นักเล่นรุ่นเก่า ๆท่านเรียกกันมานานแล้วว่าเป็น พระร่วงคืบ พิมพ์ต้อ กรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา แต่ผมวัดดูแล้วก็ได้ความสูงขององค์พระเพียง ๑๑.๕ ซ.ม. เท่านั้น แล้วมันจะเป็นคืบได้อย่างไร โอ๊ะ ก็อุตส่าห์ด้นเรียกกันไป ก็เพื่อการตลาดอีกละ ส่วนพุทธลักษณะที่ให้เห็นเด่นชัดว่ามีความแตกต่างก็คือสัดส่วนบางส่วนขององคาพยัพขององค์พระนั่นเอง กล่าวคือ ช่วงล่างขององค์พระจะมีขนาดสั้นกว่าปกติเมื่อเทียบกับพุทธลักษณะของพระพิมพ์อื่น ๆหรือเมื่อเทียบกับสัดส่วนร่างกายของมนุษย์โดยทั่วไป เฮียเพ้งฯแห่งเมืองกรุงเก่า แกจึงนำเอาองค์ของแกมาลงโชว์แล้วแสร้งทำเป็นสงสัยว่าเป็นพิมพ์นั่งหรือพิมพ์ยืน เผื่อจะมีท่านผู้รู้ท่านใดให้ความเห็น แต่แล้วก็ไม่มีใครหยอดความเห็นให้แก(ก็กินแห้วกันไป) วันนี้ผมนำมาลงโชว์ก็ไม่มีความเห็นว่าเป็นเพราะอะไรพระพิมพ์นี้จึงมีพุทธลักษณะเช่นนี้เหมือนกันแหละ ก็เราเกิดกันไม่ทันการสร้างในยุคนั้น ก็จึงได้แต่สันนิษฐาน ว่าโดยส่วนตัวแล้วผมก็ไม่คิดว่าเป็นเพราะช่างที่ทำฝีมือไม่ดีจึงทำผิดสัดส่วนไป ผมกลับคิดว่าช่างนั้นตั้งใจทำให้ผิดและเน้นสัดส่วนนั้นต่างหาก โดยทำเพื่อเอาใจผู้สั่งทำ และจะเป็นไปได้ไหมที่ผู้สั่งให้สร้างอาจจะมีสรีระร่างกาย ๕ สั้นมงคลแบบเติ้งเสี่ยวผิงหรืออดีตนายกบรรหาร และพระกรุนี้เป็นการสร้างและร่วมบรรจุเป็นพุทธบูชาของผู้คนทุกชนชั้น หาใช่เป็นการเฉพาะสำหรับพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว เรียกว่าใครจะสร้างอย่างไรก็ได้ แล้วร่วมกันนำมาบรรจุในกรุ พระที่พบในกรุวัดราชบูรณะนี้จึงมีความหลากหลายมากกว่าพระกรุอื่น ๆ
อีกองค์หนึ่งนะครับ
หวัดดีจ้า ป๊ะป๋า จะเข้าตำรา5สั้นก็ได้ตามอัธยาศัยแต่ดูซึ้งๆแล้วน่าจะเป็นห้อยพระบาท แต่ที่แน่ๆพระที่มีรอยตะปูจะสวยจริงมั๊ยจ๊ะป๊ะป๋า (โชว์บ่อยนะครับชอบดูของสวย)
พระสวยจังครับท่านอาจารย์ครับ
***...ผมรักกระทู้แบบนี้มากครับ...บริสุทธิ์และมีค่ากว่าทองครับ...***