนาญในเรื่องคงกระพันชาตรี เพราะ |