แบบพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน
พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นั้น เป็นพระ
พิมพ์ดินเผาฝีมือช่างประจำราชสำนัก โดยในกอมระตาญง์พร้อมด้วยพระสหายได้ร่วมกัน
สร้างไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนา พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน มีพุทธศิลป์
ลวดลายลีลาอ่อนช้อยสวยงามและเป็นศิลปะสมัยทวาราวดีมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
๑๒–๑๖ (หรือประมาณ ๑,๓๐๐ ปี)เนื้อพระพิมพ์แข็งแกร่งมาก พระพิมพ์บางองค์กลายเป็น
เนื้อหิน สีเนื้อพระพิมพ์มี ๕ สี คือสีหิน(น้ำตาลแก่) สีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองมันปู สี
ชมพู สีแดงหินทราย และสีขาวนวล (สีเท่าอ่อน) ในพระพิมพ์เกือบทุกพิมพ์จะมี
รูปเจดีย์ และสถูปจำลองปรากฎอยู่เสมอ และเป็นพระพิมพ์เล่าเรื่องพุทธประวัติที่มีความ
หมายอยู่ในตัว พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนที่ขุดพบได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาส่วนผสม
โดยคุณโสดา รัตนิน แห่งมหาวิทยาลัยโอตาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งขณะนั้นได้ปฏิบัติงาน
อยู่ที่โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาการวิเคราะห์ปรากฎว่า ส่วนผสมหลัก
ได้แก่ ศิลาแลง ดินเหนียว แกลบข้าว ทราย กรวด ในตัวอย่างบางชิ้นมีเมล็ดข้าวผสมอยู่
ด้วยส่วนผสมที่ใช้มากได้แก่ ทราย
ทราย ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะทำให้เนื้อดินมีความแกร่งมาก
ลักษณะการเผาจะเผาแบบกลางแจ้งอุณหภูมิไม่คงที่ จึงทำให้สีของพระพิมพ์ดินเผาแตกต่าง
กัน รูปลักษณะของพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน
พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์กลางหรือพิมพ์บาง ขนาดฐานกว้าง ๓
ซม. สูง ๗ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐานเตี้ย ไม่มีประภามลฑล เศียร |